คุยกับ ‘ประแสง’ ทำไมถึง บอยคอต ยัน ‘พลังประชาธิปไตย’ ไม่ลงเลือกตั้งใต้ รธน.นี้
Posted: 04 Jun 2016 04:45 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ชี้โหวตโนเท่ากับการยอมรับกติ กาที่เผด็จการกำหนดเอาเองอย่ างขาดความชอบธรรม ประเมินร่างรธน.จะผ่าน เหตุทุกกลไกอยู่ในมือผู้มีอำนาจ ยิ่งกว่า ปี 50 หวังมีพรรคใหญ่ร่วมบอยคอต คสช. จะหมดความชอบธรรมทันที ยันพรรคพลังประชาธิปไตยไม่ลงเลื อกตั้งใต้ รธน.นี้ พร้อมทำงานตรวจสอบนอกสภา
ประแสง มงคลศิริ
ภายหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั ้ง (กกต.) นัดประชุมชี้แจงการออกเสี ยงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ (รธน.) โดยเชิญฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และตัวแทนพรรคการเมือง ที่สโมสรทหารบก เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งความชัดเจนอย่างหนึ่งคือ จะไม่มีการแก้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสี ยงประชามติ ที่องค์กรสิทธิและองค์ กรทางการเมืองเรียกร้องแก้ไขเพื ่อให้ประชามติมีเสรี ภาพและความเป็นธรรมในการรณรงค์ จากความชัดเจนดังกล่าว วันถัดมา (20 พ.ค.59) เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘พรรคพลังประชาธิปไตย’ ได้ขึ้นภาพ ‘บอยคอต’ เพื่อแสดงจุดยืนของพรรคต่ อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนู ญฉบับมีชัย
จากนั้นเริ่มมีการทำเสนอยืดสี ดำที่มีข้อความดังกล่าว พร้อมทั้งการการโพสต์ข้อเสนอ ‘บอยคอต’ ผ่านเพจพรรคฯ รวมทั้งสมาชิกพรรคคนสำคัญอย่าง ประแสง มงคลศิริ และ จิตรา คชเดช จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิ จารณ์ถึงความเป็นไปได้ การไปแบ่งคะแนนของฝ่ายรณรงค์ โหวตโน จนกระทั่งบางคนกล่าวหาว่าพวกที่ เสนอ ‘บอยคอต’ นั้น รับงานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. มา เพื่อแบ่งเสียงโหวตโน เป็นต้น จึงได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ประแสง แกนนำพรรคพลังประชาธิปไตย อดีต ส.ส. จ.อุทัยธานี และแกนนำ นปช. หนึ่งในผู้ที่ชูธง ‘บอยคอต’ เพื่อตอบคำถามและข้อวิจารณ์เหล่ านี้
“การไปโหวตโน มีค่าเท่ากับการยอมรับกติกาที่เผด็จการกำหนดเอาเองอย่ างขาดความชอบธรรม ย่อมจะกลายเป็นตราประทับให้กั บผลพวงต่างๆ ที่จะเกิดตามมาโดยไม่อาจปฏิ เสธได้” ประแสง กล่าว
ประชาไท : อยากให้อธิบายว่า บอยคอต นี้หมายถึงอะไร และจะดำเนินการอย่างไร?
ประแสง : เราบอยคอตการลงประชามติรั ฐธรรมนูญ ครั้งนี้เป็นลุกขึ้นประกาศไม่ศิ โรราบต่อเผด็จการ ทั้งกระบวนการและบรรดาผลพวงต่ างๆ จากการรัฐประหาร ด้วยการไม่สยบยอม และไม่ไปใช้สิทธิลงคะแนน
ทำไมถึงต้องบอบคอย ไม่โหวตโน?
