ชี้ผล 'ฟ้องหมิ่นประมาท' ไม่ใช่แค่เซ็นเซอร์ตัวเอง แต่เซ็นเซอร์การรับรู้สาธารณะด้ วย
Posted: 17 Jun 2016 04:09 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ถกการฟ้องหมิ่นประมาท นักวิชาการกฎหมายชี้ภาครัฐใช้ กฎหมายสกั ดประชาชนตรวจสอบการทำงานสาธารณะ แนะพิจารณาความผิดโดยคำนึงถึ งประเด็นสาธารณะ นักสิทธิถามความผิดในโลกออนไลน์ สิ้นสุดตรงไหน เผยหลายคดีเกิดนานแล้ว-ถูกดำเนิ นคดีก่อนประกาศ คสช. ยังต้องขึ้นศาลทหาร นักวิชาการสื่อระบุผลจากการฟ้ องหมิ่นประมาท ไม่ใช่แค่ทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ ตัวเอง ยังส่งผลเซ็นเซอร์สาธารณะด้วย
16 มิ.ย. 2559 สถาบันวิจัยเพื่อการพั ฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และสํานักงานกองทุนสนับสนุ นการวิจัย (สกว.) จัดเสวนา“การฟ้องหมิ่นประมาท: จุดสมดุลระหว่างประโยชน์ส่วนตั วและประโยชน์ส่วนรวม” ที่ ห้องซาลอน A โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด รัชดาฯ
มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รั ปชัน (ประเทศไทย) กล่าวเปิดการเสวนาว่า ปัจจุบัน องค์กรอิสระซึ่งทำหน้าที่ ตรวจสอบการทำงานของภาครัฐที่มี อยู่ยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบกั บปัญหาและช่องโหว่ที่ปรากฏ จึงจำเป็นต้องเปิดให้ภาคประชาชน องค์กรภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนได้ร่วมกั นตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและผู ้ใช้อำนาจรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของพลเมื องดีเช่นเดียวกัน
มานะ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่ าการทำงานในการตรวจสอบรัฐ ทั้งเรื่องทุจริต สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน หรือสาธารณสุขเหล่านี้ล้วนมี ความเสี่ยง อาจถูกข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย ดำเนินคดีโดยเฉพาะฟ้องหมิ่ นประมาท ในแต่ละปีจะมีองค์กรภาคประชาชน ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชนถูกฟ้ องร้องจากการเปิดโปงและวิพากษ์ วิจารณ์การทำงานของผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการระดับสูง หน่วยงานรัฐและเอกชนที่ได้รับสั มปทานจากรัฐ ซึ่งทำให้มีภาระในการดำเนินคดี และความกังวลใจแก่ผู้ถูกฟ้องร้ องจนเป็นตัวอย่าง ทำให้เกิดความระแวงและไม่กล้ าทำหน้าที่ ในการตรวจสอบการทำงานของภาครั ฐอีก
บรรยากาศเสวนา “การฟ้องหมิ่นประมาท: จุดสมดุลระหว่างประโยชน์ส่วนตั วและประโยชน์ส่วนรวม”
ช่วงแรก เป็นการนำเสนอกรณีศึ กษาและกรอบแนวคิด มีวิทยากรประกอบด้วย อานนท์ ชวาลาวัณย์ ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ iLaw ปกป้อง ศรีสนิท คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน คณะนิติศาสตร์ ม.หอการค้าไทย
บรรยากาศเสวนา “การฟ้องหมิ่นประมาท: จุดสมดุลระหว่างประโยชน์ส่วนตั
ช่วงแรก เป็นการนำเสนอกรณีศึ
ตั้งคำถาม ความผิด 'ออนไลน์' สิ้นสุดตรงไหน
