Prasitchai Kumbang
เอาผิดเรียกค่าเสียหายจำนำข้าว"ยิ่งลักษณ์" ใช้ตรรกะนี้..นายกรัฐมนตรีในอดีตต้องถูกเรียกร้องค่าเสียหายด้วย
นโยบายการรับจำนำข้าว แนวคิดของพรรคเพื่อไทยที่ต้องการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น ไม่ใช่โครงการใหม่ แต่มีการดำเนินการในหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่รัฐบาลของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในปี 2524 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ในปี 2536 รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา
กระทั่งได้รับการออกแบบใหม่ในสมัยที่พรรคไทยรักไทย ภายใต้การนำของอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2544 ต้นแบบของโครงการรับจำนำใบประทวนสินค้าข้าวเปลือก ให้โรงสีเอกชนเข้ามาเป็นกลไกที่สำคัญในกระบวนการรับจำนำข้าวเปลือก โครงการรับจำนำข้าวดำเนินการเรื่อยมาจนกระทั่งในปี 2550 ในรัฐบาลขิงแก่ของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหารในปี 2549
จะมีเพียงการยุติ หรือยกเว้นโครงการในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี 2551-2552 เท่านั้น ที่นำนโยบายประกันราคาข้าวมาใช้แทน
และเมื่อรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้ง จึงนำนโยบายจำนำข้าวกลับมาใช้ แต่ปรับราคาที่รับจำนำให้สูงขึ้น เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชาวนา และมีการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด
แต่เดิมการรับจำนำข้าวของรัฐจะจำกัดปริมาณเพียง 10% ของผลผลิต และราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด จึงไม่มีแรงจูงใจที่มากพอให้ชาวนานำข้าวมาจำนำกับรัฐ กลไกการตลาดจึงเอื้อให้เกิดพ่อค้าคนกลาง ที่กดราคาชาวนาเรื่อยมา
เมื่อรัฐบาลนี้ใช้นโยบายจำนำข้าวหาเสียง และดำเนินเป็นนโยบายหลักในการรับจำนำได้ไม่จำกัดจำนวน จึงถูกโจมตี เพราะเท่ากับรัฐบาลเสนอเป็นตัวกลางรับซื้อข้าว เป็นการแย่งตลาดและแข่งขันกับพ่อค้าคนกลางที่หากินจากชาวนามาตลอด
ข้อมูลของ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า มีชาวนาไทย มีทั้งหมดกว่า 3 ล้าน 7 แสนครัวเรือน หรือประมาณ 15 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23 ของประชากรทั้งประเทศ
ซึ่งที่ผ่านมา ปริมาณข้าวไม่ได้สะท้อนอุปสงค์และอุปทานในตลาดต่างประเทศ ทำให้ข้าวคุณภาพดีส่งออกในราคาที่ถูกกว่าเพื่อนบ้าน ปริมาณการผลิตสูงกว่าปริมาณการบริโภคในประเทศ ผ่านผู้ส่งออกโดยไม่มีอำนาจการต่อรอง
หากนำโครงการประกันรายได้เกษตรกรมาเยียวยาก็จะเกิดปัญหา เงินชดเชยส่วนต่างต่ำจากราคาตลาด ซึ่งชาวนาก็ขายข้าวขาดทุนอยู่ดี กลไกการตลาดที่อำนาจการต่อรองอยู่กับพ่อค้าทำให้ราคาข้าวเปลือกถูกกดให้ต่ำ กว่าต้นทุน ทำให้ชาวนาต้องตกอยู่ในวงจรหนี้สินไม่รู้จบ ทั้งยังมีการรั่วไหลทุจริตได้ง่าย
การที่ต้องรับจำนำข้าวทุกเม็ด ก็เพื่อให้มีการรับจำนำมีปริมาณมากขึ้นและทั่วถึง เป็นธรรม ซึ่งเมื่อรวมกับการกำหนดราคาที่ตันละ 15,000 บาทแล้ว จะทำให้ราคาข้าวเปลือกในตลาดอยู่ในระดับสูงตามไปด้วย แม้ชาวนาที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการก็จะได้รับประโยชน์ไปโดยปริยาย
แต่แล้วนโยบายที่เป็นนโยบายช่วยเหลือชาวนา 15 ล้านคนให้ลืมตาอ้าปากนี้ กำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นงานทางการเมืองกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ด้วยการเรียกค่าเสียหายหลายแสนล้านบาท
