พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ที่เอามาเรียกค่าเสียหายยิ่งลักษณ์ในคดีจำนำข้าว เป็นการตีความที่มาได้ไกลเป็นโยชน์จากเจตนารมณ์ตั้งต้นของกฎหมาย
กฎหมายนี้ใช้ในกรณีที่ข้าราชการทำละเมิด เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่ 3 หรือต่อราชการเอง ซึ่งก่อนปี 2539 ก็จะมีการฟ้องไล่เบี้ยกับข้าราชการอยู่แล้ว แต่กฎหมายนี้ออกมาเพื่อคุ้มครองให้ความเป็นธรรมกับข้าราชการมากขึ้น
กล่าวคือเมื่อ ขรก.ไปใช้อำนาจอะไรทำให้คนนอกเสียหาย เช่น ออกโฉนดผิด ทับที่ดินชาวบ้าน เขาฟ้องกรมที่ดินกับข้าราชการ 2 ล้าน กรมที่ดินจ่ายเสร็จแล้วก็จะมาไล่เบี้ย แต่หลักคิดตอนออกกฎหมายนี้คือ เฮ้ย คนทำงานมันก็ต้องพลาดได้นี่หว่า ทีทำความดีความชอบไม่แจกตังค์ ทำเสียหายต้องใช้ตังค์ กฎหมายนี้ก็เลยกำหนดว่า ขรก.จะต้องชดใช้เมื่อจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ซ้ำยังบอกให้คำนึงถึงความเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายเต็มจำนวนก็ได้
นี่รวมทั้งการทำทรัพย์สินเสียหายด้วย เช่น ขับรถราชการไปชน พูดง่ายๆ คือถ้าเมาแล้วขับ ก็ต้องโดนเรียกเต็มจำนวน แต่ถ้ามันไม่ถึงประมาทร้ายแรง ประมาทธรรมดา เช่น เผลอไปหน่อยเลี้ยวไม่พ้นชนขอบกำแพง ก็ไม่ต้องจ่าย
กฎหมายนี้ใช้กับข้าราขการเป็นปกติ มาเกือบ 20 ปีแล้วครับ อยู่ดีๆ ก็มีการตีความเอามาใช้กับนักการเมือง โดยเริ่มต้นจากคดีจัดซื้อรถเรือดับเพลิง ซึ่งคงจำกันได้ในคดีที่ศาลปกครองสั่งทายาทสมัคร สุนทรเวช ในฐานะอดีตผู้ว่า กทม. จ่ายคืน กทม 587 ล้านบาท คดีนั้นทำหลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาตัดสินว่าทุจริต จำคุกประชา มาลีนนท์ กับอดีต ผอ. แล้วก็มีการขยายไปเรียกค่าเสียหาย 6 คน รวมโภคิน-สมัคร-อภิรักษ์ ซึ่งก็ขัดหลักกฎหมายนะเพราะที่ถูกต้องยึดคดีอาญาเป็นที่ตั้ง แล้วฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายจากผู้ทืศาลตัดสินว่าผิดอาญา
รอบนี้ขยายจากการจัดซื้อมาเป็นการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ซึ่งก็อย่างที่ยิ่งลักษณ์แย้ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ไม่ได้ให้อำนาจศาลปกครองวินิจฉัยการพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในทางนโยบายโดยตรง
สรุปว่าต่อไป ใครจะเป็นนักการเมืองนี่ มีทรัพย์สินไม่ได้เลยนะมึง เว้นแต่เป็นรัฐบาล คสช.ที่มีนิรโทษกรรมตามเอาผิดย้อนหลังไม่ได้

 
Top