อานนท์ ชวาลาวัณย์ ศูนย์ข้อมู ลกฎหมายและคดีเสรีภาพ iLaw กล่าวในหัวข้อกรณีการฟ้ องหมิ่นประมาทผู้วิจารณ์ นโยบายและการทำงานของรัฐว่า เสรีภาพในการแสดงออกมีอยู่จริง รัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับก็เขียนไว้ อย่างนั้น แต่การใช้เสรีภาพของเราก็ อาจไปกระทบเสรีภาพของคนอื่นได้ เช่นกัน จึงมีการออกแบบกฎหมายหมิ่ นประมาทขึ้น ถ้าสมมติว่าเราใช้เสรี ภาพของตนเองเกินขอบเขตแล้วมีผู้ ได้รับความเสียหาย เขาก็มีสิทธิที่จะปกป้องสิทธิ ของตนเองตามกฎหมายด้วยการฟ้องร้ องดำเนินคดี โดยบางประเทศความผิดฐานหมิ่ นประมาทไม่ใช่ความผิดทางอาญา ไม่ใช่คดีเชิงยุทธศาสตร์แต่เป็ นคดีที่จะแสดงว่ามีสิทธิที่จะฟ้ องร้อง จึงเห็นได้ว่าการแสดงออกมี ราคาที่ต้องจ่าย เราอาจจะถูกลงโทษ มีค่าปรับที่อาจต้องจ่าย หรือค่าทนายที่ต้องเสีย
อานนท์ ชี้ว่า ที่ผ่านมา การฟ้องหมิ่นประมาทมักจะพ่วงกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิ
อานนท์ กล่าวต่อว่า คดีหมิ่นประมาทมีการฝากขั
“สมมติว่าพอเราถูกฟ้องร้องดำเนิ
ตอนหนึ่ง อานนท์ ยกตัวอย่างสิ่งที่น่าสนใจในคดี
อานนท์ ตั้งคำถามทิ้งท้ายว่า สมมติเราโพสต์อะไรสักอย่
ชี้รัฐฟ้องหมิ่นประมาทประชาชน เพื่อ “ปิดปาก” เลี่ยงการตรวจสอบ
ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ กล่าวในหัวข้อ กรอบแนวคิดของกฎหมายป้องกั นการฟ้องหมิ่นประมาทเพื่อ “ปิดปาก” (Anti-SLAPP Law) ว่า ในต่างประเทศ การดำเนินคดีเพื่อยับยั้งการมี ส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ (SLAPP) เป็นการดำเนินคดีเพื่อยับยั้ งการแสดงออกซึ่งความคิดหรื อการโต้เถียงโดยมีจุดมุ่ งหมายเพื่อต่อสู้กับบุคคลที่ แสดงความคิดเห็นกับรัฐบาลในเรื่ องประโยชน์สาธารณะ ซึ่ง SLAPP ถูกนำมาใช้เพื่อปิดปากหรือข่มขู ่การวิพากษ์วิจารณ์โดยการบังคั บให้คนที่พูดหรือแสดงความคิดเห็ นในเรื่องสาธารณะ ต้องใช้เงินมหาศาลในการต่อสู้กั บข้อกล่าวหา หรือผู้ดำเนินคดีไม่มีเจตนาที่ จะฟ้องร้องอย่างยุติธรรมแต่ ดำเนินคดีเพื่อจะข่มขู่คนที่ไม่ เห็นด้วยกับตนหรือกิจการที่ ตนทำอยู่ ทำให้ผู้ใช้เสรี ภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดจะต้ องเสียค่าใช้จ่ ายจำนวนมากในการดำเนินคดี แต่ไทยมี SLAPP ในทางอาญา ถูกใช้โดยบริษัทใหญ่และเจ้าหน้ าที่รัฐ ก็คือ นักการเมือง ดำเนินคดีเพื่อยับยั้งการมีส่ วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ เพราะเห็นว่าเป็นเครื่องมือที่ มีประสิทธิภาพ เพราะต้องใช้เวลาในการต่อสู้ ใช้เงินจำนวนมาก ทำให้คนที่แสดงออกถอนใจ ยุติคดี เจรจา ถอนฟ้อง แก้ข่าวไปเองและการติดตาม ตรวจสอบก็จะยุติลง การคอร์รัปชันก็จะมีมากขึ้น ถ้าปล่อย SLAPP เกิดขึ้นจำนวนมาก ในที่สุดจะขัดขวางคุณค่าที่สำคั ญ คือ คุณค่าของการสนับสนุนคุ้ มครองและเปิดโอกาสให้มี การแสดงออกในเรื่องสาธารณะเพื่ อทำให้กิจการสาธารณะเกิ ดความโปร่งใส
ส่วนกฎหมาย Anti-SLAPP ของรัฐแคลิฟอร์เนีย อเมริกาไม่ได้ห้ามโจทก์ฟ้องคดี เพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมในกิ จกรรมสาธารณะ แต่กฎหมายได้กำหนดมาตรฐานพิ เศษเพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ สาธารณะ (special motion to strike) คือ เปิดช่องให้จำเลยขอยุติการดำเนิ นคดีอย่างรวดเร็ วและกำหนดภาระให้โจทก์ต้องจ่ ายค่าใช้จ่ายและค่าทนายให้กั บจำเลย
ส่วนกฎหมาย Anti-SLAPP ของรัฐแคลิฟอร์เนีย อเมริกาไม่ได้ห้ามโจทก์ฟ้องคดี
