ThaiPBS ยอมหั่นทิ้ง 2 ผู้ให้ความเห็น 'เถียงให้รู้เรื่อง' เพื่อให้เนื้อหาสมดุล-หลั งรสนาท้วง
Posted: 08 Jun 2016 06:08 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
รายการเถียงให้รู้เรื่อง ตอน "สัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ ได้คุ้มเสียจริงหรือ?" ทาง ThaiPBS รสนา โตสิตระกูล ถก มนูญ ศิริวรรณ โดยรสนาท้วงว่ารูปแบบรายการไม่ สมดุลเพราะผู้ให้ความเห็นอีก 2 คน มีความเห็นเดียวกันแบบ 3 รุม 1 จึงนำไปร้องเรียนหัวหน้ารายการ ขณะที่ไทยพีบีเอสชี้แจงว่าจะอั ดบันทึกเทปใหม่และปรับผู้ให้ ความเห็น แต่มนูญไม่เห็นด้วย ทำให้เลือกตัด 2 ผู้ให้ความเห็นแทน ด้านมนูญติงสื่ออย่าทำตัวเป็นผู ้พิพากษา ปิดกั้นวิจารณญาณผู้ชม
8 มิ.ย. 2559 กรณีที่รายการเถียงให้รู้เรื่อง ออกอากาศเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2559 ตอน “สัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ ได้คุ้มเสียจริงหรือ?” (ชมรายการย้อนหลัง) ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS มีผู้ร่วมรายการคือ รสนา โตสิตระกูล เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน และ มนูญ ศิริวรรณ เครือข่ายปฏิรูปพลังงานเพื่ อความยั่งยืน ดำเนินรายการโดยคุณอภิรักษ์ หาญพิชิตวาณิช โดยตอนดังกล่าวเป็นการพูดคุยกั นเรื่องการเปิดประมูลสั มปทานรอบใหม่
อย่างไรก็ตามมีเสียงวิจารณ์ว่า รายการดังกล่าวตัดส่วนที่เป็ นการแสดงความเห็นของ ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ นักวิชาการด้านแรงงาน และ ผศ.ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมื องแร่และปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกไปนั้น
ต่อมาไทยพีบีเอส ฝ่ายบริหารองค์การกระจายเสี ยงและแพร่ภาพสาธารณะแห่ งประเทศไทย (ส.ส.ท.) มีประเด็นชี้แจงเผยแพร่ในเว็ บไซต์ ThaiPBS ดังนี้
1. รายการเถียงให้รู้เรื่อง ตอนดังกล่าว มีการบันทึกรายการในคืนวันที่ 6 มิถุนายน 2559 โดยมีผู้นำเสนอข้อมูลและความเห็ น 2 คน คือคุณมนูญ ศิริวรรณ และคุณรสนา โตสิตระกูล โดยมีนักวิชาการร่ วมรายการในฐานะ commentator 2 คน คือ ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ นักวิชาการด้านแรงงานและ ผศ.ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมื องแร่และปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำเนินรายการโดยคุณอภิรักษ์ หาญพิชิตวาณิช
เมื่อบันทึกรายการเสร็จ คุณรสนา ได้ทักท้วงผู้ดำเนินรายการว่า รูปแบบรายการไม่สมดุลคือ commentator ทั้งสองคนมีความคิดในกลุ่ มความเห็นเดียวกัน จึงเกิดความไม่เป็นธรรมที่มีผู้ อภิปรายไปในกลุ่มความเห็นเดี ยวกันถึงสามคน ในขณะที่มีเพียงตนคนเดี ยวในการให้ความเห็นอีกด้านหนึ่ง ซึ่งขัดกับหลักการที่สำคัญของ ส.ส.ท. ที่จะต้องดำรงความเป็ นกลางในการนำเสนอความเห็นทั้ งสองฝั่งอย่างสมดุล
