source pic : http://www.dw.com/en/thailands-democratic-future-at-a-crossroads/a-19298132
สื่อเยอรมัน ‘DW’ เขียนถึงหัวเลี้ยวหัวต่อประชาธิ ปไตยไทย แนะแยกส่วนอำนาจ
Posted: 05 Jun 2016 12:31 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
สื่อสัญชาติเยอรมนี ดอยช์ เวเลย์ (Deutsche Welle หรือ DW) รายงานถึงสถานการณ์ ในประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่ องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนู ญใหม่ที่กำลังจะมีขึ้นในเดือน ส.ค. นี้ว่ามันอาจจะส่งผลต่อภูมิทั ศน์ทางการเมืองของไทยในอี กหลายสิบปีข้างหน้า โดยที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถู กวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นรั ฐธรรมนูญที่เปิดทางให้กองทั พคงอำนาจของตัวเองไว้
ในรัฐสภาเยอรมนีที่กรุงเบอร์ลิน DW ได้สัมภาษณ์สุนัย ผาสุก จากฮิวแมนไรท์วอทช์ประเทศไทยถึ งเรื่องนี้ สุนัยชี้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบั บนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคั ญของประเทศไทยและถ้าไม่ยับยั้ งมันไว้ก็อาจจะสายเกินไป โดยสุนัยบอกว่าแทนที่ร่างรั ฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ ประเทศกลับสู่ประชาธิปไตยกลั บจะทำให้ประเทศล้าหลั งทางประชาธิปไตยไปมากกว่าเดิ มเนื่องจากในร่างฯ กำหนดให้เผด็จการทหารเป็นผู้คั ดเลือกตัวแทน ส.ว. ทั้งหมด 250 คน และเว้นที่ให้ผู้นำกองทัพ 6 ที่นั่ง
สื่อ DW ยังนำเสนอเรื่องที่ทหารจั ดกองกำลังทหาร 200,000 นาย และครู 300,000 คน ชักจูงให้คนโหวตรับร่างรั ฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมาจากการสัมภาษณ์อดี ตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน จรัล ดิษฐาอภิชัย โดยจรัลกล่าวอีกว่าการที่ไม่อนุ ญาตให้มีการหารือและวิจารณ์ร่ างรัฐธรรมนูยฉบับนี้ในสื่อทำให้ กระบนการทั้งหมดเป็นกระบวนการที ่บกพร่อง เป็นกระบวนการประชามติที่ไม่เป็ นธรรมและไม่เป็นอิสระและเป็นแค่ ความพยายามของกองทัพในการอ้ างความชอบธรรมในการยึดกุ มอำนาจของตัวเอง
ทางด้านสุภาพรรณ เตียพิริยะกิจ ตัวแทนจากสถานทูตไทยในกรุงเบอร์ ลินกล่าวหาว่าอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้ก่อปัญหาให้ประเทศ และรัฐบาลปัจจุบันเป็นผู้แก้ ไขปัญหาที่เธอทำไว้ในอดีต
มาร์ติน พัตเซลต์ ส.ส. เยอรมนีที่เคยเข้ารับฟังกรณี สถานการณ์สิทธิมนุ ษยชนในประเทศไทยมาก่อนกล่าวว่า เยอรมนีต้องการรักษาความสัมพั นธ์อย่างใกล้ชิดต่อทั้งรั ฐบาลไทยและทั้งประชาชนชาวไทย แต่การที่สังคมมีการแบ่งแยกฝั งรากลึกแบบในประเทศไทยก็เป็ นการยากที่จะส่งเสริมประชาธิ ปไตยได้
โทมัส แกมบ์เคอ ประธานกลุ่มสภาอาเซียนในรั ฐสภาเยอรมนีกล่าวว่าระหว่างเหล่ าผู้เล่นการเมืองในไทยต่างก็ ขาดความเคารพละความเชื่อมั่ นในกันและกันซึ่งจะนำไปสู่ สภาพคุมเชิงกัน เขาบอกอีกว่าการที่จะป้องกันไม่ ให้รัฐบาลทหารจัดตั้งตัวเองเป็ นผู้ตัดสินใจระดับบนสุ ดของประเทศในทางพฤตินัยได้นั้ นควรมีการแยกส่วนอำนาจระหว่ างภาคส่วนต่างๆ ของรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานตุ ลาการที่เป็นอิสระด้วย
ส.ส. แกมบ์เคอกล่าวต่อไปว่าเขาจะใช้ ทุกช่องเพื่อสื่อสารกับเอคอั ครราชทูตไทย ตัวแทนของรัฐบาล และกลุ่มอื่นๆ เพื่อทำให้มีการแยกส่ วนอำนาจระหว่างภาค่วนต่างๆ ของรัฐบาลในไทย
เรียบเรียงจาก
Thailand's democratic future at a crossroads, Deutsche Welle, 01-06-2016
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น