ใครจะเป็น ผอ.ไทยพีบีเอสคนใหม่ ถ้าดูในกรรมการนโยบาย ก็ต้อง "รุ่งมณี เมฆโสภณ" สิครับ 555 นักข่าวระดับอาวุโส ที่ต้องค้อมคารวะในฝีมือและผลงาน เหมาะสมทุกประการ นี่พูดโดยไม่เกี่ยวกับข้างฝ่าย ต่อให้เธอกับสามี วสันต์ ภัยหลีกลี้ (สปช.ตกงาน) ไปเป่านกหวีดปี๊ดๆ เพราะเชื่อว่ามืออาชีพพอ
ปัญหาคือเรื่องมันทับซ้อนกันไปหมดนี่สิ วสันต์-รุ่งมณี เคยเป็นลูกน้องสมชัยที่ BBC กรุงลอนดอน วสันต์เคยเป็นรอง ผอ.ไทยพีบีเอสสมัยเทพชัย หย่อง แล้วมาสมัครแข่งกับสมชัย (แม้ถอนตัวไป) ตอนแรกลือๆ ว่าสมชัยจะเอากลับไปเป็นรอง แต่ไม่ยักเอากลับ กลายเป็นรุ่งมณีกลับไปนั่งเป็นบอร์ด
ที่มาที่ไปอย่างนี้ก็ปิดโอกาสสองสามีภริยาโดยปริยาย เอ๊ะงั้นจะเอาใคร เทพชัย หย่อง กลับไปอีกรึ เดี๋ยวก็วิกแตก ลูกน้องหย่องเยอะ แต่คนไม่ชอบก็เยอะ คนอื่นล่ะ ใครจะมีฝีมือทางข่าว+ทีวี+เป็นที่ยอมรับของเครือข่ายคนดี NGO หมอประเวศ ตอนนี้ยังนึกไม่ออก
เอ๊ะหรือจะเป็นสนธิญาณ หนูแก้ว 55555 อย่าประมาทนะ เลือกกรรมการสายสื่อครั้งล่าสุด 2 คน ก็ได้รุ่งมณี พร้อมพิพัทธ์ ชนะสงคราม กรรมการผู้ช่วยอำนวยการบริษัทสำนักข่าวทีนิวส์
ย้อนให้ดุอีกครั้งใครเป็นกรรมการนโยบายบ้าง
ประธาน ณรงค์ เพชรประเสริฐ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองนักวิชาการแรงงานผู้เป็นสังคมนิยมฝังหัวตั้งแต่สมัยผมเป็น นศ.จนป่านนี้ก็ยังไม่เลิก เกลียดทุนนิยมอย่างคลั่งแต่ก็เคยไปช่วยงานรัฐบาลทักษิณ แล้วผิดหวังมาเป็นพันธมิตรนกหวีด
ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ครูดอย ประธานคณะกรรมการสถาบันการจัดการทางสังคม ไม่ได้ร่วมกับ กปปส. เมื่อปลายปีที่แล้วจัดกิจกรรมภาคีขับเคลื่อนเชียงใหม่จัดการตนเองโดนทหารเบรก
ลัดดาวัลย์ บัวเอี่ยม ข้าราชการเกษียณกรมประชาสัมพันธ์
อ.ปราณี ทินกร ภริยา อ.รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ ซึ่งเคยเล่าแล้วว่าคนละทัศนะกับ อ.รังสรรค์
สมพันธ์ เตชะอธิก NGO นักวิชาการ พันธมิตรขอนแก่น
ธีรภัทร สงวนกชกร อาจารย์วิศวโทรคมนาคม
สมศรี หาญอนันตสุข สายสมชาย หอมลออ
พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551
มาตรา 36 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32 หรือมาตรา 34 แล้วแต่กรณี
(4) ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
(5) คณะกรรมการนโยบายมีมติให้ถอดถอนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนคณะกรรมการนโยบายทั้งหมดในขณะนั้น มติให้ถอดถอนนี้ต้องแสดงเหตุผลซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนการใช้ดุลพินิจ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีของรองผู้อำนวยการ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้ถอดถอน โดยแสดงข้อเท็จจริงและให้เหตุผลของการถอดถอนด้วย
(6) ถูกเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
มาตรา 36 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32 หรือมาตรา 34 แล้วแต่กรณี
(4) ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
(5) คณะกรรมการนโยบายมีมติให้ถอดถอนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนคณะกรรมการนโยบายทั้งหมดในขณะนั้น มติให้ถอดถอนนี้ต้องแสดงเหตุผลซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนการใช้ดุลพินิจ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีของรองผู้อำนวยการ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้ถอดถอน โดยแสดงข้อเท็จจริงและให้เหตุผลของการถอดถอนด้วย
(6) ถูกเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
กรณีนี้น่าจะเข้าข้อ 5 ใช้เสียง 2 ใน 3
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น