เพราะ เราเห็นว่าการที่ประชาชนไม่มี โอกาสมีส่วนร่วมกับการเขียนรั ฐธรรมนูญอย่างที่ควรจะเป็น จึงได้เพียงเศษกระดาษเปื้อนหมึ กที่มีเนื้อหาเป็นรัฐธรรมนู ญของเผด็จการ การไปโหวตโน มีค่าเท่ากับการยอมรับกติกาที่ เผด็จการกำหนดเอาเองอย่ างขาดความชอบธรรม ย่อมจะกลายเป็นตราประทับให้กั บผลพวงต่างๆ ที่จะเกิดตามมาโดยไม่อาจปฏิ เสธได้ ยิ่งในภาวะปิดกั้นเสรี ภาพการแสดงความเห็น และท่าทีจะบังคับใชับทลงโทษที่ คลุมเครือต่อผู้ที่ไม่เห็ นชอบในเนื้อหา จึงเอื้อต่อกลไกการยัดเยี ยดความเห็นด้านเดียวสู่ ประชาชนจากผู้ถืออำนาจ เป็นประชามติที่ฝืนต่อหลั กการทำประชามติของสากลที่ต้ องเปิดกว้าง ฟรีและแฟร์
ทำไมเพิ่งมีการแสดงท่าทีอย่ างเป็นทางการว่าจะใช้การบอยคอต?
เหตุที่พรรคพลังประชาธิปไตยเพิ่ งมีการแสดงท่าทีอย่างเป็ นทางการนั้น เพราะเมื่อได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ประชามติออกมาแล้ว องคาพยพของฝ่ายเผด็จการก็เดิ นหน้าใช้งบประมาณทุ่ มเทการรณรงค์อย่างเต็มที่เพื่ อเป้าหมายจะได้ผู้มาใช้สิทธิถึง 80%
พรรคการเมืองใหญ่ก็โดดเข้าร่ วมอย่างคึกคัก เพราะเฝ้ารอการเลือกตั้่ง ส.ส. ที่จะตามมา โดยไม่ฉุกคิดว่ากำลังโดดเข้ าไปเล่นในเกมของฝ่ายเผด็จการ พรรคการเมืองใหญ่ไม่กล้าบอยคอต ทั้งๆ ที่รู้แก่ใจว่ารัฐธรรมนูญที่ เขาร่างกันมาไม่เป็นประชาธิ ปไตยและขาดความชอบธรรม และการบอยคอตจะนำมาซึ่งการถูกตั ดสิทธิสมัคร ส.ส. ตัวอย่างการประกาศบอยคอตการเลื อกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ในอดี ตนั้น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ยังต้องแอบย่ องไปคูหากาคะแนน เพื่อรักษาสิทธิสมัคร ส.ส. ไว้ ส่วนพรรคเพื่อไทยก็รุมด่ าประณามว่าบัดซบกันกระหึ่ม พอมาตอนนี้ แม้ร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นเผด็ จการ ท่าทีของ 2 พรรคใหญ่คงไม่กล้าเผลอริมฝี ปากประกาศบอยคอต เพราะล้วนแต่รอการเลือกตั้ง ส.ส. กันทั้งสิ้น เมือชัดเจนเช่นนั้นพรรคเราจึ งจำเป็นต้องออกมาเดินหน้ าประกาศบอยคอต ซึ่งเป็นเพียงพรรคการเมืองเดี ยวเท่านั้น
“เราต้องไม่กล่าวหาว่าใครทำเสียงแตก เพราะทุกคนเป็นเจ้าของเสี ยงตนเท่าเทียมกัน ไม่มีสัมปทานให้ใครเป็นเจ้ าของคะแนนผูกขาด” ประแสง กล่าว
มองการกล่าวหาว่าพวกชูการบอยคอต เป็นพวกทำให้เสียงไม่เอารั ฐธรรมนูญนั้นเสียงแตก หรือไปไกลจนกล่าวหาว่ารับงาน คสช มาเพื่อทำให้เสียงแตก แล้วทำให้ประชามติผ่าน?