ต่อมาเมื่อผู้มีหน้าที่รับผิ ดชอบได้พิจารณาเทปบันทึ กรายการเถียงให้รู้เรื่องตอนนี้ แล้ว เห็นว่ากระบวนการผลิ ตรายการในการเชิญนักวิ ชาการอาจไม่มี ความหลากหลายและแตกต่ างทางความคิด ตามจุดมุ่งหมาย ที่ต้องการให้รายการให้ ความแตกต่างหลากหลายทางความคิด และมีความเป็นกลางอย่างแท้จริง จึงตัดสินใจที่จะปรับปรุงการผลิ ตรายการตอน ”สัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ ได้คุ้มเสียจริงหรือ?” โดยเสนอทางเลือก 2 ทาง คือ บันทึกรายการตอนนี้อีกครั้ง โดยคงผู้นำเสนอข้อมูลและความเห็ นหลัก คือ คุณมนูญ ศิริวรรณ และคุณรสนา โตสิตระกูล ส่วน commentator ให้มี ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ และนายธีรชัย ภูวนารถนรานุบาล เพื่อให้มีองค์ประกอบของผู้ให้ ความเห็นที่แตกต่าง หลากหลาย และเกิดความสมดุล แต่ทางเลือกนี้คุณมนูญ ไม่เห็นด้วย
ผู้บริหาร ส.ส.ท.และผู้รับผิดชอบรายการ จึงตัดสินใจเลือกแนวทางที่ 2 คือ ตัดเทปรายการใหม่ โดยตัดความเห็นของนักวิชาการหรื อ commentator ออก และคงไว้เฉพาะการถกเถียงระหว่ างคุณมนูญ และคุณรสนา ไว้ทุกคำถามโดยไม่มีการตัดทอน และการตัดสินใจดังกล่าวอยู่บนพื ้นฐานการสร้างสมดุลของข้อมูล โดยที่มิได้มี การแทรกแซงจากภายนอกแต่อย่างใด
2. ด้วยความเคารพและให้เกียรติผู้ ร่วมรายการทุกคน โปรดิวเซอร์รายการได้โทรศัพท์ แจ้งให้ผู้ร่วมรายการทุ กคนทราบในค่ำวันที่ 7 มิถุนายน 2559 ก่อนรายการออกอากาศ พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลว่า ต้องการให้รายการให้ความสมดุ ลในการนำเสนอข้อมูลและความเห็น
3. ส.ส.ท.พร้อมเปิดพื้นที่จั ดรายการโทรทัศน์เป็นวาระพิ เศษเพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ได้นำเสนอข้อมูลและความเห็ นในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับสัมปทานปิโตรเลี ยมรอบใหม่บนหลักการการมีตั วแทนจากฝ่ายต่าง ๆ อย่างสมดุล เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ ยวข้อง
โดยก่อนมีคำชี้แจงของไทยพีบีเอส ก่อนหน้านี้ มนูญ ศิริวรรณ หนึ่งในผู้ร่วมรายการได้โพสต์ผ่ านเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา ระบุว่าได้รับแจ้งจากทางไทยพีบี เอสว่า เทปรายการเถียงให้รู้เรื่องที่ จะนำออกอากาศในวันนี้ (7 มิ.ย. 2559 ) จำเป็นต้องตัดในส่วนความเห็ นของนักวิชาการออกทั้งหมดเพื่ อความเป็นกลาง จึงเกิดคำถามว่าความเป็นกลางคื ออะไร และประเด็นดังกล่าวกลายเป็ นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ในโลกออนไลน์เมื่อมีการนำไปตั้ งกระทู้ในเว็บบอร์ด Pantip
"ผมถามว่าความเป็นกลางคืออะไร ในเมื่อนักวิชาการทั้งสองคน ทางผู้จัดรายการก็เป็นคนเลื อกเอง ผมไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว อะไรด้วย และนักวิชาการที่มาร่ วมรายการเขาย่อมมีความคิดเป็ นของเขาเอง เมื่อเขารับฟังเหตุผลของทั้ งสองฝ่ายแล้ว เขาก็เสนอมุมมองของเขา TPBS มีสิทธิ์อะไรไปเซนเชอร์ความเห็ นของเขา แทนที่จะให้คนดูเป็นคนตัดสิน
ก่อนหน้านี้ในรายการเดียวกันก็ มีการเถียงเรื่องปฏิรูปประเทศ สปท.ท่านหนึ่งที่ไปออกรายการก็ โดนนักวิชาการรุมค้านเหมือนกัน ไม่เห็นทาง TPBS ออกมาเดือดร้อนเรื่องความไม่เป็ นกลาง หรือสปท.ท่านนั้นไม่ได้เป็นอยู่ ในแงดวง NGO เหมือนท่านผอ. เลยไม่มีใครเดือดร้อนแทน
นี่หรือคือสื่อที่ใช้เงินภาษี ประชาชนปีละ 2,000 ล้าน!!!"
