จตุพรตอบเรื่องศูนย์ ปราบโกงประชามติ: จนท.ยึดได้แค่ป้าย-แต่ไม่อาจยึ ดหัวใจประชาชน
Posted: 17 Jun 2016 03:48 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
สัมภาษณ์จตุพร พรหมพันธุ์ ยืนยัน ‘ศูนย์ปราบโกงประชามติ’ จะเปิดเต็มพื้นที่ครบทุกจังหวัด หวังเป็นสื่อกลางให้ประชาชนสื่ อสารถึงผู้ถืออำนาจรัฐหากเกิ ดเหตุตุกติกช่วงประชามติ หวังคนรับ-ไม่รับรัฐธรรมนูญมีพื ้นที่รณรงค์เสมอภาค เจ้าหน้าที่อยากปลดป้ายเชิ ญเพราะไม่ใช่สาระสำคัญ ชูคำขวัญประชามติต้อง ‘ไม่ล้ม ไม่โกง ไม่อายพม่า’ เผยชื่นชมประชาชนพม่าแม้อยู่ใต้ เผด็จการ 50 ปี แต่เมื่อมีโอกาสก็เข้าคูหาเปลี่ ยนพม่าให้เป็นประชาธิปไตยด้ วยปลายปากกา
000
หลังจากเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ที่ผ่านมา แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้ านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จตุพร พรหมพันธุ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, ธิดา ถาวรเศรษฐ, วีระกานต์ มุสิกพงศ์, นพ.เหวง โตจิราการ ยงยุทธ ติยะไพรัช ฯลฯ เปิดตัว "ศูนย์ปราบโกงประชามติ" เพื่อเชิญชวนประชาชนมาใช้สิทธิ ลงประชามติ รวมทั้งเฝ้าจับตาหากมีความไม่ ชอบมาพากลเกิดขึ้นในช่วงรณรงค์ ประชามติ
นับตั้งแต่เปิดศูนย์ ปราบโกงประชามติ ภาครัฐก็เฝ้าจับตาอย่างเต็มที่ โดยในวันเปิดศูนย์ที่อิมพีเรียล ลาดพร้าว มีทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.โชคชัย เข้ามาห้ามไม่ให้จัดงาน ขณะที่ผู้จัดงานอ้างคำพูด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ที่บอกว่าไม่ห้ามการตั้งศูนย์ และย้อนด้วยว่าหากใครที่มาสั่ งห้ามก็เท่ากับไม่รักษาคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์
แกนนำ นปช. มีแผนเปิดศูนย์ปราบโกงในระดับจั งหวัดทั่วประเทศภายในวันที่ 19 มิถุนายน อย่างไรก็ตามก่อนวันเปิดตัวทั่ วประเทศ เจ้าหน้าที่ทหารก็เข้าไปห้ ามปรามเช่นที่ จ.ลำปาง มีการปลดป้ายศูนย์ ขณะที่ทั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ประสานเสียงอย่างแข็งกร้าวไม่ ให้มีการตั้งศูนย์
อย่างไรก็ตามในการให้สัมภาษณ์กั บประชาไท จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ยืนยันเดินหน้าตั้งศูนย์ ปราบโกงประชามติทั่วประเทศ แม้การรณรงค์เพื่อวิจารณ์เนื้ อหารัฐธรรมนูญจะไม่สามารถทำได้ เต็มที่ แต่เขาก็หวังกระตุ้นให้คนไปใช้ สิทธิลงคะแนนประชามติ ทั้งฝ่ายรับและฝ่ายไม่รับควรมี พื้นที่อย่างเสมอภาค ไม่ใช่รัฐให้การคุ้มครองเฉพาะฝ่ ายรับเท่านั้น นอกจากนี้ยังหวังเป็นตัวกลางสื่ อสารไปยังผู้มีอำนาจ หากประชาชนต้องการร้องเรียนเรื่ องไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นในช่ วงก่อนประชามติ