สำหรับการใช้เสรีภาพซึ่ งการแสดงออกแล้ วไปกระทบความสงบเรียบร้ อยของประชาชนในไทยนั้นเป็นทั้ งความผิดแพ่งและอาญา เป็นเรื่องแปลกมากที่การพูดไม่ จริงซึ่งเป็นความผิดทางแพ่งต้ องชดใช้สินไหมทดแทนไม่ว่ าจะประมาทหรือจงใจ แต่ความผิดทางอาญาดูเพียงเจตนา และมีทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 หมิ่นประมาทธรรมดา มาตรา 328 หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา มาตรา 329 หมิ่นประมาทที่มีมิติทางสาธารณะ ซึ่งน่าจะเอามาแก้ปัญหาการฟ้ องคดีเพื่อปิดปากการมีส่วนร่ วมในกิจกรรมสาธารณะ (SLAPP) ได้ โดย มาตรา 329 (3) เป็นข้อยกเว้นของความผิดหมิ่ นประมาทโดยระบุว่า ผู้ใดก็ตามได้ติชมด้วยความเป็ นธรรมซึ่งเป็นบุคคลหรือสิ่งใดอั นเป็นวิสัยของประชาชนย่อมทำได้
แนะพิจารณาความผิดหมิ่ นประมาทให้คำนึงถึงประเด็ นสาธารณะ
“ถ้าเราให้เขาพูด ให้เขาวิพากษ์วิจารณ์ และให้เขาเปิดโปงการทำทุจริ ตในภาครัฐต่อไป มันจะเป็นเครื่องป้องกันคอร์รั ปชันได้ดีที่สุด ตรงกันข้ามถ้าเราบอกว่ าการแสดงออกในเสรีภาพซึ่งความคิ ดไม่ว่าจะเป็นเรื่องสาธารณะเรื่ องส่วนตัว จะไปละเมิดชื่อเสียงเกียรติ ยศคนอื่นไม่ได้ ติดคุกหมด ประโยชน์สังคมจะลดลง จะไม่มีใครกล้ าออกมาตรวจสอบในวงราชการ” ปกป้อง กล่าวและเสนอ 2 ประเด็น คือ
1.เพิ่มข้อความต่อไปนี้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 “ผู้ใดกล่าวข้อความแสดงความคิ ดเห็นหรือไขข่าวแพร่หลายโดยสุ จริตในกิจการสาธารณะ ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทน”
2.เมื่อบุคคลใดถูกดำเนินคดีแพ่ง เพราะเหตุ SLAPP ให้ยื่นคำขอต่อศาลวินิจฉัยชี้ ขาดในประเด็นกฎหมายเบื้องต้ นตามประมวลกฎหมายวิธีพิ จารณาความแห่งมาตรา 25 โดยไม่ต้องพิจารณาสืบพยาน เพื่อให้คดีเสร็จสิ้ นไปจากศาลโดยไม่เนิ่นช้า
ปกป้องทิ้งท้ายว่าไม่ต้องถึงขั้ นแก้กฎหมายในทางอาญา เพียงแค่ตั้งประเด็นว่าคดีหมิ่ นประมาททั้งหลายที่เอกชนฟ้ องเอกชนนั้น เป็นประโยชน์สาธารณะหรือไม่
1.เพิ่มข้อความต่อไปนี้
2.เมื่อบุคคลใดถูกดำเนินคดีแพ่ง เพราะเหตุ SLAPP ให้ยื่นคำขอต่อศาลวินิจฉัยชี้
ปกป้องทิ้งท้ายว่าไม่ต้องถึงขั้
จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.หอการค้าไทย กล่าวถึงกรอบแนวคิดการฟ้องหมิ่ นประมาทและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ โดยชี้ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิ ดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 มีต้นแบบจาก Convention on Cybercrime ของ Council of Europe ที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่แบบที่วางไว้ ว่าจะกำหนดให้ประเทศสมาชิกที่ ลงนามและให้สัตยาบั นกำหนดกฎหมายภายในว่าจะมีความผิ ดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แม้ไทยเองจะไม่ได้เป็นสมาชิกแต่ มีการไปดึงกรอบแนวคิดนี้มาปรั บใช้ จนได้เป็น พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิ ดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 14