ขณะที่ น.ส. รสนา โตสิตระกูล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล ชี้แจงต่อความคิดเห็นของอีกฝ่าย ระบุว่า
“หมายเหตุความจริงวิ วาทะรายการเถียงให้รู้เรื่อง กรณีสัมปทานปิโตเลียม”
รายการเถียงให้รู้เรื่องตอน ” สัมปทานปิโตรเลียม ได้คุ้มเสียจริงหรือ? ” ออกอากาศเมื่อคืนวันที่ 7 มิถุนายน 2559 ที่มีผู้ร่วมรายการคือคุณมนูญ ศิริวรรณในฐานะตัวแทนของกลุ่ มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) กับ รสนา โตสิตระกูล ในฐานะตัวแทนของเครือข่ ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.)
รายการเถียงให้รู้เรื่องเชิญผู้ วิจารณ์ 2 ท่านคือดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ซึ่งอยู่ในกลุ่ม ERS ร่วมกับคุณมนูญ ศิริวรรณ และดร.อีกท่านจากจุฬา (จำชื่อไม่ได้) ซึ่งมีแนวคิดอยู่ในแนวทางเดี ยวกับกลุ่มความคิดของ ERS
ดิฉันไม่ได้รับการบอกล่วงหน้าว่ าไปเถียงกันในฐานะตัวแทน คปพ. และไม่ได้รับแจ้งว่ามีใครเป็นผู ้วิจารณ์ หากเป็นการเถียงในฐานะตัวแทนกลุ ่ม เมื่อกลุ่ม ERS มีคุณมนูญเป็นตัวแทน และมี ดร.พรายพลซึ่งอยู่ในกลุ่มแกนของ ERS เป็นผู้ให้ความเห็นเสริมคุณมนูญ ฝ่าย คปพ.ก็ควรมีทั้งผู้พูดและผู้วิ จารณ์ที่มาจาก คปพ. เช่นเดียวกัน แต่ในการเชิญคนมาร่ วมรายการของไทยพีบีเอส ที่เชิญคนวิจารณ์ที่มีแนวความคิ ดในสายเดียวกับฝ่าย ERS จะโดยความไม่รู้ หรือเตี๊ยมกันก็ไม่ทราบได้ แต่ทำให้การเถียงกันคราวนี้ไม่ เป็นธรรมต่อฝ่าย คปพ.
ในการอัดเทปล่วงหน้าคืนวันที่ 6 มิถุนายน พิธีกรให้โอกาสคุณมนูญได้เป็นทั ้งคนเปิดประเด็น และปิดประเด็นโดยพิธีกรกล่าวว่ าให้คุณมนูญเป็นผู้กล่าวปิดท้ ายแบบปลายเปิดอีกด้วย ทั้งที่การเถียงกัน 2 ฝ่าย ควรจะให้ฝ่ายหนึ่งเปิด และอีกฝ่ายเป็นผู้ปิดท้าย จึงจะยุติธรรม ยิ่งกว่านั้นในระหว่างรายการ พิธีกรจะให้โอกาสคุณมนูญพูดได้ มากกว่าทั้งจำนวนครั้ งและจำนวนเวลา เมื่อบวกกับผู้วิจารณ์อีก 2 ท่าน เท่ากับตัวแทนฝ่าย ERS มีโอกาสพูดเสนอแนวคิดได้มากกว่า คปพ. จนผิดสังเกตว่าเป็นรายการเตี๊ ยมกันมาก่อนหรือไม่?