ศูนย์ปราบโกงประชามติยังมุ่งหวั งสิ่งใดบ้าง ทำไมต้องชูคำขวัญ "ไม่ล้ม ไม่โกง และไม่อายพม่า" ถูกปลดป้าย-ปิดศูนย์คืออุ ปสรรคหรือไม่ จะทำอย่างไรต่อไป ติดตามได้ในบทสัมภาษณ์
000
สามารถกล่าวได้หรือไม่ว่าศูนย์ ปราบโกงประชามติ เป็นการรณรงค์เพื่อไม่รับรั ฐธรรมนูญ หรือเป็นเพียงการรณรงค์ให้ คนออกไปลงประชามติเท่านั้น
จตุพร - ตามพระราชบัญญัติว่าด้ วยการออกเสียงประชามติร่างรั ฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 เป็นการเขียนกันฝ่ายไม่รับรั ฐธรรมนูญ ห้ามไม่ให้มีการรณรงค์เรื่ องการทำประชามติ แต่ขณะเดียวกันในซีกผู้มี อำนาจในแม่น้ำทุกสาย ก็ใช้วิธีอบรมครู ก - ข - ค นี่คือโดยเปิด และแบบไม่เป็นทางการทั้งข้ าราชการทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ถึงขนาดจะฟื้นอาสาสมัครลูกเสื อชาวบ้าน ไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.) ขึ้นมาด้วยซ้ำ ยังไม่นับอาสาสมัคร รด. และอาสาสมัครสาธารณสุข ใช้ กศน. และเครือข่ายครูต่างๆ รวมกำลังใช้คนเป็นล้าน เพราะฉะนั้นทั้ งงบประมาณและอำนาจครบถ้วน เต็มพื้นที่
มีกลไกภาครัฐที่รณรงค์ก่อนหน้ านี้ แต่เป็นการรณรงค์ให้ คนออกไปลงประชามติเท่านั้น แต่เท่าที่ติดตามสถานการณ์ มีกรณีที่พบการรณรงค์ชี้ชวนให้ คนไปรับรัฐธรรมนูญหรือไม่
กรณีนครสวรรค์ มีการร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่ ทหารจัดทำแผ่นพับและไปชี้ว่าให้ ไปรับประชามติ การเขียนกฎหมายมันลักลั่น เพราะต้องการปิดทางคนที่ไม่รั บร่าง จึงเขียนกฎหมายในลักษณะว่าไปพู ดข้อดีได้ แต่ว่าห้ามพูดว่ารับ
ส่วนในโครงการของฝ่ายรัฐที่ ลงไปประชาสัมพันธ์เนื้อหารั ฐธรรมนูญ จะไปพูดแต่ข้อดีเรื่องรัฐธรรมนู ญ ซึ่งผิดหลักธรรมชาติ เพราะเมื่อพูดดี ทุกอย่างดีหมด แต่ไม่บอกประชาชนให้รับหรือไม่ รับก็เป็นไปไม่ได้ ถ้าประชาชนถามกลับว่าให้ฉั นทำอย่างไร แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ตอบว่าให้ไปรั บก็ผิดกฎหมายประชามติ คือกฎหมายให้คนพูดว่ารับหรือไม่ รับได้ แต่ชวนคนอื่นไม่ได้ แบบก็ผิดธรรมชาติมาตั้งแต่ต้น เพราะความกลัวแพ้จึงต้ องลงเอยแบบนี้
เราจะเห็นทุกทีจะองค์ กรภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่ วมในเวลาเลือกตั้ง เช่น มี กกต. ก็มีมูลนิธิองค์กรกลางเพื่ อประชาธิปไตย หรือ PNET ที่มี พล.อ.สายหยุด เกิดผล และเคยมีสมชัย ศรีสุทธิยากร ทำงาน แต่ที่ผ่านมา PNET ก็เคลื่อนไหวอย่างที่เห็ นตามความปรากฏ