“เวลามีอะไรเกิดขึ้นบนคอมพิ วเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต คนส่วนใหญ่มักจะดู พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก่อน แม้กระทั่งเรื่องเครื่ องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ก็ตาม ทั้งที่มีกฎหมายเดิมของเครื่ องหมายการค้า พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์อยู่แล้ว และเมื่อมาดู พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้เริ่มต้ นจากกฎหมายอาญามาตรา 326 (หมิ่นประมาท) ทำให้มีความพยายามจะตีความ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 14 (1) ให้ไปถึงกรณีหมิ่นประมาทด้วย” จอมพลกล่าว
จอมพล กล่าวต่อว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาทมีชั ดเจนอยู่แล้วทั้ งในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ 328 รวมถึงข้อยกเว้น ซึ่งเป็นคดียอมความได้ แต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิ ดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 14 (1) เป็นคดีที่ยอมความไม่ได้ ซึ่งเกิดจากการดึงกรอบแนวคิ ดของต่างประเทศเรื่ องอาชญากรรมไซเบอร์มาใช้ ทำให้สุดท้ายกลายเป็นบทบัญญัติ ที่คลุมเครือ
“เวลามีอะไรเกิดขึ้นบนคอมพิ
จอมพล กล่าวต่อว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาทมีชั
ชี้ผล 'ฟ้องหมิ่นประมาท' ไม่ใช่แค่เซ็นเซอร์ตัวเอง แต่เซ็นเซอร์การรับรู้สาธารณะด้ วย
ช่วงที่ 2 เป็นการเสวนาเรื่อง การฟ้องหมิ่นประมาท: จุดสมดุลระหว่างประโยชน์ส่วนตั วและ ประโยชน์ส่วนรวม โดยวิทยากรประกอบด้วย สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา รสนา โตสิตระกูล เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลั งงานไทย ไพโรจน์ พลเพชร สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และ พิรงรอง รามสูต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุภิญญา เล่าถึงประสบการณ์ต่อสู้คดีหมิ่ นประมาทของตนเองว่า ต้องมีการพิสูจน์ตัวเองค่อนข้ างมาก เพราะศาลต้องการพิสูจน์เจตนาแล้ วดูว่าเป็นประเด็นสาธารณะหรื อไม่ ไม่ได้ดูหรือโต้เถียงกันว่าถู กหรือผิด เหมือนกับว่าเมื่อถูกฟ้องต้ องลงทุนมหาศาลในการพิสูจน์ว่ าตนเองไม่ได้มีผลประโยชน์ ไม่ได้ขัดแย้งกับผู้ฟ้อง และประวัติชีวิตไม่ได้มีปัญหา
สุภิญญาตั้งคำถามว่า หลังแสดงเสรีภาพในการแสดงความคิ ดเห็นต้องพิสูจน์ทั้งชีวิ ตขนาดนี้เลยหรือ ทั้งที่สิ่งที่พูดเป็นประเด็ นสาธารณะ ราคาที่ต้องเสียมากไปหรือไม่กั บการตั้งคำถามต่อบุ คคลสาธารณะหรือองค์กรที่อาจจะมี ผลกระทบต่อสังคม
“ท้ายที่สุดแล้วต้องตัดสินใจว่ าจะพูดหรือไม่พูด เมื่อพูดแน่นอนว่ามีผลตามมา แต่ถ้าชั่งน้ำหนักแล้วเป็นเรื่ องที่สำคัญในงานของเราและสั งคมควรจะรู้ก็พูด แต่แน่นอนว่าเรารอบคอบมากขึ้ นในเรื่องของการใช้คำ หรือไม่ใช้ถ้อยคำที่ล่ อแหลมมากเกินไปแต่ยังคงสาระสำคั ญอยู่” สุภิญญากล่าวทิ้งท้าย
ประสงค์ กล่าวว่า ส่วนใหญ่คดีที่ตนเองถูกฟ้องหมิ่ นประมาทมาไม่ถึงขั้นไต่สวน เพราะมักมีการเจรจาหรือถอนฟ้ องกันก่อนโดยเฉพาะในคดีใหญ่ และถ้าจะอยู่ในวงการสื่ อสารมวลชน ต้องรับสภาพแบบนี้ต่อไป ส่วนตัวแม้เคยถูกฟ้องเป็นหมื่ นล้าน แต่คิดว่าวิธีการคำนวณความเสี ยหายของศาลค่อนข้างโบราณ การลงโทษของระบบกฎหมายไทยไม่จ่ ายตามจริง ฟ้องสูงไว้เป็นแค่จิตวิ ทยาและทำให้คู่ต่อสู้ได้เปรี ยบเสียด้วยซ้ำ