จำนำข้าว คือโครงการสาธารณะ ไม่ใช่นโยบายทางการค้า ที่จะแสวงหาผลกำไรหรือขาดทุน การเรียกค่าเสียหายจากโครงการสาธารณะที่เป็นการลงทุนเพื่อกลุ่มเกษตรกร ที่ถือว่าเป็นกลุ่มคนในประเทศที่มีรายได้น้อย จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
เพราะหากใช้ตรรกะเดียวกัน รัฐบาลในอดีตย่อมต้องถูกดำเนินคดีและเรียกร้องค่าเสียหายจากการดำเนิน โครงการสาธารณะเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต่อเนื่องถึงรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในฤดูกาลผลิตในปี 2529/30 ที่ใช้วงเงินกว่า 3,809 ล้านบาท
หรือรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ในฤดูกาลผลิตปี 2535/36 ที่ใช้วงเงินในโครงการกว่า 10,550 ล้านบาท รัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ยังคงดำเนินนโยายรับจำนำข้าว รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ที่ดำเนินโครงการประกันราคาข้าวใน 2 ฤดูกาลผลิต วงเงินที่ใช้ในโครงการกว่า 7 หมื่นล้านบาท
หรือแม้กระทั่งเงินช่วยเหลือชาวนาผ่านนโยบาย 1 พันบาทต่อไร่ต่อฤดูกาลผลิตของรัฐบาลปัจจุบัน ที่ใช้วงเงินกว่า 4 หมื่นล้านบาท
ดังนั้น การเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่มีการตั้งข้อสังเกตุว่าอาจเป็น การกลั่นแกล้งทางการเมือง มีการพุ่งเป้าเล่นงานเฉพาะบางรัฐบาล ตัวเลขที่กล่าวอ้างความเสียหายหลายแสนล้านจึงต้องมีการเรียกค่าเสียหายนั้น ดูแล้วจะเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เพราะตัวเลขของแต่ละรัฐบาลที่ใช้ผ่านโครงการนี้ จะกี่ร้อยล้าน กี่พันล้าน หรือกี่หมื่นล้าน มันก็คืองบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชนแทบทั้งสิ้น
ทั้งนี้หากใช้ตรรกะนี้ รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมาย่อมต้องถูกเรียกร้องค่าเสียหายเช่นกัน
******************
นโยบายการรับจำนำข้าว แนวคิดของพรรคเพื่อไทยที่ต้องการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น ไม่ใช่โครงการใหม่ แต่มีการดำเนินการในหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่รัฐบาลของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในปี 2524 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ในปี 2536 รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา
กระทั่งได้รับการออกแบบใหม่ในสมัยที่พรรคไทยรักไทย ภายใต้การนำของอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2544 ต้นแบบของโครงการรับจำนำใบประทวนสินค้าข้าวเปลือก ให้โรงสีเอกชนเข้ามาเป็นกลไกที่สำคัญในกระบวนการรับจำนำข้าวเปลือก โครงการรับจำนำข้าวดำเนินการเรื่อยมาจนกระทั่งในปี 2550 ในรัฐบาลขิงแก่ของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหารในปี 2549
จะมีเพียงการยุติ หรือยกเว้นโครงการในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี 2551-2552 เท่านั้น ที่นำนโยบายประกันราคาข้าวมาใช้แทน
และเมื่อรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้ง จึงนำนโยบายจำนำข้าวกลับมาใช้ แต่ปรับราคาที่รับจำนำให้สูงขึ้น เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชาวนา และมีการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด
แต่เดิมการรับจำนำข้าวของรัฐจะจำกัดปริมาณเพียง 10% ของผลผลิต และราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด จึงไม่มีแรงจูงใจที่มากพอให้ชาวนานำข้าวมาจำนำกับรัฐ กลไกการตลาดจึงเอื้อให้เกิดพ่อค้าคนกลาง ที่กดราคาชาวนาเรื่อยมา