ดิฉันได้กล่าวกับพิธีกรหลังเสร็ จการอัดเทปว่าจัดแบบนี้ไม่เป็ นธรรม เป็นแบบ 3 รุม 1
หากจะให้สองฝ่ายที่มีแนวคิดต่ างกันมานำเสนอ ควรจะมีจำนวนคนที่เท่ากัน และมีเวลาที่เท่ากันด้วย ยิ่งกว่านั้นไม่ควรเป็นในลั กษณะการโต้วาที แต่ควรนำข้อมูล 2 ฝ่ายมาเปรียบเทียบในประเด็นเดี ยวกันเพื่อเสนอต่อสาธารณชนตามวั ตถุประสงค์สื่อสาธารณะ และวัตถุประสงค์ของรายการที่ต้ องการสื่อความจริง 2 ด้านเพื่อให้ผู้ชมได้ตัดสิ นใจเลือก จึงไม่ควรเปิดโอกาสการเตรียมข้ อมูลให้ฝ่ายหนึ่งโดยไม่บอกอีกฝ่ ายหนึ่ง พิธีกรรู้ล่วงหน้าว่าฝ่ายคุณมนู ญมีเอกสารมานำเสนอ แต่พิธีกรเพิ่งมาถามดิฉั นตอนจะเข้าสู่รายการว่ามี เอกสารประกอบไหมดิฉันจึ งหาภาพมาแสดงตามที่หาได้ ในเวลานั้น
วันรุ่งขึ้น ดิฉันโทรหาเจ้าหน้าที่ที่เชิญดิ ฉันและร้องเรียนว่ารายการนี้จั ดแบบเอียงข้างเกินไป และขอให้แก้ไขโดยอัดรายการใหม่ และให้มีผู้วิจารณ์ที่เป็นฝ่าย คปพ. มิเช่นนั้นดิฉันไม่เห็นด้วยที่ จะให้ออกอากาศเทปรายการนี้
ทางเจ้าหน้าที่จึงนำเรื่ องไปหารือกับหัวหน้ารายการกรณี ที่ดิฉันร้องเรียน
ทางสถานียินยอมจะอั ดเทปรายการใหม่โดยดิฉันเสนอคุ ณธีรชัย ภูวนาถนรานุบาลมาเป็นผู้วิจารณ์ ของฝ่าย คปพ. แต่ภายหลังทราบจากทางสถานีว่าคุ ณมนูญไม่ยอมมาอัดเทปใหม่
รองผู้อำนวยการของไทยพีบีเอสหลั งจากได้ดูเทปรายการนี้แล้ว มีความเห็นว่าสัดส่วนของผู้ร่ วมรายการขัดกับหลักความเป็ นกลางตามที่ดิฉันทักท้วงเพราะนั กวิชาการที่มาร่วมรายการสังกั ดอยู่ในกลุ่ม ERS อย่างชัดเจน ท่านจึงเสนอวิธีแก้ไขว่าจะตัดผู ้วิจารณ์ออกไป
แม้ดิฉันจะไม่เห็นด้วยกับข้ อเสนอนี้เพราะเห็นว่าควรอั ดเทปรายการใหม่โดยมีน้ำหนั กของตัวแทนสองฝ่ายเท่ากัน แต่ก็ไม่ประสงค์จะแทรกแซงสื่อซึ ่งย่อมมีสำนึกตามจรรยาบรรณวิ ชาชีพของสื่ออยู่แล้วว่าจะแก้ปั ญหานี้อย่างไร
การที่คุณมนูญออกมากล่าวหาว่าที ่ทางสถานีตัดผู้วิจารณ์ออกไป เป็นเพราะผู้อำนวยการอยู่ ในแวดวง NGO นั้น เป็นการกล่าวที่สมควรหรือไม่? เพราะประเด็นที่ควรพิจารณาก็คือ มีความเป็นธรรมหรือไม่ที่ให้ตั วแทนของกลุ่ม ERS มีมากกว่าตัวแทนของกลุ่มคปพ.ซึ่ งตรงนี้ไม่ใช่ความผิดของคุณมนู ญและผู้รับเชิญ แต่เป็นความผิดพลาดของเจ้ าของรายการเองที่ก่อให้เกิ ดความลำเอียงจะโดยตั้งใจหรือไม่ ก็ตาม ก็ต้องแก้ไขเมื่อถูกร้องเรียน
แต่แล้วคุณมนูญกลับไปยกตัวอย่ างรายการอื่นที่มีการถูกรุ มแบบรายการนี้ ว่าเมื่อไม่มีการแก้ไขรายการนั้ น รายการนี้ก็ไม่ควรต้องได้รั บการแก้ไขอย่างนั้นหรือ?
