เรียนรู้จากปัญหา ‘ธรรมกาย’ ผ่านมุมมองประเวศ วะสี
Posted: 17 Jun 2016 12:39 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เมื่อเร็วๆนี้ คุณหมอประเวศ วะสี แสดงความเห็นต่อปัญหาธรรมกายว่า
“วิกฤติธรรมกาย”...เป็นวิกฤติชาวพุทธไทย ไม่ใช่วิกฤติพุทธศาสนา เพราะพุทธศาสนาหมายถึง คำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุ ทธเจ้า ชาวพุทธไทยวิกฤติมากกว่าธรรมกาย และเพราะชาวพุทธไทยวิกฤติจึงเกิ ดวิกฤติธรรมกาย ...วิกฤติชาวพุทธไทยเกิ ดจากความไม่เข้าใจหลักพุทธธรรม และปฏิบัติตามหลักพุทธธรรม ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนต่ างๆนานา...”
นอกจากนี้ คุณหมอประเวศยังพูดถึงปัญหาเชิ งโครงสร้างว่า “ในประเทศไทย โดยประวัติศาสตร์รัฐเข้ามาควบคุ มคณะสงฆ์ จัดการปกครองคณะสงฆ์ แบบระบบราชการ พระสงฆ์จึงเข้าไปเกี่ยวข้องกั บอำนาจ ลาภ ยศ สักการะ มีเสนาสนะโออ่าบริบูรณ์ด้วยเครื ่องอุปโภคบริโภคแบบวัตถุนิยม และสะสมเงินทองจนร่ำรวยก็มี”
ส่วนปัญหาธรรมกายคุ ณหมอประเวศมองว่า “ต้องแยกระหว่างผู้มีศรัทธาในวั ดพระธรรมกายที่มาปฏิบัติธรรมนั่ งสมาธิ กับผู้มีอำนาจกำหนดทิ ศทางของธรรมกาย...ผู้มาปฏิบัติ ธรรมก็คงไม่รู้อีโหน่อีเหน่ โดยเห็นว่ามาปฏิบัติสมาธิ ภาวนาก็เป็นของดี แต่ที่เกิดเรื่องใหญ่ขึ้นก็ เพราะทิศทางของธรรมกายเป็นทิ ศทางแห่งอำนาจและเงิน ซึ่งไม่ต่างจากแนวคิ ดแนวทางของมหาอำนาจ” (คลิ้ก )
สรุปว่าวิกฤตธรรมกาย เกิดจาก
(1) วิกฤตชาวพุทธที่ไม่เข้าใจหลักพุ ทธธรรมและปฏิบัติตามหลักพุ ทธธรรม ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนต่ างๆนานา
(2) โครงสร้างการปกครองสงฆ์ แบบราชการที่ขึ้นต่อการควบคุ มของอำนาจรัฐ และ
(3) ทิศทางของธรรมกายที่เป็นทิ ศทางของอำนาจและเงิน
ทางออกที่คุณหมอประเวศเสนอ คือการกลับไปหาคำสอนที่ถูกต้ องของพุทธศาสนา “ชาวพุทธไทย ทั้งพระและฆราวาสทั้ งสาวกของธรรมกายหรือมิใช่ ในยามวิกฤติธรรมกายและวิกฤติโลก ถือเป็นโอกาสที่จะทำความเข้ าใจหลักพุทธธรรมที่แท้และปฏิปทา เพื่อปูไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่ างสันติ”
แต่สิ่งที่คุณหมอประเวศไม่ได้ อธิบายก็คือ ชาวพุทธจะกลับไปหาคำสอนที่แท้ โดยทำให้วัดกว่า 30,000 วัดทั่วประเทศ เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างบุ รณาการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ งได้อย่างไร ถ้าพุทธศาสนายังอยู่ภายใต้ การควบคุมของรัฐผ่ านกลไกอำนาจคณะสงฆ์แบบราชการ ซึ่งคุณหมอมองว่ามีลักษณะขัดแย้ งกับหลักพุทธธรรมที่ถูกต้อง