มาครั้งนี้การทำประชามติความจริ งเป็นหัวใจที่ จะกำหนดอนาคตของประเทศ เพราะว่าที่ใหญ่กว่าการปล้นทรั พย์คือการปล้นสิทธิ เป็นสิทธิของประชาชน ประชามติจะเป็นประตูนำไปสู่ ประชาธิปไตยก็ได้ สู่เผด็จการก็ได้ เราเองเห็นว่า ถ้าประชามติครั้งนี้เต็มไปด้ วยการทุจริตเพราะทั้งขบวนทุจริ ตมาแต่ต้นหาความถูกต้องไม่ได้ ทั้งคนตั้งคณะกรรมการร่างรั ฐธรรมนูญ ที่มาของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการใช้กลไกรัฐทุกอย่ างเคาะประตูบ้านประชาชนเพื่ อพรรณาถึงข้อดี แต่ฝ่ายเห็นต่างไม่ สามารถทำอะไรได้เลย ฉะนั้น จึงมีความคิดเรื่องการตั้งศูนย์ ปราบโกงประชามติซึ่งจะเป็นองค์ กรคู่ขนาน โดยกำหนดคำขวัญขึ้น 3 คำ คือ ไม่โกง ไม่ล้ม ไม่อายพม่า
“ไม่ล้ม” เพราะ คสช. เคยล้มร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศั กดิ์ อุวรรณโณ ผ่าน สปช. เพราะฉะนั้นเราวิตกกัน เพราะเขาเคยทำมาแล้ว กลัวว่าจะเดินไปไม่ถึงวันที่ 7 สิงหาคม ถ้าเขาเดินไปสักระยะแล้วเห็นว่ าประชาชนจะตัดสินใจอย่างไร เราจึงย้ำว่า ไม่ล้มวันที่ 7 สิงหาคม
ทั้งนี้เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดิ นไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉั ยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสี ยงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 61 วรรค 2 จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รีบพูดว่าถ้าขัดรัฐธรรมนู ญจะยกเลิกทำประชามติ ประสานเสียงกับนายพรเพชร วิชิตชลชัย ซึ่งเคยล้มการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เราจึงยืนยันว่าไม่ให้ล้ม และก็พยายามสื่อสารกับศาลรั ฐธรรมนูญว่าให้เร่งพิจารณา เพราะถ้าตัดสินในตอนที่ ประชาชนเขาเดินมาไกลแล้ว ประเทศจะเสียหายทั้งงบประมาณแผ่ นดิน และอีกหลายเรื่องราว โดยเฉพาะประชาชนจะเสียความรู้สึ กด้วย
“ไม่โกง” เพราะวิธีใช้กำลังคนแบบนี้ส่อสั ญญาณชัดเจน แค่วิธีคิดก็โกงแล้ว และถ้าไม่มีองค์กรใดไปคานจะหนั กกว่านี้ พูดง่ายๆ ว่าจะทำอะไรก็ได้
“ไม่อายพม่า” เราเองเห็นว่าคนพม่าเขาอยู่ ภายใต้เผด็จการมา 50 ปี แต่วันนี้เขามีโอกาสที่จะได้ ประชาธิปไตย เขาไม่รอช้าเลย และเขาทำทุกวิถีทาง โดยไม่เกรงฝ่ายรัฐบาลทหารพม่ าเวลานั้น แม้จะออกกติกาเอาเปรียบอย่างไร ท้ายที่สุดก็พา อองซานซูจี ที่ถูกล็อกเป็นประธานาธิบดีไม่ ได้ ไปสู่เส้นชัย พูดง่ายๆ คนเลือกอองซานซูจี 90 เลือกทหารแค่ 10 ขนาดคนพม่าถูกกดขี่ด้วยเผด็ จการมาถึง 50 ปี ในวันที่เขามีโอกาสจะสู้ เขาเปลี่ยนแปลงประเทศด้ วยปลายปากกาไม่ต้องกระบอกปืนเลย เขาไม่รีรอที่จะเข้าคูหาเข้ าไปเปลี่ยนแปลง
เพราะฉะนั้นก็เป็นการกระตุ้นให้ คนไปใช้สิทธิ์ ทั้งฝ่ายรับและฝ่ายไม่รับควรมี ความเสมอภาค ไม่ใช่รัฐให้การคุ้มครองเฉพาะฝ่ ายรับเท่านั้น เพราะฉะนั้น ศูนย์ปราบโกงประชามติเป็นองค์ กรที่มาคานกับอำนาจทั้งปวง โดยหวังจะเป็นตัวกลางบอกสังคม และยื่นเรื่องต่อ กกต. โดย กกต. เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ ตามกฎหมาย เราก็เป็นประชาชนตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะรับเรื่องส่งต่อ ประชาชนอาจกลัวทหาร องค์กรของเราถือเป็นองค์กรคั่ นกลาง เพื่อลดความกลัวของประชาชน และบอกความจริงกับประชาชนทั้ งประเทศและโลกว่าเกิดอะไรขึ้น
