ชัดเจน..รัฐประหารล้าง"หมิ่นสถาบัน" ถ้า"ล้าง"ไม่ได้มีรัฐประหารอีก??? สอนท่านผู้นำ สังคมไทยยังมี"ชนชั้น"
***************************
"ธนาพล อิ๋วสกุล" บก.ฟ้าเดียวกัน แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก"Thanapol Eawsakul" ตั้งข้อสังเกตุกรณีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหน.คสช. ระบุในสารจากใจ ยอมรับว่า รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คือรัฐประหารเพื่อจัดการพวก "หมิ่นสถาบัน"
"ธนาพล" ตั้งข้อสังเกตุว่า ชัดเจนดีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระบุในสารจากใจว่า รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คือรัฐประหารเพื่อจัดการกับพวก "หมิ่นสถาบัน"
....................
แม้กระทั่งการบังคับใช้กฏหมายให้มาตรา 112 ก็กล่าวหาว่าคสช.และรัฐบาลใช้เพื่อที่จะทำลายฝ่ายตรงกันข้าม ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่ามีการกระทำผิดจริงหรือไม่ ชัดเจนหรือไม่ทั้งการพูดการชุมนุม ทั้งในโซเชียลมีเดียทั้งในและต่างประเทศ มีการกล่าวกันว่าทำไมรัฐบาลถึงไม่แก้ไขเรื่องนี้ รัฐบาลต้องเรียนให้ทราบว่าก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ส่วนราชการโดยเฉพาะหน่วยงานได้ความมั่นคงได้ดำเนินการป้องกันการพูดจาจาบจ้วงล่วงละเมิดต่อสถาบันอันเป็นที่รักของไทยมีตลอด แต่กลุ่มคนพวกนี้ยังคงใช่เทคนิคในการหลบเลี่ยงอย่างต่อเนื่อง และยังให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่จะสร้างข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวเท็จทำลายความเชื่อมั่นของประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง โดยไม่มีการห้ามปรามและเอาจริงเอาจังจากผู้มีอำนาจในช่วงนั้น
........................

"ธนาพล"จึงตั้งคำถามว่า
1.ใครคือพวกหมิ่นสถาบันบ้าง เฉพาะคนที่โดน 112 ใช่ไหม
2.แล้วอะไรคือคือตัวชีวัดว่าจัดการกับพวก "หมิ่นสถาบัน"ได้ ตัวเลขคนโดน 112? จำนวนโทษที่โดน 112? หรือคนตายในคุกเพราะโดน 112?
3. จะต้องรอจนถึงเมื่อไหร่ที่จะจัดการกับพวก "หมิ่นสถาบัน"ได้
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยอมรับเองว่า
.....................
หลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ก็ยังมีการกระทำเช่นนั้นอยู่ ซึ่งคสช.และรัฐบาลก็พยายามที่จะป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมายเหล่านั้นอย่างเต็มความสามารถ แต่ต้องเรียนตามความเป็นจริงว่า ป้องกันและปิดกั้นได้ยาก ในประเทศก็ดำเนินการไปโดยหน่วยงานตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แต่กลุ่มบุคคลเหล่านี้ก็ยังอาศัยเทคนิคทางเทคโนโลยีไปเปิดเว็บไซด์ใหม่อีก ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะต้องดำเนินการ่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่ติดตามตรวจสอบ จนสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้ ก็จะมีการสร้างเครือข่ายขึ้นมาต่อต้านโดยอ้างสิทธิมนุษยชน และในที่สุดก็หนีไปต่างประเทศ
.....................
คำถามคือ ถ้าจัดการกับพวก "หมิ่นสถาบัน" ไม่ได้ แล้วระบอบรัฐประหารอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ ใช่ไหม หรือถ้าระบอบรัฐประหารออกไปแล้วยังคงมีพวก "หมิ่นสถาบัน" อยู่อีก เราต้องเจอกับรัฐประหารอีกรอบใช่ไหม
*******************************
ด้านเพจเฟซบุ๊ค"ธัชชัย ทนานนท์" ตอบโต้พลเอกประยุทธ์เรื่องชนชั้น มีใจความว่า
ปัญหาของลุงประยุทธ์อย่างหนึ่งคือ ไม่รู้แต่ชอบพูด ล่าสุดแกบอกว่าประเทศไทยไม่มีชนชั้น เป็นวาทะกรรมของพวกนักการเมืองไว้ยุยงให้เกิดความแตกแยก คือความจริงทุกสังคมมีระดับชั้นทั้งนั้นครับ สังคมเกษตรกรรมก็มีแบบหนึ่ง สังคมอุตสาหกรรมก็แบบหนึ่ง อันนี้มันเป็นความรู้ด้านสังคมวิทยาธรรมดาๆเลยนะครับ ใครสนใจก็ลองอ่านข้อมูลที่ผมยกมาดูนะครับ
‪#‎การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม‬ (Social Stratification)
•รูปแบบของการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
