โฆษกศาลรธน. ยันรีบเสนอคำร้องผู้ตรวจฯ ให้ตุลาการวินิจฉัย ปมพ.ร.บ.ประชามติโดยเร็ว
Posted: 06 Jun 2016 05:44 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
6 มิ.ย.2559 จากกรณีเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติเอกฉั นท์เห็นว่า มาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ประชามติมีปัญหาความชอบด้ วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเนื้อหาในวรรคสองมี การบัญญัติคำว่า "รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย" นั้น มีความไม่ชัดเจนและคลุมเครือ นำไปสู่ความสับสนของประชาชน ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และอาจทำให้การปฏิบัติของเจ้ าหน้าที่ดำเนินการโดยดุลพินิ จของตัวเอง จนทำให้กระทบสิทธิของประชาชนที่ อาจนำไปสู่ความเสียหาย จึงเห็นควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนู ญวินิจฉัย เฉพาะมาตรา 61 วรรคสอง ส่วนข้อความในมาตรา 61 วรรคสาม และวรรคสี่ นั้นที่ประชุมเห็นว่าเป็นเรื่ องของบทกำหนดโทษ ซึ่งเป็นดุลพินิจของผู้ ออกกฎหมาย และเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิ จารณา ทั้งนี้คาดว่าจะส่งให้ศาลรั ฐธรรมนูญได้ภายในสัปดาห์นี้ โดยคำร้องดังกล่าวเป็นของ จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเตอร์เน็ ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
ข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ รายงานว่า วันนี้ (6 มิ.ย.59) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ได้เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนู ญพิจารณาวินิจฉัยตาม รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ.2557 ม.45 วรรคหนึ่ง โดยผู้ร้องเห็นว่าบทบัญญัติ ม.61 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสี ยงประชามติร่าง รธน. พ.ศ.2559 เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิ และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็ นของประชาชนเกินความจำเป็ นและกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่ งสิทธิและเสรี ภาพในการแสดงความเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่ อความหมายโดยวิธีอื่นของประชาชน บทบัญญํติดังกล่าวจึงมีปัญหาเกี ่ยวกับความชอบด้วยรธน.ชั่วคราว พ.ศ.57 ม.4
ผู้ร้องจึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิ จารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติใน ม.61 ดังกล่าว มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรั ฐธรรมนูญ (ฉ.ชั่วคราว) พ.ศ.2557 ม.4
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะได้ เสนอคำร้องเรื่องดังกล่าวต่ อองค์คณะตุลาการเพื่อพิจารณาวิ นิจฉัยว่าจะรับคำร้องหรือไม่รั บคำร้องต่อไป
โฆษกศาลรธน.รับจะรีบเสนอคำร้ องผู้ตรวจฯให้ตุลาการวินิจฉั ยโดยเร็ว
สำนักข่าวไทย รายงานด้วยว่า พิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนู ญและโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า สำหรับการพิจารณาคำร้องของผู้ ตรวจการแผ่นดิน เบื้องต้นทางสำนักงานฯไม่ได้ กำหนดกรอบระยะเวลาการพิจารณา แต่จะเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุ มคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็ วที่สุด ส่วนตุลาการจะนำมาพิจารณาเมื่ อใดขึ้นอยู่กับตัวคำร้องว่า มีรายละเอียดที่ชัดเจนสามารถพิ จารณาได้ทันทีเลยหรือไม่ หรือหากคำร้องยังไม่ชั ดเจนอาจจะต้องการขอเอกสารเพิ่ มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรืออาจจะต้องเชิญบุคคลเข้าชี้ แจง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลยพินิ จของตุลาการ เบื้องต้นตุลาการรับทราบแล้วว่ ามีการยื่นร้องเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม พิมลยังไม่สามารถบอกได้ว่ าจะเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมในสั ปดาห์นี้เลยหรือไม่ เนื่องจากต้องดูรายละเอี ยดของคำร้องก่อน ไม่อยากกำหนดว่าต้องเข้าที่ ประชุมสัปดาห์นี้ แต่จะดำเนินการโดยเร็ว
กกต.พร้อมชี้แจง หากศาลรธน.รับคำร้องผู้ตรวจฯ
ขณะที่ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลื อกตั้ง (กกต.) สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั ้งให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ผู้ ตรวจการแผ่นดินยื่นเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญตีความมาตรา 61 วรรคสองของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสี ยงประชามติขัดรัฐธรรมนูญชั่ วคราวดังกล่าวว่า เบื้องต้นต้องรอศาลรัฐธรรมนูญว่ า จะรับหรือไม่รับคำร้อง ถ้าศาลรับพิจารณาก็ต้องดูว่ าจะเรียกให้ใครไปชี้แจง ซึ่งอาจจะเชิญผู้เกี่ยวข้องไปชี ้แจงเช่น สนช.ซึ่งทราบว่าสนช.ได้ มอบหมายบุคคลที่จะเข้าชี้แจงไว้ แล้ว ส่วนกกต.ถ้าขอให้ไปชี้แจงก็พร้ อมจะส่งตัวแทนไป กระบวนการร่างกฎหมายมีหลายฝ่ ายที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องให้คนที่เข้าใจดีที่สุ ดเป็นฝ่ายไปชี้แจงกับศาลรั ฐธรรมนูญ ส่วนที่นปช.เรียกร้องให้ฝ่ายที่ เกี่ยวข้องกับการทำประชามติยุติ ปฏิบัติหน้าที่เพื่อรอศาลวินิ จฉัยก่อนนั้น ยืนยันว่าไม่สามารถทำได้ ตราบใดที่กฎหมายบังคับใช้อยู่ก็ ต้องปฏิบัติหน้าที่ไป ไม่เช่นนั้นจะถูกร้องฟ้องละเว้ นการปฏิบัติหน้าที่ได้
“ถ้าศาลวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนู ญชั่วคราว ฝ่ายที่มีบทบาทในการยกร่างฯต้ องเป็นผู้เสนอแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสี ยงประชามติใหม่ โดยอาจจะให้รัฐบาล สนช.หรือกกต.เป็นผู้ยกร่างฯแก้ ไข หรือจะตัดเอาวรรคดังกล่าวออก รวมถึงอาจเพิ่มเติมเปลี่ ยนแปลงแล้วส่งให้สนช.พิจารณาให้ ความเห็นชอบ จากนั้น ก็ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเพื ่อประกาศใช้ต่อไป นอกจากนี้ กกต.จะมาดูว่าระเบียบหรื อประกาศของกกต.ขัดแย้งกับพ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯหรื อไม่ ถ้าขัดแย้งก็จะแก้ไขให้สอดคล้ อง”สมชัย กล่าว
ต่อกรณีคำถามว่าศาลจะพิจารณาแล้ วเสร็จภายใน 7 ส.ค.หรือไม่ สมชัย กล่าวว่า ไม่มีใครตอบได้ หรือเร่งรัดใครได้ ควรให้เวลาศาลพิจารณาอย่างเพี ยงพอ และยืนยันอีกครั้งว่ากกต.ไม่มี อำนาจเลื่อนวันออกเสียงประชามติ ได้ แต่สามารถขยับให้อยู่ให้อยู่ กรอบ 120 วัน ซึ่งขยับไปอีกได้แค่ 4 วันและจะทำให้การลงมติจะไม่ ตรงกับวันหยุด ยกเว้นจะแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่ วคราวจึงจะเลื่อนได้
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น