ย้อนรอย"ต้นเหตุ"จ่ายเงินจำนำข้าวล่าช้า!! ม็อบ กปปส.ไม่สนชาวนา แค่ใช้เป็นเครื่องมือทำลายรัฐบาล
********************************************
"วันที่ 20 ม.ค.จะไปปิดสำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน เพราะลูกหลานผู้บริหารธนาคารเขียนจดหมายมาว่า รัฐบาลนี้กำลังเป็นหมาจนตรอก ทำโครงการรับจำนำข้าว โกงกินไปหลายแสนล้าน ขาดทุน 4 แสนล้าน ไม่มีเงินจ่ายให้ชาวนา จำนำข้าวแล้วไม่ได้เงิน วันนี้ไปบังคับให้ ธ.ก.ส.เขาไม่ยอม มันจะไปบังคับธนาคารออมสิน เอาเงินไปจ่ายจำนำข้าวแทนมันทำได้ เป็นเสือยืมหมาเราจึงจะปิดธนาคารออมสินเพื่อปกป้องผู้ฝากเงิน และหากธนาคารกรุงไทยให้เงินรัฐบาลก็จะไปปิดเป็นรายต่อไป"สุเทพ เทือกสุบรรณ เวทีปทุมวัน 19 ม.ค.57
.
คำพูดแกนนำคนสำคัญอย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณที่ปรากฎนี้ หลายคนคงไม่มีวันลืม โดยเฉพาะกระดูกสันหลังของชาติ อย่างชาวนา กับปฏิบัติการปิดล้อมกดดันไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงิน ขัดขวางไม่ให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จ่ายเงินให้กับผู้ที่ปลูกข้าวเลี้ยงปากท้องคนทั้งชาติ เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากปฏิบัติการชัตดาวน์กรุงเทพของกลุ่มผู้ชุมนุมที่นำโดย กปปส.
.
กปปส.สร้างวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วงเดือนตุลาคม 2556 แม้ว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจะประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร คืนอำนาจให้กับประชาชน ตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ไปแล้วก็ตาม
.
กลับกลายเป็นว่า เมื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. และธนาคารอื่นของรัฐต้องการกู้เงินสำหรับใช้จ่ายในโครงการรับจำนำข้าว ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน กลุ่มต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของ กปปส.ได้ใช้ประเด็นนี้เป็นประเด็นการเมือง ขัดขวางการระดมเงินเพื่อจ่ายแก่ชาวนา
.
ทั้งที่ในช่วงการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวตั้งแต่รอบข้าวนาปี 2554/2555 จนถึงรอบนาปรังปี 2556 รวมทั้งสิ้น 4 ฤดูกาล เป็นระยะเวลา 2 ปี ไม่มีปัญหาในเรื่องการจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้กับชาวนาแต่ประการใด
.
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจึงแก้ปัญหาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2557 ด้วยการให้กระทรวงพาณิชย์ ยืมงบกลางจำนวน 2 หมื่นล้านบาท มาจ่ายให้ชาวนาตามสิทธิ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนไปพลาง และให้นำเงินที่ได้จากการขายข้าวมาคืนงบกลางดังกล่าว ขณะที่ในช่วงที่มีปัญหาการจัดหาเงินจากการชุมนุมของ กปปส.
.
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตระหนักดีว่าความขัดแย้งทางการเมืองไม่ควรเป็นต้นเหตุที่ทำให้ชาวนาต้องยากลำบาก ดังนั้นกระทรวงการคลัง ร่วมกับ ธกส. จึงจัดทำโครงการบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนา ไม่ว่าจะเป็น โครงการผ่อนชำระหนี้ การให้กู้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
.
หลังรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คสช. โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้ ธกส.กู้เงินโดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน สำหรับการจ่ายเงินค่าจำนำข้าวส่วนที่เหลืออีก 90,000 ล้านบาท และธกส.ได้จ่ายเงินให้แก่ชาวนา ภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน
.
ซึ่งกระบวนการกู้เงินและจ่ายเงินดังกล่าว ก็เป็นวิธีการดำเนินการเช่นเดียวกันกับรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้กำหนดไว้เดิม
.
ปัญหาการจ่ายเงินค่าจำนำข้าวที่เกิดขึ้นในฤดูกาลผลิตนาปี 2556/2557 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2556 มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้ใช้ชาวนาเป็นเครื่องมือ ขัดขวางทำให้ธนาคารรัฐและรัฐบาลสามารถกู้เงินได้ ถึงขั้นที่นักวิชาการทีดีอาร์ไอ อย่าง "ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง" ระบุไว้ว่าเป็นความเลือดเย็นของ กปปส.ที่ขัดขวางการจ่ายเงินชาวนา
.
ดังนั้นข้อกล่าวหาที่ชาวนาบางกลุ่มออกมาระบุว่า โครงการรับจำนำข้าวมีการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การจ่ายเงินล่าช้า จึงไม่มีมูลแต่ประการใด และเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมกับรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
.