ดิฉันเชื่อว่ากรณีรายการที่ยกตั วอย่างนั้น ถ้ามีการทักท้วงจากผู้ที่ไม่ได้ รับความเป็นธรรม ดิฉันเชื่อว่าสื่อที่มี จรรยาบรรณย่อมต้องรับฟังและแก้ ไขปัญหาด้วยจิตสำนึกอิสระอย่ างแน่นอน และขอพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ในเนื้อหารายการ “สัมปทานปิโตรเลียม ได้คุ้มเสียจริงหรือ?” นั้น คุณมนูญก็ได้รับการชงให้พูดอย่ างเต็มที่มากกว่าทั้งช่วงเปิ ดประเด็น และช่วงปิดประเด็น “แบบปลายเปิด” ขนาดนี้แล้วยังไม่พอใจอีกหรือ?
การพูดแบบนี้ อาจทำให้คนเข้าใจได้ว่า ถ้าตัวเองเป็นคนได้เปรียบก็พอใจ บอกให้ประชาชนตัดสินใจเอาเอง? แต่ถ้าท่านเป็นฝ่ายถูก 3 รุม 1 ท่านจะยอมหรือไม่?
จึงไม่ควรเบี่ยงเบนประเด็นด้ วยการกล่าวหาว่า NGO ใช้อิทธิพลเข้าไปเซนเซอร์ รายการดังกล่าว เพราะคนทำงานภาคประชาสังคมตั วเล็กๆ อย่างดิฉันไม่มีอิทธิ พลอะไรนอกจากความยึดมั่นในหลั กการอันชอบธรรมและความเท่าเทียม
คนส่วนใหญ่สังคมไทยที่ไม่มี ผลประโยชน์แอบแฝงย่อมรู้ดีว่าผู ้ทรงอิทธิพลตัวจริงนั้นคือใคร ?"
"อ่านคำแถลงของไทยพีบีเอสแล้วก็ เข้าใจในความจำเป็นที่ต้องตั ดเทปในส่วนของนักวิชาการทั้ งสองท่านออกไป
แต่ผมว่าเรื่องนี้มันขึ้นอยู่กั บมุมมองว่าสื่อจะตั้งตัวเป็นผู้ ตัดสิน หรือให้ผู้ชมเป็นคนตัดสิน
การดีเบตเป็นเรื่องของการใช้ เหตุผลมาหักล้างกัน ไม่ใช่ใช้เสียงข้างมากมาตัดสิน ดังนั้นผู้ชมจะฟังว่าเหตุ ผลของใครถูกต้องน่าเชื่อถื อมากกว่ากัน
ถ้าคุณรสนามีเหตุผลที่ดีกว่า ถึงแม้อีกฝ่ายจะมีถึงสามคนก็ไม่ มีความหมาย
ยิ่งถ้าฝ่ายที่มีมากกว่าไม่มี เหตุผลที่ดีกว่า แล้วพยายามจะรุมคุณรสนาอย่างที่ คุณรสนาคิด คุณรสนาก็จะยิ่งได้รับความเห็ นใจจากผู้ชม มากกว่าที่จะพยายามไปปิดกั้ นประชาชนไม่ให้ได้รับฟังความเห็ นจากนักวิชาการทั้งสองท่าน ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่รู้เรื่องนี้ อาจคิดไปได้ว่า นักวิชาการทั้งสองท่านนั้นได้พู ดอะไรที่ทางคุณรสนาไม่อยากให้ผู ้ชมทางบ้านได้รับรู้หรือเปล่า
แต่ผมว่าเรื่องนี้มันขึ้นอยู่กั
การดีเบตเป็นเรื่องของการใช้
ถ้าคุณรสนามีเหตุผลที่ดีกว่า ถึงแม้อีกฝ่ายจะมีถึงสามคนก็ไม่
ยิ่งถ้าฝ่ายที่มีมากกว่าไม่มี
ดังนั้น บทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้คือ สื่ออย่าทำตัวเป็นผู้พิพากษาครั บ
คุณเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้ตั วเองมาตลอด แล้วคุณมีสิทธิ์อะไรมา ริดรอนสิทธิการร้บรู้ข่ าวสารและการใช้วิจารณญานของผู้ ชม!!!"
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น