Posted: 08 Jun 2016 12:12 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
8 มิ.ย. 2559 เวลา 13.30 น. ที่ศาลแพ่ง รัชดา มีนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่ องเหตุการณ์การแพร่กระจายของรั งสีโคบอลต์-60 สืบเนื่องจากเมื่อเดือนกุมภาพั นธ์ 2543 มีบุคคลเก็บเอาแท่งโคบอลต์-60 ที่ใช้ในเครื่องฉายรังสี ทางการแพทย์ที่เสื่อมสภาพและถู กทิ้งไว้ในบริเวณลานจอดรถเก่ ารกร้างนำไปขายให้ร้านรับซื้ อของเก่า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบร้ ายแรงจำนวน 12 คน
ศาลแพ่งนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎี กาคดีหมายเลขดำที่ 816/2544 หมายเลขแดงที่ 1269/2547 ระหว่าง จิตราภรณ์ เจียรอุดมทรัพย์ กับพวกรวม 12 คน โจทก์ และบริษัท กมลสุโกศล อีเล็คทริค จำกัด กับพวกรวม 5 คน จำเลย โดยคำตัดสินวันนี้ศาลพิพากษายื นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้ นและศาลอุทธรณ์ โดยคิดค่าเสี ยหายจากการกระทำละเมิดรวมเป็ นเงิน 529,276 บาท กับดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และโจทก์ที่ 4 เสถียร พันธุ์ขันธ์ ที่ฟ้องให้บุตรชายที่เสียชีวิ ตจากสาเหตุดังกล่าวนั้น ศาลไม่ให้ค่าเสียหายเนื่ องจากเคยได้รับค่าเสี ยหายจากศาลปกครองไปแล้ว
สุรชัย ตรงงาม ทนายความของโจทก์ในคดีดังกล่าว กล่าวว่า โดยสรุปศาลฎีกาวินิจฉัยการรับผิ ดของผู้ประกอบการโดยเริ่มต้ นศาลเห็นว่าการกระทำของผู้ ประกอบการเป็นการกระทำละเมิด เพียงแต่ทุนทรัพย์ที่ฎีกาไป 12,836,942 บาทนั้น ศาลฎีกามีความเห็นว่าตัวโจทก์ เคยได้รับค่าเสี ยหายจากทางศาลปกครองกลาง ในปี 2549 ไปแล้ว ซึ่งตอนนั้นได้รับไปรวมทั้ งหมดประมาณ 6 ล้านกว่าบาท และศาลฎีกาเห็นว่าที่ศาลชั้นต้ นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มค่ าเสียหายมานั้นเหมาะสมแล้ว
สุรชัย กล่าวต่อว่า ส่วนในประเด็นผู้บริหารเจ้ าของบริษัทที่ควรต้องร่วมรับผิ ดกับตัวบริษัท เพราะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ และเป็นผู้รับทราบ ประเด็นนี้ศาลไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งเป็นที่น่าเสี ยดายเพราะศาลควรให้เหตุผลอย่ างชัดแจ้งและอธิบายให้ สาธารณะชนเข้าใจ
“คดีนี้เป็นคดีแรกๆ ที่มีการฟ้องทั้ งศาลปกครองและศาลแพ่ง คือมีการฟ้องหน่วยงานรัฐ เรื่องการควบคุมดูแลไม่ดี และฟ้องต่อเอกชนซึ่งเก็บรักษาวั ตถุอันตรายไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คำตัดสินวันนี้เนื่ องจากศาลปกครองตัดสินไปก่อน ค่าเสียหายใดๆ ที่ศาลปกครองตัดสินจึงถู กนำมารวมในคดีแพ่งด้วย ซึ่งทำให้เห็นปัญหาว่า 1.ผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้จ่ายค่ าเสียหายนั้น ยังไม่รับผิดชอบจากการกระทำหรื อรับผิดชอบน้อยจนเกินไป 2.ไม่มีระบบไล่เบี้ยเอาคื นจากหน่วยงานรัฐอย่างชัดเจน ตั้งแต่ปี 2545 ที่มีการฟ้องร้ องศาลปกครองและได้ค่าชดเชยเป็ นจำนวนเงิน 6 ล้านกว่าบาท เหตุใดหน่วยงานรัฐไม่ได้มี การไปไล่เบี้ยเอาคืนจากผู้ ประกอบการ รวมถึงบรรดาค่าเสียหายและค่ารั กษาพยาบาล ซึ่งมียอดรวมถึง 7 ล้านกว่าบาท สิ่งนี้สะท้อนระบบบิดเบี้ ยวของกระบวนการการเยียวยาด้านสิ ่งแวดล้อม” สุรชัยกล่าว
สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่ งแวดล้อม (EnLAW) กล่าวว่า คดีนี้อาจเป็นคดีแรกที่เกี่ยวพั นกับเรื่องความรับผิดของบริษั ทที่เป็นผู้ละเมิดอย่างร้ ายแรงเพราะเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้ดูแลวัตถุอันตราย เนื่องจากแท่งโคบอลต์-60 เป็นวัตถุอันตราย การจัดเก็บโดยไม่ถูกต้องถือเป็ นการละเลย แต่คำพิพากษาศาลฎีกาวันนี้ ให้ผู้ประกอบการมีส่วนชดใช้ค่ าเสียหายรวม 529,276 บาท กับดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งคิดว่ายังมีปัญหาในเรื่ องการพิจารณาจ่ายค่าเสียหาย กลายเป็นว่าผู้ประกอบการชดใช้น้ อยมากและน้อยกว่าหน่วยงานรัฐ