"ผมจึงอยากเรียนต่อท่าน และต่อสังคมให้เห็นชัดๆว่า ปัญหาการจ่ายเงินโครงการจำนำข้าว จึงไม่ใช่รัฐบาลหรือ ธ.ก.ส. ไม่มีเงิน แต่เป็นปัญหาทางการเมือง ที่บุคคลที่ต่อต้านรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ใช้สารพัดวิธีการเข้ามาขัดขวางการจัดการโครงการฯ เพื่อเหตุผลเดียวคือ ล้มรัฐบาล โดยไม่สนใจความทุกข์ยากของชาวนาในวันนั้น"ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย อดีต รมช.คลัง
.
คำพูดแกนนำคนสำคัญอย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณที่ปรากฎนี้ หลายคนคงไม่มีวันลืม โดยเฉพาะกระดูกสันหลังของชาติ อย่างชาวนา กับปฏิบัติการปิดล้อมกดดันไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงิน ขัดขวางไม่ให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จ่ายเงินให้กับผู้ที่ปลูกข้าวเลี้ยงปากท้องคนทั้งชาติ เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากปฏิบัติการชัตดาวน์กรุงเทพของกลุ่มผู้ชุมนุมที่นำโดย กปปส.
.
กปปส.สร้างวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วงเดือนตุลาคม 2556 แม้ว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจะประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร คืนอำนาจให้กับประชาชน ตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ไปแล้วก็ตาม
.
กลับกลายเป็นว่า เมื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. และธนาคารอื่นของรัฐต้องการกู้เงินสำหรับใช้จ่ายในโครงการรับจำนำข้าว ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน กลุ่มต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของ กปปส.ได้ใช้ประเด็นนี้เป็นประเด็นการเมือง ขัดขวางการระดมเงินเพื่อจ่ายแก่ชาวนา
.
ทั้งที่ในช่วงการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวตั้งแต่รอบข้าวนาปี 2554/2555 จนถึงรอบนาปรังปี 2556 รวมทั้งสิ้น 4 ฤดูกาล เป็นระยะเวลา 2 ปี ไม่มีปัญหาในเรื่องการจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้กับชาวนาแต่ประการใด
.
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจึงแก้ปัญหาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2557 ด้วยการให้กระทรวงพาณิชย์ ยืมงบกลางจำนวน 2 หมื่นล้านบาท มาจ่ายให้ชาวนาตามสิทธิ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนไปพลาง และให้นำเงินที่ได้จากการขายข้าวมาคืนงบกลางดังกล่าว ขณะที่ในช่วงที่มีปัญหาการจัดหาเงินจากการชุมนุมของ กปปส.
.
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตระหนักดีว่าความขัดแย้งทางการเมืองไม่ควรเป็นต้นเหตุที่ทำให้ชาวนาต้องยากลำบาก ดังนั้นกระทรวงการคลัง ร่วมกับ ธกส. จึงจัดทำโครงการบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนา ไม่ว่าจะเป็น โครงการผ่อนชำระหนี้ การให้กู้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
.
หลังรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คสช. โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้ ธกส.กู้เงินโดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน สำหรับการจ่ายเงินค่าจำนำข้าวส่วนที่เหลืออีก 90,000 ล้านบาท และธกส.ได้จ่ายเงินให้แก่ชาวนา ภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน
.
ซึ่งกระบวนการกู้เงินและจ่ายเงินดังกล่าว ก็เป็นวิธีการดำเนินการเช่นเดียวกันกับรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้กำหนดไว้เดิม
.
ปัญหาการจ่ายเงินค่าจำนำข้าวที่เกิดขึ้นในฤดูกาลผลิตนาปี 2556/2557 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2556 มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้ใช้ชาวนาเป็นเครื่องมือ ขัดขวางทำให้ธนาคารรัฐและรัฐบาลสามารถกู้เงินได้ ถึงขั้นที่นักวิชาการทีดีอาร์ไอ อย่าง "ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง" ระบุไว้ว่าเป็นความเลือดเย็นของ กปปส.ที่ขัดขวางการจ่ายเงินชาวนา
.
ดังนั้นข้อกล่าวหาที่ชาวนาบางกลุ่มออกมาระบุว่า โครงการรับจำนำข้าวมีการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การจ่ายเงินล่าช้า จึงไม่มีมูลแต่ประการใด และเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมกับรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
.
"ผมจึงอยากเรียนต่อท่าน และต่อสังคมให้เห็นชัดๆว่า ปัญหาการจ่ายเงินโครงการจำนำข้าว จึงไม่ใช่รัฐบาลหรือ ธ.ก.ส. ไม่มีเงิน แต่เป็นปัญหาทางการเมือง ที่บุคคลที่ต่อต้านรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ใช้สารพัดวิธีการเข้ามาขัดขวางการจัดการโครงการฯ เพื่อเหตุผลเดียวคือ ล้มรัฐบาล โดยไม่สนใจความทุกข์ยากของชาวนาในวันนั้น"ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย อดีต รมช.คลัง
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น