เพราะฉะนั้นศูนย์ ปราบโกงประชามติจะมีการเปิดพร้ อมกันวันที่ 19 มิถุนายนทุกจังหวัด
000
“ไม่อายพม่า” เราเองเห็นว่าคนพม่าเขาอยู่ภายใต้เผด็จการมา 50 ปี แต่วันนี้เขามีโอกาสที่จะได้ ประชาธิปไตย เขาไม่รอช้าเลย และเขาทำทุกวิถีทาง โดยไม่เกรงฝ่ายรัฐบาลทหารพม่ าเวลานั้น แม้จะออกกติกาเอาเปรียบอย่างไร ท้ายที่สุดก็พา อองซานซูจี ที่ถูกล็อกเป็นประธานาธิบดีไม่ ได้ ไปสู่เส้นชัย พูดง่ายๆ คนเลือกอองซานซูจี 90 เลือกทหารแค่ 10 ขนาดคนพม่าถูกกดขี่ด้วยเผด็ จการมาถึง 50 ปี ในวันที่เขามีโอกาสจะสู้ เขาเปลี่ยนแปลงประเทศด้ วยปลายปากกาไม่ต้องกระบอกปืนเลย เขาไม่รีรอที่จะเข้าคูหาเข้ าไปเปลี่ยนแปลง
ในสโลแกนมีคำว่า "อย่าอายพม่า" มีเรื่องอะไรที่กลัวจะอายหรือน้ อยหน้าพม่า
คือคนพม่า เขารอเวลามาถึง 50 ปี และเขาไม่รอช้าเมื่อเขาได้โอกาส เขาเปลี่ยนพม่าด้วยปากกา ไทยเราเริ่มเป็นประชาธิปไตยจริ งอยู่เมื่อ 84 ปีก่อนแต่ก็ล้มลุกคลุกคลาน เวลาของเผด็จการมากกว่าประชาธิ ปไตย เพราะฉะนั้นเราบอกคนไทยว่าอย่ าอายหัวใจคนพม่าในเรื่องประชาธิ ปไตย และเขาอยู่ภายใต้ การปกครองของทหารนะในวันที่ ทหารมีอำนาจเขายังกล้าออกมาใช้ สิทธิ เพราะฉะนั้ นประเทศไทยเราจะอายพม่าในเรื่ องเหล่านี้ไม่ได้ คนพม่าใช้สิทธิเกิน 80% เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องอายพม่า และผมเชื่อว่าประชาชนคิดเป็น ไม่จำเป็นต้องบอกว่าให้ เขาจะทำอะไร วันเวลาที่โลกสื่อสารไร้พรมแดน ประชาชนเขารู้ว่าต้องตัดสิ นใจอย่างไร
ในการประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ต้องรณรงค์กับกรรมาธิการยกร่ างรัฐธรรมนูญชุดก่อนนั้น เมื่อเปรียบเที ยบบรรยากาศการรณรงค์กับยุคนี้ แล้ว มีบรรยากาศแตกต่างกันหรือไม่
ในปี 2550 เขาเอาเปรียบแค่ประกาศกฎอั ยการศึก 48 จังหวัด แต่ไม่ได้ห้ามเรื่องการรณรงค์ และทุกพรรคการเมืองยกเว้ นพรรคพลังประชาชนในขณะนั้นให้ เหตุผลว่าบอกว่ารับไปก่อนแล้ วไปแก้ไขรัฐธรรมนูญภายหลัง ไม่เว้นภาคประชาชนอย่างพันธมิ ตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ บอกว่าจะเข้าชื่อ 50,000 เพื่อแก้ไข
รองประธานกรรมาธิการยกร่างรั ฐธรรมนูญ อย่าง จรัญ ภักดีธนากุล บอกให้รับไปก่อนและแก้ไขทีหลั งแบบแก้ไขมาตราเดียวเพื่อจั ดทำกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญขึ้ นใหม่ และคณะกรรมาธิการยกร่างบอกให้รั บร่างเพื่อจะมีรั ฐบาลของประชาชนทหารจะได้ไป ถ้าไม่รับร่าง คมช. จะเอารัฐธรรมนูญมาประกาศใช้ ภายใน 1 เดือน