การจัดลำดับชนชั้นทางสังคมเป็นระบบซึ่งใช้แบ่งแยกระดับความแตกต่างของตำแหน่งของแต่ละบุคคล ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระดับของคนในแต่ละสังคม แต่ละบุคคล แต่ละกลุ่ม การจัดลำดับชนชั้นทางสังคม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) วรรณะ (Caste)
2) ฐานันดร (Estate)
3) ชนชั้น (Class)
1) วรรณะ
เป็นระบบการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพ ซึ่งจำกัดบุคคลที่จะให้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่า เมื่อเขาเกิดระบบวรรณะเป็นระบบช่วงชั้น ซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอน
ลักษณะบางอย่างของวรรณะ
1. เจาะจงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม
2. สมาชิกในวรรณะหนึ่งสืบทอดคนในวรรณะเดียวกัน โดยสมาชิกมีแบบแผนแห่งชีวิตที่แน่นอน โดยการเกิดอยู่ในครอบครัวในวรรณะนั้น ๆ สมาชิกใหม่จะเป็นส่วนหนึ่งแห่งวรรณะนั้นด้วย
3. ถ้าประพฤติผิดกฎเกณฑ์ข้อบังคับของวรรณะนั้น ๆ จะถูกขับออกจากวรรณะ เรียกว่า จัณฑาล
4. วรรณะจะมีการเขยิบขึ้นหรือลงได้โดยเป็นไปทั้งวรรณะ แต่มิใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่งในวรรณะ
ตัวอย่างของระบบวรรณะที่เห็นได้ชัด ได้แก่ อินเดีย ซึ่งมีการแบ่งวรรณะออกเป็นวรรณะใหญ่ 4 วรรณะ คือ
1. พราหมณ์ ได้แก่ พวกนักบวชซึ่งได้รับการยกย่อง
2. กษัตริย์ ได้แก่ พวกนักรบ
3. แพศย์ ได้แก่ พ่อค้า
4. ศูทร ได้แก่ กรรมกร
2) ฐานันดร
เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นซึ่งเข้มงวดน้อยกว่าวรรณะ แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับประเพณีและความไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของบุคคลต่อที่ดิน การเขยิบฐานะเป็นไปได้และมีศาสนาค้ำจุนเหมือนระบบวรรณะ ระบบฐานันดรเป็นระบบที่มีกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนแตกต่างกันไป เช่น พวกขุนนางและพระ มีอภิสิทธิมาก ชาวนาต้องแบกภาระหน้าที่หนัก ฐานันดรมีใช้กันตั้งแต่สมัยกลางของ ยุโรป เดิมมีเพียงสองฐานันดร ได้แก่ ฐานันดรนักบวชและฐานันดรขุนนาง ต่อมามี เพิ่มขึ้นอีก เช่น ฐานันดรพ่อค้า สามัญชน
3) ชนชั้น
เป็นระบบที่มีอยู่ในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ทั้งนี้ เพราะกฎเกณฑ์ในการแบ่งชนชั้นนั้นมีแนวโน้มเป็นกฎเกณฑ์ในทางเศรษฐกิจมากกว่ากฎเกณฑ์ในด้านอื่น ๆ อนึ่ง บางสังคมนั้น ความมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งเดียวที่สังคมใช้เป็นมาตรฐาน ในการจัดและกำหนดชั้นระหว่างบุคคล ในระบบดังกล่าวนี้ เรียกกันว่า เป็นการแบ่งชั้นทางสังคม โดยกฎเกณฑ์ที่มีมติเดียว ซึ่งอาจแบ่งออกได้โดยทั่วไปเป็น 3 ชั้น คือ
1. ชนชั้นสูง ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้สูง
2. ชนชั้นกลาง ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้ปานกลาง
3. ชนชั้นต่ำ ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้ต่ำ
วอร์เนอร์ นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันได้ทำการศึกษาเรื่องช่วงชั้นทางสังคมในแนวใหม่ ชนชั้นในความหมายของวอร์เนอร์ เห็นว่า เป็นการแบ่งโดยดูถึงความเหนือกว่าและด้อยกว่าของสมาชิกของชุมชน การแจกแจงตำแหน่งขึ้นกับเกณฑ์ เช่น รายได้ ความมั่นคง การศึกษา อาชีพ ฯลฯ ซึ่งวอร์เนอร์ ได้แบ่งไว้เป็น 6 ระดับ คือ
1. ชนชั้นสูระดับสูง (Upper-upper class) กลุ่มนี้จะเป็นพวกปัญญาชนที่มีตระกูลเก่าแก่ขึ้นกับการมีความมั่งคั่ง ผู้ดีเก่า
2. ชนชั้นสูงระดับต่ำ (Lower-upper class) กลุ่มนี้อาจจะรวยกว่าพวกชนชั้นสูงระดับสูง แต่เป็นพวกใหม่ กิริยามารยาทยังไม่สุภาพนัก มีการศึกษาไม่สูงนัก
3. ชนชั้นกลางระดับสูง (Upper-middle class) เป็นครอบครัวที่ประสบความสำเร็จในอาชีพปานกลาง
4. ชนชั้นกลางระดับต่ำ (Lower-middle class) มีอาชีพเป็นพวกเสมียน พนักงาน คนมีฝีมือ พวกนี้จะขยันทำงานตามอุดมคติ มีการไปจัดและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
5. ชนชั้นต่ำระดับสูง (Upper-lower class) ได้แก่ พวกคนงานกรรมกรที่ไม่ค่อยมีฝีมือ เป็นพวกที่ให้ความเชื่อถือได้ ชอบความสะอาดเป็นระเบียบ
6. ชนชั้นต่ำระดับต่ำ (Lower-lower class) ได้แก่ พวกคนงานหรือกรรมกรที่ไม่มีฝีมือ


 
Top