“ความรับผิดของผู้ ประกอบการในเรื่องสิ่งแวดล้อมยั งต้องปรับปรุง ค่าเสียหายเชิงลงโทษสำหรับผู้ ประกอบการที่ประกอบกิจการที่มี อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การประมาทเลินเล่อหรื อจงใจประมาทในการจัดเก็บที่ไม่ ถูกต้อง ผลกระทบไม่ได้เดือดร้อนแค่โจทก์ เท่านั้น แต่สถานการณ์ย้อนไปเมื่อ 15 ปีก่อน โรงพยาบาลสมุทรปราการต้องเข้ าไปตรวจคนบริเวณรอบๆ ซึ่งเข้าใจว่ามีค่าใช้จ่ ายเยอะมาก แต่ไม่แน่ใจว่ากระทรวงสาธารณสุ ขและสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายคืนจากผู ้ประกอบการหรือไม่ คดีนี้เป็นบทเรียนให้เห็นว่าหน่ วยงานรัฐต้องเรียกร้องจากผู้ ประกอบการในการรับผิดชอบด้วย”สุ ภาภรณ์กล่าว
จิตรเสน จันทร์สาขา
จิตรเสน จันทร์สาขา โจทก์ที่ 9 ผู้ได้รับผลกระทบ กล่าวว่า เคารพในคำพิพากษาดังกล่าว แต่ยังมีความคิดว่าผู้ ประกอบกรไม่ได้เข้ามารับผิ ดชอบหรือเหลียวแล สิ่งที่ได้รับผลกระทบจากรังสี โคบอลต์-60 เทียบไม่ได้กับเงินชดเชยที่ได้ รับวันนี้จากผู้ประกอบการ การต่อสู้คดีมา 15 ปีนั้นแม้ในส่วนค่ารั กษาพยาบาลจะมีสวัสดิการของหน่ วยงานรัฐแต่ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ ายในการเดินทางไปโรงพยาบาล และตัวเองก็ไม่สามารถประกอบอาชี พได้ ภรรยาต้องหยุดงานเพื่อมาเฝ้าที่ โรงพยาบาลช่วงปีแรกที่บาดเจ็ บทำให้ได้รับผลกระทบอย่างมาก
“ผลกระทบจากรังสีโคบอลต์-60 ผมต้องตัดมือทั้งสองข้าง ผมได้รับเงินจากการตัดสิ นของศาลปกครอง รวมดอกเบี้ยเป็นเงิน 1.9 ล้านบาท ผู้ประกอบการให้แค่ 4 หมื่นบาท ในขณะที่รัฐบาลให้การรั กษาและให้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว” จิตรเสน กล่าว
สนธยา สระประทุม
สนธยา สระประทุม โจทก์ที่ 10 ผู้ได้รับผลกระทบ กล่าวว่า ผู้ประกอบการชดเชยน้อยกว่าที่รั ฐให้มาน้อยกว่าถึง 10 เท่า ทั้งที่ผู้ประกอบการเป็นต้นเหตุ ของปัญหา ในกรณีตัวเขานั้นหลังคำตัดสินวั นนี้ยังคงอยู่กับปัญหาสุ ขภาพมาต่อเนื่องถึง 15 ปี ซึ่งอาจจะต้องเข้ารับการผ่าตั ดในอนาคตเนื่องจากมีปัญหาเรื่ องมือข้างซ้ายและข้างขวาใช้ การไม่ได้เต็มที่ ไม่เคยรักษาหายขาด
“มือข้างซ้ายตอนนี้ที่แขนมี แผลพลุพองขึ้นมาอีกรอบหนึ่ง ในระยะเวลา 15 ปี ไม่มีภาครัฐเข้ามาหรือจะเรียกผู ้ป่วยเข้าไปตรวจโครโมโซมหรื อตรวจเลือด นอกจากผู้ป่วยมีปัญหาอะไรขึ้ นมาก็วิ่งเข้าไปหาหมอเอง ผมอยู่แถวบางนา ผมจะต้องดูว่าโครงการ 30 บาทให้ใช้บริ การในโรงพยาบาลไหนได้บ้าง โรงพยาบาลที่ใช้บริ การหมอบางคนบอกรักษาได้บางคนรั กษาไม่ได้ แม้ผมขอไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น เขาก็จะต้องตรวจว่าสามารถส่ งไปโรงพยาบาลดังกล่าวได้รึเปล่ า” สนทยากล่าว
ย้อนหลังเหตุการณ์ ‘โคบอลต์-60’ ปี 2543เหตุการณ์การแพร่กระจายของรังสีผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 12 คน ได้มอบหมายให้ วันที่ 18 มี.ค. 2547 ศาลแพ่งมีคำพิพากษาว่า บริษัทฯ กระทำละเมิดต่อผู้เสียหาย รวมเป็นเงินที่บริษัทฯ ต้องชดเชยค่าเสียหายทั้งสิ้น 640,276 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2552 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้ วันที่ 17 ธ.ค. 2552 โจทก์ได้ยื่นฎีกาคำพิพากษาศาลอุ |
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น