“ผมรู้ดีอยู่แล้วว่าทำอาชีพนี้ ก็อาจมีสิทธิถูกฟ้อง แต่จริงๆ ตั้งแต่สมัยก่อนถึงปัจจุบัน สื่อมวลชนคุกคามด้วยเหตุอื่น ดังนั้นวิธีฟ้องหมิ่นประมาทดี กว่าที่จะมาทุบ มาอุ้ม ให้โอกาสเราได้สู้ในที่สว่าง ในทางเลือกที่จำกัดการฟ้องยังดี กว่าในกรณีอื่นๆ” ประสงค์ กล่าว
รสนา กล่าวว่า การเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องต่ างๆ แล้วถูกฟ้องหมิ่นประมาท ถือว่าเป็นการทดลองกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นกลไกและเครื่องมือของรั ฐ ว่ามีจุดอ่อนและจะใช้กันต่ อไปอย่างไร โดยอีกด้านหนึ่งคิดว่ากฎหมายเป็ นทรัพยากรของบ้านเมืองที่ทุ กคนจะต้องมีโอกาสได้ใช้ แต่ส่วนใหญ่ถูกใช้โดยฝ่ายบริหาร
ประเด็นที่น่าสนใจคือการที่ผู้ มีอำนาจรัฐต้องการจะสกั ดประชาชนที่ตรวจสอบอำนาจนั้นทั้ งนี้ ไม่ได้มีแค่การฟ้องหมิ่ นประมาทแต่ยังมีอีกหลายวิธีที่ พยายามทำลายความน่าเชื่อถื อของประชาชน พร้อมชี้ว่าขณะที่ประชาชนใช้เงิ นของตัวเองในการต่อสู้คดี แต่หน่วยงานภาครัฐใช้ งบประมาณของแผ่นดินมาฟ้ องประชาชน นี่เป็นการต่อสู้ที่ไม่เท่าเที ยมกัน
ไพโรจน์ กล่าวว่า ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 งานประโยชน์สาธารณะไม่ได้เป็ นของราชการอย่างเดียวอีกต่อไป จึงเกิดการฟ้องหมิ่นประมาทปิ ดปากเพื่อจะสกั ดการตรวจสอบงานสาธารณะ และส่วนใหญ่ผู้มีอำนาจที่ ทำงานสาธารณะเป็นผู้ฟ้อง ดังนั้นเราต้องเชื่อมให้ได้ว่ าบุคคลสาธารณะกับงานสาธารณะเป็ นเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบาย
“หลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิ ปไตยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่ วนร่วม ถ้าไม่ยอมให้ ประชาชนตรวจสอบประเด็นสาธารณะก็ เท่ากับว่าไม่ใช่ประชาธิปไตย และถ้าใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มันรุนแรงกว่า ยอมความก็ไม่ได้ แล้วเมื่อบุคคลสาธารณะหรื องานสาธารณะถูกตรวจสอบก็จะใช้ เครื่องมือทางกฎหมายนี้ให้อีกฝ่ ายเกิดความกลัวทั่วไป ยิ่งในบรรยากาศไม่ปกติอย่างนี้ ยิ่งกลัวเข้าไปใหญ่” ไพโรจน์กล่าว
พิรงรอง กล่าวว่า แม้เราจะมองว่าสื่อออนไลน์เปิ ดกว้างทำให้ประชาชนมีส่วนร่ วมในการตรวจสอบสาธารณะมากขึ้น แต่การฟ้องหมิ่นประมาทก็ยังเป็ นภาวะคุกคาม งานวิจัยชิ้นหนึ่งมีการไปสั มภาษณ์ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเนื้อหา จำนวน 12 รายพบว่ามีการเซ็นเซอร์ถึงร้ อยละ 80-90 ดังนั้น เมื่อมีกฎหมายหมิ่นประมาทไม่ใช่ แค่การเซ็นเซอร์ตัวเองแต่เป็ นการเซ็นเซอร์สาธารณะด้วย เพราะจะก่อเป็นต้นทุนที่องค์ กรต้องจ่ายและส่งผลกระทบต่ อบทบาทของสังคม
สุภิญญาตั้งคำถามว่า หลังแสดงเสรีภาพในการแสดงความคิ
“ท้ายที่สุดแล้วต้องตัดสินใจว่
ประสงค์ กล่าวว่า ส่วนใหญ่คดีที่ตนเองถูกฟ้องหมิ่
“ผมรู้ดีอยู่แล้วว่าทำอาชีพนี้
รสนา กล่าวว่า การเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องต่
ประเด็นที่น่าสนใจคือการที่ผู้
ไพโรจน์ กล่าวว่า ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 งานประโยชน์สาธารณะไม่ได้เป็
“หลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิ
พิรงรอง กล่าวว่า แม้เราจะมองว่าสื่อออนไลน์เปิ
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น