เพราะฉะนั้นวาทะส่วนใหญ่คือ "รับไปก่อนแล้วแก้ไขที่หลัง" ยกเว้นพรรคพลังประชาชน และ นปก. ในขณะนั้นที่รณรงค์ไม่รับรั ฐธรรมนูญ แต่ก็ทำอย่างจำกัดจำเขี่ยผลคื อแพ้ ไม่รับรัฐธรรมนูญ 10.7 ล้าน รับรัฐธรรมนูญ 14.7 ล้าน
ในการรณรงค์ประชามติปี 2559 ใช้บุคลากรลงพื้นที่ทุกพื้นที่ ทุกหมู่บ้าน ในการรณรงค์ปี 2550 ไม่มีรณรงค์แบบนี้ และก็ไม่ได้ห้ามการณรงค์ แต่มาครั้งนี้พรรคการเมืองแทบทุ กพรรคไม่มีใครกล้าพูดว่ารับไปก่ อนแล้วแก้ที่หลัง มีเพียง กปปส. ที่ประกาศรับรัฐธรรมนูญ และระบุว่าเห็นด้วยกับทั้ งคำถามพ่วงและรัฐธรรมนูญ
000
กรณีพรรคประชาธิปัตย์ก็พูดถึงข้อไม่ดีของรัฐธรรมนูญ และไม่เห็นด้วยสุดตัวกับคำถามพ่ วงประชามติ ผมเชื่อว่าความเห็นแบบนี้ถ้ าพรรคประชาธิปัตย์ไปรับรั ฐธรรมนูญก็เสียคน เพราะได้พรรณาข้อไม่ดีของรั ฐธรรมนูญทั้งหมด ถ้าไปรับรัฐธรรมนูญก็จะกลายเป็ นคนละเรื่องราว
ประเมินจุดยืนทางการเมื องของพรรคการเมืองต่างๆ อย่างไร โดยที่พรรคประชาธิปัตย์ แสดงความไม่เห็นด้วยกับเนื้ อหาของรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่มีการรณรงค์ เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทยที่ แสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรั ฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามจุดยื นของพรรคขนาดกลาง เช่น พรรคชาติไทยพัฒนา แกนนำพรรคผู้ล่วงลับคือ บรรหาร ศิลปอาชา กล่าวว่าจะรับรัฐธรรมนูญแต่ถื อเป็นความเห็นส่วนตัวไม่ใช่ ความเห็นพรรค
ผมเพิ่งอ่านความเห็นของ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา ต่อเรื่องการจัดเวทีชี้แจงร่ างรัฐธรรมนูญให้กับตั วแทนพรรคการเมือง โดยพูดชัดว่าถ้าเชิญมาในค่ ายทหารเขาไม่ไป กรณีพรรคประชาธิปัตย์ก็พูดถึงข้ อไม่ดีของรัฐธรรมนูญ และไม่เห็นด้วยสุดตัวกับคำถามพ่ วงประชามติ ผมเชื่อว่าความเห็นแบบนี้ถ้ าพรรคประชาธิปัตย์ไปรับรั ฐธรรมนูญก็เสียคน เพราะได้พรรณาข้อไม่ดีของรั ฐธรรมนูญทั้งหมด ถ้าไปรับรัฐธรรมนูญก็จะกลายเป็ นคนละเรื่องราว
บรรยากาศปีนี้แตกต่างจากปี 2550 ผมเชื่อว่าพรรคชาติไทยพัฒนา ถ้าฟังจาก สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ก็พอคิดได้ว่าขืนใครเอา คสช. มาแบกไว้ คงไม่ได้แบกตอนประชามติเท่านั้น แต่ต้องแบกไปถึงเลือกตั้ง แล้วจะพาให้พรรคสูญพันธุ์ ถ้าอ่านที่คุณสมศักดิ์นำเสนอ ก็พอจะรู้ว่าเขาคิดอย่างไรในใจ
กรณี กปปส. ประกาศจัดยืนว่ารับรัฐธรรมนูญ ประเมินว่าจะมีกลุ่มย่ อยภายในพรรคประชาธิปัตย์ ไปร่วมเพื่อรณรงค์ให้รับรั ฐธรรมนูญไหม
เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ ตามไป ผมประเมินเป็นวิทยาศาสตร์ เราเป็นแกนนำประชาชน ผมรู้ว่าประชาชนเขามอบความไว้ วางใจให้ก็จริง แต่ว่าเอาความไว้ วางใจประชาชนไปทำสิ่งที่สวนต่ อความรู้สึกของเขา ผมเชื่อว่าประชาชนไม่ตามไป ยกเว้นบางพวกที่คลั่งไคล้เป็ นการเฉพาะส่วนตัว หรือความอคติกับอีกฝ่ายหนึ่ งจนเกินตัว ซึ่งเป็นจำนวนไม่มาก เพราะฉะนั้นมวลมหาประชาชนจะไม่ อยู่ในสภาพเท่าเดิม
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมื องมีพื้นที่ในภาคใต้ แต่ในกรุงเทพมหานคร พรรคก็มีปัญหากับผู้ว่ าราชการกรุงเทพมหานครที่อดี ตมาจากพรรคเดียวกันคือ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร คุณสุขุมพันธ์บริหาร กทม. 2 รอบ ผมเห็นว่ามีเครือข่ายระดับหนึ่ง ที่สำคัญคนกรุงเทพฯ เขาได้รับผลกระทบจากการยึ ดอำนาจเต็มๆ สมมติว่าถ้าประชาธิปัตย์ ประกาศรับรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์จะสู ญพันธุ์ในการเลือกตั้งที่กรุ งเทพฯ เพราะฉะนั้นท่วงทำนองของอภิสิ ทธิ์ เวชชาชีวะ หรือองอาจ คล้ามไพบูลย์ โดยเฉพาะองอาจที่เขาอยู่ ในขบวนการประชาชนมานานเขามองเห็ น การรับรัฐธรรมนูญเป็นการการันตี คณะยึดอำนาจ เท่ากับไปรับแทนผลของคณะยึ ดอำนาจ ในเรื่องความเดือดร้ อนของประชาชน และเรื่องประชาธิปไตย และแน่นอนขณะยึดอำนาจทุกยุคทุ กสมัย ใครอิงแอบกับทหาร หรือพรรคการเมืองพรรคทหาร เหมือนพรรคเทพพรรคมารสมั ยพฤษภาคม 2535 จะแพ้ชนิดที่ว่าหาเส้นทางชนะไม่ เจอ และยิ่งจะแพ้หนักกว่าเดิม
ผมจึงไม่แปลกใจที่พรรคประชาธิปั ตย์จะเสนอความคิดแบบนั้น แม้จะไม่ฟันธงว่าจะรับหรือจะไม่ รับ แต่ถ้าไปรับผมว่าก็ไม่ใช่คนแล้ว เพราะข้อความจากพรรคประชาธิปั ตย์คือไม่เห็นด้วยประเภทสุดโต่ งอยู่แล้ว
ดูเหมือนพรรคการเมืองหลักทั้ง 2 พรรค แถลงว่าไม่ชอบเนื้อหาของร่างรั ฐธรรมนูญ ถ้าจะให้ลงแรงออกมารณรงค์แบบที่ นปช. ทำนั้น คิดว่าจะมีฝ่ายการเมืองอื่น ขั้วอื่น หรือพรรคการเมืองลงแรงแบบนี้ไหม
คือนักการเมืองอาจมีความระมั ดระวัง อาจจะกลัวเรื่องตัดสิทธิการเมื อง 10 ปี แต่ผมเองมองข้ามแบบนักการเมื องมอง ผมมองว่าในส่วนของภาคประชาชนต้ องไม่ปล่อยให้ประเทศเข้าสู่มุ มอับ ดังนั้นก็จะทำหน้าที่ และในส่วนพรรคเพื่ อไทยแสดงความชัดเจนว่ามีจุดยื นไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ประกาศตรงไปตรงมา
เพราะฉะนั้นประชาชนผู้เลือกตั้ งต่างก็ได้ยินกันครบถ้วนจึงเป็ นอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นหมากบังคั บเหมือนกัน และบรรยากาศแตกต่างจากปี 2550 ไม่มีพรรคการเมืองมาโอ้โลมกับรั ฐธรรมนูญ มีแต่สุเทพ เทือกสุบรรณ และวิทยา แก้วภราดัย ในซีก กปปส. ซึ่งผมเชื่อว่าการตัดสินเรื่ องนี้เท่ากับปิดฉากทางการเมือง