คุณหมอประเวศพูดมาตลอดเรื่องปั ญหาของแนวทาง “อำนาจ” กับ “เงิน” พูดถึงความไม่เป็นธรรมอันเนื่ องมากจาความเหลื่อมล้ ำทางอำนาจและเศรษฐกิจ เสนอเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้ องถิ่นถึงระดับชุมชน หมู่บ้าน แต่คำถามคือ ข้อเสนอเหล่านี้อยู่บนพื้ นฐานของการยืนยัน “วิถีทางประชาธิปไตย” อย่างคงเส้นคงวาหรือไม่ ถ้าคุณหมอประเวศยืนยันการพ้ นจากแนวทางที่ยึดเงินกับอำนาจ ไปสู่การกระจายอำนาจ ลดความเหลื่อมล้ำบนวิถี ทางประชาธิปไตย ทำไมคุณหมอจึงไม่เคยวิพากษ์ “อำนาจนอกระบบเลือกตั้ง” ที่ทำลายวิถีทางประชาธิปไตย ขณะที่วิพากษ์อำนาจทุนและนั กการเมืองมาอย่างยาวนานทั้งๆที่ อำนาจทุนและนักการเมืองแม้ จะเลวร้ายอย่างไร ก็ยังถูกกำกับตรวจสอบได้ภายใต้ ระบบประชาธิปไตย แต่อำนาจนอกระบบเลือกตั้งที่เกี ่ยวข้องกับทุนมหาศาลเช่นกัน เป็นอุ ปสรรคของการกระจายอำนาจโดยตรง และไม่สามารถกำกับตรวจสอบได้ ตามระบบประชาธิปไตย แต่คุณหมอประเวศกลับไม่วิพากษ์ อย่างตรงไปตรงมาเลย
วิกฤตการเมืองและศาสนาที่ เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้ เราเผชิญอยู่ภายใต้ “กติกา” ทางสังคมแบบไหนกัน คือกติกาที่ “ถ้าฝ่าย ก.ทำผิดกฎหมายและหลักการประชาธิ ปไตยแปลว่าผิด แต่ฝ่าย ข.ทำผิดกฎหมายและหลักการประชาธิ ปไตยเพื่อจัดการกับฝ่าย ก.แปลว่าจำเป็น” ใช่หรือไม่ ภายใต้กติกาแบบนี้ศีลธรรมพุ ทธศาสนาแบบที่คุ ณหมอประเวศชอบนำมาอ้างและกลุ่ มชาวพุทธอื่นๆชอบนำมามาอ้ างทำหน้าที่ให้ความชอบธรรมกับฝ่ าย ข. ใช่หรือไม่
พูดตรงๆคือบรรดาชาวพุทธที่ แสดงออกว่าพวกตัวเองเป็น “พุทธแท้” ปกป้องธรรมวินัยที่ถูกต้อง เคร่งครัดปฏิบัติตามหลักพุ ทธธรรมที่ถูกต้อง ต่างเสนอและสนับสนุน “ความจำเป็น” ในการใช้อำนาจที่ไม่เป็นประชาธิ ปไตยจัดการกับนักการเมือง พรรคการเมือง ประชาชน กลุ่มศาสนาที่พวกตนกล่าวหาว่าผิ ดกฎหมาย ผิดหลักการประชาธิปไตย และกลุ่มศาสนาอย่างธรรมกายที่ พวกตนกล่าวหาว่าเป็น “สัทธรรมปฏิรูป” สอนและปฏิบัติผิดเพี้ยนใช่หรื อไม่
ถ้ายึดหลักการประชาธิปไตยและสิ ทธิมนุษย์ชนอย่างคงเส้นคงวา ใครหรือฝ่ายไหนก็ตามที่ถูกกล่ าวหาว่าทำผิดกฎหมาย เขาย่อมมี “สิทธิ” ที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติ ธรรมที่เป็นกลางภายใต้ ระบบประชาธิปไตย การปกป้องระบบประชาธิปไตยจึงไม่ ใช่การเข้าข้างหรือเอื้ อประโยชน์แก่ฝ่ายที่ถูกกล่ าวหาว่าเลว แต่เป็นการปกป้อง “กติกาที่ free and fair” สำหรับ “ทุกคน” ให้คงอยู่