ฝ่ายประชาธิปไตยได้ถูกชี้นำเป็ นกระแสไปก่อนโดยพรรคเพื่ อไทยโดยแถลงท่าทีไม่รับ ต่อเนื่องมานาน แม้มีนักวิชาการและนักคิดไม่กี่ ท่านที่ พยายามเสนอแนวทางบอยคอตออกมา แต่ก็ไม่มีสื่อกระแสหลักหรือสื่ อโซเชียลเน็ตเวิร์กให้ความสำคัญ พรรคใหญ่เลยเหมือนได้ครองสั มปทานไม่รับรัฐธรรมนูญของฝ่ ายประชาธิปไตยทั้งหมดไป พอเรากระตุกฝ่ายมวลชนประชาธิ ปไตยให้ฉุกคิด บางกลุ่มก็ออกอาการไม่สบายใจ เลยต้องปล่อยอาวุธทั้งหนักทั้ งเบามายับยั้งการเคลื่ อนไหวบอยคอต เราก็อดทนชี้แจงเหตุผลเรื่ องเสรีภาพในการโหวต ชี้แจงเรื่องสิทธิของประชาชนที่ จะเป็นเจ้าของคะแนนของตน ชี้แจงเรื่องการเคารพทุกสิทธิ ทั้ง Vote No, Vote Yes, Boycott, แม้ผู้ไปเขียนลงในบัตรลงคะแนนด่ าเผด็จการจนบัตรเสีย เรายังแอบเคารพเลย เราต้องไม่กล่าวหาว่าใครทำเสี ยงแตก เพราะทุกคนเป็นเจ้าของเสี ยงตนเท่าเทียมกัน ไม่มีสัมปทานให้ใครเป็นเจ้ าของคะแนนผูกขาด เราชี้แจงทุกเม็ดจริง จนมาถูกกล่าวหาถึงว่ารับงาน คสช. ก็แสดงให้เราเห็นแล้วว่า พรรคเรามาถูกทางจริงๆ
“เราเพียงหวังว่า หากประชาชนเขาไม่มาใช้สิทธิได้เกินครึ่ง ยิ่งดี พูดตรงๆ ถ้ามีพรรคใหญ่เอาแนวทางบอยคอตด้ วย เพียงพรรคเดียว มันจะไปถึง 60-65% ด้วยซ้ำ คสช. จะหมดความชอบธรรมทันทีกับทุกสิ่ ง ไม่เฉพาะร่างรัฐธรรมนูญมีชัย” ประแสง กล่าว
การบอยคอตถ้าหมายถึงการไม่ร่ วมโหวต แล้วจะนับเสียงอย่างไร รวมทั้งจะแยกจากพวกนอนหลับทับสิ ทธิอย่างไร?
เราไม่ห่วงว่าจะจำแนกแยกแยะเสี ยงบอยคอตจากยอดผู้ไม่มาใช้สิทธิ ทั้งหมดอย่างไร เราเพียงหวังว่า หากประชาชนเขาไม่มาใช้สิทธิได้ เกินครึ่ง ยิ่งดี พูดตรงๆ ถ้ามีพรรคใหญ่เอาแนวทางบอยคอตด้ วย เพียงพรรคเดียว มันจะไปถึง 60-65% ด้วยซ้ำ คสช. จะหมดความชอบธรรมทันทีกับทุกสิ่ ง ไม่เฉพาะร่างรัฐธรรมนูญมีชัย อีกอย่างเราไปใช้วาทกรรม "นอนหลับทับสิทธิ" ออกมาในความหมายเชิงลบ คือตำหนิผู้ไม่ออกมาใช้สิทธิ ผมมองว่าใครก็มีสิทธิที่จะทำเช่ นนั้นโดยชอบ จะไปตำหนิเขาทำไม เขาเลือกจะไม่ใช้สิทธิ ระบอบประชาธิปไตยนะครับ The Sound of Silence เสียงแห่งความเงียบ ไงครับ
ประเมินว่าร่าง รธน.นี้จะผ่านประชามติหรือไม่?
เราประเมินว่าร่างรธน. นี้ คงจะผ่านครับ กลไกทุกอย่างอยู่ในมือผู้มี อำนาจ เข้มข้นยิ่งกว่าตอนทำประชามติ รธน.ปี 50 ด้วยซ้ำ ครั้งนั้น คมช. บิ๊กบังสนธิ ไม่ได้ระห่ำเท่าเผด็จการชุดนี้ พรรคไทยรักไทยก็อัดฉีด ส.ส. กันเต็มที่ออกไปรณรงค์โหวตโน แต่ผลคือแพ้ยับได้มา 24% เท่านั้น ฝ่าย vote yes ชนะที่ 33% แต่ที่น่าสนใจคือผู้ไม่มาใช้สิ ทธิ 43% ซึ่งมันเป็นดัชนีชี้วัดได้ว่าสู งทีเดียว แค่ครั้งนั้นไม่มีการเสนอบอยคอต ครั้งนี้เราจะพยายามกระทุ้ งไปเรื่อยๆ ทะลุไปให้ถึง 50% ก็ไม่ใช่งานง่ายครับ ผมยอมรับ
หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน มีข้อเสนออย่างไร?
หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ซึ่งโอกาสน้อยมาก เราเสนอให้จัดการเลือกตั้งทันที โดยใช้รัฐธรรมนูญปี 40 แม้จะมีจุดอ่อนอยู่หลายจุด แต่ก็เป็นรัฐธรรมนูญยึดโยงกั บประชาชนมากที่สุด ให้พรรคการเมืองทุกพรรคได้ มาประกาศแนวทางของตนในการนำพาปร ะเทศต่อไป เจ้าของประเทศเขาจะกำหนดเองว่ าจะไปต่อกันอย่างไร พอที เผด็จการ
แต่หากหลังจากประชามตินี้ โหวตรับชนะ และ รธน. มีผลบังคับใช้ ทางพรรคจะเคลื่อนไหวอย่างไรต่ อไป?
เราเชื่อว่าโหวตรับรธน.จะชนะ และคสช.ก็จะประกาศใช้ รธน.เผด็จการเต็มสูบแน่นอน กรณีผู้มาใช้สิทธิเกิน 50% พรรคพลังประชาธิปไตยซึ่ งบอยคอตมาตั้งแต่ต้น ยังคงมีความชอบธรรมที่ จะประกาศไม่รับผลประชามติที่ไม่ ฟรี และแฟร์ขัดกับหลักสากลต่อไป ขณะที่พรรคอื่นๆ จะเข้าสู่การเลือกตั้งในกติ กาเผด็จการ จะมีการตั้งรัฐบาลสื บทอดอำนาจตามโรดแมปเผด็จการที่ ออกแบบไว้ พรรคพลังประชาธิปไตยซึ่งไม่ได้ เข้าสู่สนามเลือกตั้ง ส.ส. ก็ต้องทำหน้าที่ต่อสู้นอกสภา ตรวจสอบ เปิดโปง ความไม่ชอบธรรม ต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน พร้อมกับต้องขยายเครือข่ายสมาชิ กให้มีมากขึ้น ให้พรรคมีความเข้มแข็งเพื่อรั บมือกับระบอบเผด็จการระยะยาวต่ อไป
แต่ถ้าเราโชคดีในกรณีผู้มาใช้สิ ทธิต่ำกว่า 50% หรือต่ำได้ถึง 60%-65% ก็ย่อมจะเป็นคุณกับเรามากกว่า ตัวเลขไม่ใช้สิทธิยิ่งมากยิ่งดี มันจะสะท้อนความล้ มเหลวของอำนาจรัฐ ที่พยายามใช้อิทธิพลและทรั พยากรเพื่อทำประชามติเก๊ หากประชาชนส่วนใหญ่พร้อมใจปฏิ เสธการเข้าร่วมมากๆ แรงกดดันมันจะพุ่งไปที่เป้าใหญ่ คสช. ทันที เผด็จการจะขาดความชอบธรรมครับ เขาจะอยู่ยากแล้วละ เขาอ้างประชาชนสนับสนุนไม่ได้ แล้ว เราควรจะร่วมกันแสดงจุดยืน 1) ไม่รับการดำรงอยู่ของ คสช. ต่อไป 2) คัดค้านการใช้ รธน. เผด็จการ 3) ให้คืนอำนาจแก่เจ้าของประเทศ ใช้ รธน.40 เลือกตั้ง ส.ส.ทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังเผยแพรบทสัมภาษณ์นี้ เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ทีผ่านมา ประแสง โพสต์ขออภัยที่ให้สัมภาษณ์กั บประชาไทผิดไปจากข้อเท็จจริง กรณีระบุว่า "ฝ่ายประชาธิ ปไตยได้ถูกชี้นำเป็นกระแสไปก่ อนโดยพรรคเพื่อไทยโดยแถลงท่าที ไม่รับ.." ยันองค์กรประชาธิปไตยลุกขึ้ นมาต่อต้านก่อนพรรคการเมืองเสี ยด้วยซ้ำ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น