เท่าที่เคยเรียกร้องเชิญชวนให้ มีการอภิปรายโต้วาทีหรือดี เบตเกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรั ฐธรรมนูญ ขณะนี้มีใครตอบรับการอภิปรายหรื อไม่
โดยหลักในเรื่องการตั้งเวที เป็นการวางกติกาหยุมหยิมไว้เยอะ แม้แต่เวทีที่ กกต. จัดที่หอประชุมกองทัพบกก็ พยายามบีบคั้นเรื่องเวลาในการที ่จะพูด คือต้องการให้เป็นเวทีของคนที่ พูดไม่ได้ พอตั้งคำถามพวกนี้ก็ตอบแบบนั กเรียนถามครู ซึ่งคนที่ไปประชุมไม่ได้อยู่ ในฐานะนั้น คนที่ไปเขาไปเพราะมองเห็นปั ญหาและจะเสนอว่าควรแก้ไขปั ญหาอย่างไร
ทาง กกต. พยายามนำเสนอว่าในส่วนของโทรทั ศน์ต่างๆ จะเชิญคนที่มีความเห็นแตกต่าง ปัญหาในขณะนี้คือหาคนจากฝ่ายที่ เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญมาดี เบตยาก ในขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยกับรั ฐธรรมนูญมีพร้อมกันหมด
เพราะฉะนั้นฝ่ายรับรัฐธรรมนู ญไม่พร้อมจัดเวทีดีเบตประเภทตั วต่อตัว นั่งซักไล่ประเด็นกัน แต่ว่าเป็นเวทีเปิดแบบกว้างๆ ให้พูดสั้นๆ ไม่กี่พยางค์ พูดสั้นๆ เป็นความจำกัดจำเขี่ยเต็มที่ เพราะฉะนั้นฝ่ายที่ไม่เห็นด้ วยกับรัฐธรรมนูญก็มีพื้นที่น้อย และเมื่อเปิดพื้นที่ก็ไปเปิ ดในค่ายทหารเสียอีก
000
ถ้าเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามายึดป้าย อย่าได้ขัดขวาง แต่ให้พูดคุยกันโดยดีกับเจ้าหน้ าที่ เพราะป้ายศูนย์นั้นไม่ใช่แกนหลั ก แกนหลักคือหัวใจประชาชน ป้ายและสถานที่เป็นเรื่องสมมติ เรื่องจริงคือความรู้สึ กของประชาชนที่จะต้องเดินหน้าต่ อไปในการณรงค์ประชามติ
ขณะที่ภาครัฐมีการอบรมครู ก ครู ข จนถึงครู ค เพื่อรณรงค์ในระดับท้องถิ่น เรื่องการรณรงค์ของศูนย์ ปราบโกงประชามติ หลังจากที่จะเปิดในระดับจังหวั ดแล้ว จะมีการฟื้นกลไก นปช. เพื่อรณรงค์คู่ขนานไปถึงระดับพื ้นฐานไหม
ผมพูดชัดกับคนทั้งประเทศว่าไม่ ได้เป็นเรื่อง นปช. อย่างเดียว ไม่ได้เป็นเรื่องกลุ่มการเมื องใดหนึ่ง พรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่ง สีใดสีหนึ่ง แต่เป็นเรื่องคนสองฝ่าย คือฝ่ายเผด็จการและประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่ องคนเสื้อแดง หรือเรื่องของพรรคเพื่อไทย เป็นเรื่องใครก็ได้ ที่คุณศรัทธาเชื่อมั่นต่ อระบอบประชาธิปไตย คุณก็ร่วมทางกันได้
คำถามคือแล้วกลไกจะถึงหมู่บ้ านหรือไม่ เฉพาะพวกผมก็มีครบกันอยู่ แต่ถ้าคนในชาติบ้านเมืองนี้ เราเอาส่วนที่เห็นต่างกันวางไว้ ก่อน แล้วเอาเรื่องที่มีจุดร่วมกันคื อเอาประชาธิปไตยตั้ง ผมเชื่อว่าทุกหน่วยเลือกตั้ งจะมีคนครบ คือจะมีผู้สังเกตการณ์ อยู่ที่่ว่าการเจรจาในวันข้ างหน้ากับ กกต. นั้น จะสามารถส่งผู้สังเกตการณ์ในหน่ วยลงคะแนนได้หรือไม่ ถ้าเข้าไม่ได้ก็อยู่นอกหน่อย และมีการตรวจสอบเท่าที่จะทำได้ ในวันลงประชามติ โดยจะทำทุกภาคไม่เว้นแม้แต่ ภาคใต้ และใครเห็นอะไรผิดปกติก็ จะรายงานเข้ามาในศูนย์ ตั้งเป้าไว้หน่วยเลือกตั้งละ 3 คน ในทุกภาครวมทั้งภาคใต้