แต่บรรดาปัญญาชนชาวพุทธ และกระบวนการอ้างพุทธศาสนาเคลื่ อนไหวทางการเมืองเพื่อเอาผิดนั กการเมืองและเอาผิดธรรมกาย มีใครบ้างไหมที่ยืนยันให้ใช้ “กติกาที่ free and fair” ภายใต้ระบบประชาธิปไตยในการจั ดการกับฝ่ายที่พวกตนกล่าวหาว่ าผิด เปล่าเลย มีแต่การอ้างพุทธศาสนาและศี ลธรรมสนับสนุนอำนาจที่ไม่เป็ นประชาธิปไตยจัดการกับคนอื่น และคนเหล่านี้ก็มักจะอ้างเช่นนี ้ในนามของพุทธแท้ หรือในนามชาวพุทธที่ปฏิบัติ ตามและปกป้องคำสอนที่ถูกต้อง (เช่น สมณะโพธิรักษ์เคยเสนอให้ใช้ ม.44 จัดการกับข้อกล่าวหาเรื่องอาบั ติปาราชิกของพระธัมมชโย เป็นต้น)
แปลว่า การอ้างศีลธรรมพุ ทธศาสนาในการแก้ปัญหาทางการเมื อง และการอ้างเรื่องปกป้องธรรมวินั ยที่บริสุทธิ์ถูกต้องในการแก้ปั ญหาทางพุทธศาสนา ไม่จำเป็นต้องเคารพหลั กการประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุ ษยชนเลยก็ได้ แต่จำเป็นต้องพึ่งพาอำนาจที่ไม่ เป็นประชาธิปไตย ปรากฏการณ์ที่พุทธบริสุทธิ์ พุทธแท้ไปกันได้ดีกับเผด็จการที ่เห็นชัดแจ้งเช่นนี้ คุณหมอประเวศกลับไม่เคยมองว่ าเป็น “วิกฤติ” แต่อย่างใด
ฉะนั้น สิ่งที่เราเรียนรู้จากปั ญหาธรรมกายผ่านมุมมองแบบคุ ณหมอประเวศ ก็คือ ได้เรียนรู้ว่าการอ้างคำสอนที่ แท้ การกลับไปหาพุทธธรรมที่แท้ จะแก้ปัญหาทางการเมื องและศาสนาได้โดยไม่จำเป็นต้ องยืนยันการเดินตามหลั กการและกติกาประชาธิปไตยอย่ างคงเส้นคงวา ซึ่งมองไม่เห็น “แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม” ว่าจะเป็นไปได้อย่างไร
นึกถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิ ปไตยแบบ “เพนกวิน” (พริษฐ์ ชิวารักษ์) เด็กมัธยมปลายที่เสนอให้รัฐรั บรองสิทธิการเรียนฟรี 15 ปี ในรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อรัฐใช้ ม.44 ให้เรียนฟรี 15 ปี เขาก็ยังออกมาคัดค้าน ซึ่งแปลว่า ถ้าเราต่อสู้เพื่อประชาธิ ปไตยจริงๆ เราต้องยืนยัน “วิถีที่ชอบธรรมตามระบบประชาธิ ปไตยเท่านั้น” ต้องปฏิเสธ “วิถีที่ผิด” เสมอไป แม้ว่าวิถีเช่นนั้ นอาจจะแสดงออกว่าทำให้ข้อเรี ยกร้องของเราบรรลุผลก็ตาม
ผมคิดว่าวิกฤตชาวพุทธไทย เกิดจากการอ้างพุทธศาสนาสนับสนุ นวิถีที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เราจะออกจากวิกฤตนี้ได้ เมื่อปัญญาชนชาวพุทธ และนักปกป้องพุทธศาสนามีพั ฒนาการทางความคิดถึงระดับที่ สามารถอ้างศีลธรรมพุทธศาสนาอย่ างเคารพหลักการประชาธิปไตยและสิ ทธิมนุษย์ชนได้อย่างคงเส้ นคงวาแบบเพนกวินแล้วเท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น