เมื่อรัฐบาลนี้ใช้นโยบายจำนำข้าวหาเสียง และดำเนินเป็นนโยบายหลักในการรับจำนำได้ไม่จำกัดจำนวน จึงถูกโจมตี เพราะเท่ากับรัฐบาลเสนอเป็นตัวกลางรับซื้อข้าว เป็นการแย่งตลาดและแข่งขันกับพ่อค้าคนกลางที่หากินจากชาวนามาตลอด
ข้อมูลของ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า มีชาวนาไทย มีทั้งหมดกว่า 3 ล้าน 7 แสนครัวเรือน หรือประมาณ 15 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23 ของประชากรทั้งประเทศ
ซึ่งที่ผ่านมา ปริมาณข้าวไม่ได้สะท้อนอุปสงค์และอุปทานในตลาดต่างประเทศ ทำให้ข้าวคุณภาพดีส่งออกในราคาที่ถูกกว่าเพื่อนบ้าน ปริมาณการผลิตสูงกว่าปริมาณการบริโภคในประเทศ ผ่านผู้ส่งออกโดยไม่มีอำนาจการต่อรอง
หากนำโครงการประกันรายได้เกษตรกรมาเยียวยาก็จะเกิดปัญหา เงินชดเชยส่วนต่างต่ำจากราคาตลาด ซึ่งชาวนาก็ขายข้าวขาดทุนอยู่ดี กลไกการตลาดที่อำนาจการต่อรองอยู่กับพ่อค้าทำให้ราคาข้าวเปลือกถูกกดให้ต่ำ กว่าต้นทุน ทำให้ชาวนาต้องตกอยู่ในวงจรหนี้สินไม่รู้จบ ทั้งยังมีการรั่วไหลทุจริตได้ง่าย
การที่ต้องรับจำนำข้าวทุกเม็ด ก็เพื่อให้มีการรับจำนำมีปริมาณมากขึ้นและทั่วถึง เป็นธรรม ซึ่งเมื่อรวมกับการกำหนดราคาที่ตันละ 15,000 บาทแล้ว จะทำให้ราคาข้าวเปลือกในตลาดอยู่ในระดับสูงตามไปด้วย แม้ชาวนาที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการก็จะได้รับประโยชน์ไปโดยปริยาย
แต่แล้วนโยบายที่เป็นนโยบายช่วยเหลือชาวนา 15 ล้านคนให้ลืมตาอ้าปากนี้ กำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นงานทางการเมืองกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ด้วยการเรียกค่าเสียหายหลายแสนล้านบาท
จำนำข้าว คือโครงการสาธารณะ ไม่ใช่นโยบายทางการค้า ที่จะแสวงหาผลกำไรหรือขาดทุน การเรียกค่าเสียหายจากโครงการสาธารณะที่เป็นการลงทุนเพื่อกลุ่มเกษตรกร ที่ถือว่าเป็นกลุ่มคนในประเทศที่มีรายได้น้อย จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
เพราะหากใช้ตรรกะเดียวกัน รัฐบาลในอดีตย่อมต้องถูกดำเนินคดีและเรียกร้องค่าเสียหายจากการดำเนิน โครงการสาธารณะเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต่อเนื่องถึงรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในฤดูกาลผลิตในปี 2529/30 ที่ใช้วงเงินกว่า 3,809 ล้านบาท
หรือรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ในฤดูกาลผลิตปี 2535/36 ที่ใช้วงเงินในโครงการกว่า 10,550 ล้านบาท รัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ยังคงดำเนินนโยายรับจำนำข้าว รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ที่ดำเนินโครงการประกันราคาข้าวใน 2 ฤดูกาลผลิต วงเงินที่ใช้ในโครงการกว่า 7 หมื่นล้านบาท
หรือแม้กระทั่งเงินช่วยเหลือชาวนาผ่านนโยบาย 1 พันบาทต่อไร่ต่อฤดูกาลผลิตของรัฐบาลปัจจุบัน ที่ใช้วงเงินกว่า 4 หมื่นล้านบาท
ดังนั้น การเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่มีการตั้งข้อสังเกตุว่าอาจเป็น การกลั่นแกล้งทางการเมือง มีการพุ่งเป้าเล่นงานเฉพาะบางรัฐบาล ตัวเลขที่กล่าวอ้างความเสียหายหลายแสนล้านจึงต้องมีการเรียกค่าเสียหายนั้น ดูแล้วจะเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เพราะตัวเลขของแต่ละรัฐบาลที่ใช้ผ่านโครงการนี้ จะกี่ร้อยล้าน กี่พันล้าน หรือกี่หมื่นล้าน มันก็คืองบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชนแทบทั้งสิ้น
ทั้งนี้หากใช้ตรรกะนี้ รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมาย่อมต้องถูกเรียกร้องค่าเสียหายเช่นกัน