หลังจากเปิดศูนย์ ปราบโกงประชามติพร้อมกันทั่ วประเทศ และหากพบว่ามีเรื่องที่น่ากั งวลเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการโกง ในวันนั้นก็จะเดินทางไปพบ กกต. อีกครั้ง เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์ ปราบโกงประชามติเข้าไปสั งเกตการณ์ในคูหา โดยที่ผู้สังเกตการณ์เป็นคนในพื ้นที่
ในพื้นที่ต่างจังหวัดมี มาตรการเรื่องความปลอดภัยอย่ างไรบ้าง หลังจากมีเหตุการณ์ที่เจ้าหน้ าที่เข้าไปปลดป้ายของศูนย์ หรือมีการควบคุมตัวผู้ปฏิบัติ งานในระดับจังหวัด รวมทั้งขอให้แกนนำในพื้นที่อย่ าเคลื่อนไหว
ในระดับจังหวัด มีแกนนำของศูนย์ปราบโกงประชามติ ส่วนกลางที่มีอำนาจรับผิดชอบภู มิภาคได้ลงไปประสานกับตัวแทนแต่ ละจังหวัด และได้ปรึกษากันไว้แล้วว่าถ้ าเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามายึดป้าย อย่าได้ขัดขวาง แต่ให้พูดคุยกันโดยดีกับเจ้าหน้ าที่ เพราะป้ายศูนย์นั้นไม่ใช่แกนหลั ก แกนหลักคือหัวใจประชาชน ป้ายและสถานที่เป็นเรื่องสมมติ เรื่องจริงคือความรู้สึ กของประชาชนที่จะต้องเดินหน้าต่ อไปในการณรงค์ประชามติ
ส่วนตัวมีความเชื่อว่าทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนจะได้ แค่ป้ายไป ส่วนบางพื้นที่ซึ่งมีการควบคุ มตัวผู้รณรงค์ของศูนย์ เชื่อว่าจะไม่มีการควบคุมตัวไว้ นาน นอกจากนี้ นปช. ส่วนกลางได้ไปร้องเรียนกับองค์ การสหประชาชาติด้วย และแต่ละพื้นที่หากเกิดเหตุใดขึ ้น ก็ให้ไปแจ้งความที่สถานี ตำรวจเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษไว้ เป็นหลักฐานด้วย
เรื่องการยึดป้ายศูนย์ ปราบโกงประชามตินั้น ได้บอกผู้สนับสนุนในแต่ละพื้นที ่ว่าอย่าถือเป็นสาระสำคัญ เพราะแก่นของการรณรงค์คื อการทำหน้าที่ของประชาชน ทำหน้าที่ของพลเมือง และข้อความในป้าย ก็ไม่ต่างจากข้อความในเสื้อยืด นั่นคือ “ประชามติ ไม่ล้ม ไม่โกง ไม่อายพม่า” ปัญหาใหญ่ไม่ได้อยู่ที่การถูกยึ ดป้าย แต่อยู่ที่เจตนาที่จะเดินหน้าต่ อไปของประชาชนในการปฏิบัติภารกิ จหน้าที่ต่างๆ
เมื่อทราบผลประชามติ ศูนย์ปราบโกงประชามติจะเคลื่ อนไหวอย่างไรต่อไป
ขึ้นอยู่กับว่าการจั ดการประชามติเป็นไปด้วยความโปร่ งใสและยุติธรรมหรือไม่ ถ้ายึดหลักนี้และเป็นไปตามหลั กนี้ ไม่ว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไรก็น้ อมยอมรับ ผมพูดชัดมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน ผมก็ไม่ลงสมัคร ส.ส. อยู่แล้ว เราเป็นนักกีฬาพอ แต่โชคร้ายที่เจอคู่ต่อสู้ที่ ไม่ใช่นักกีฬาเท่านั้นเอง
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น