TCIJ: เปิดบันทึกช่วยจำ กิจกรรมต้านรปห. สัญลักษณ์-หลายแบบ-หลากที่-เพิ่ มกลุ่ม
Posted: 06 Jun 2016 01:02 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
หลังรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 การต่อต้านการรัฐประหาร, รัฐบาล และนโยบายต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายหลายระลอกหลากรู ปแบบ ตั้งแต่ชุมนุมประท้ วงระดมมวลชนแบบดั้งเดิม ไปจนถึงการ ‘อดอาหาร-อ่านหนังสือ-กินแซนวิ ช-ชูกระดาษเปล่า-เดิน’ หรือแม้แต่ยืนเฉยๆ ฯลฯ TCIJ พาสำรวจและบันทึกความทรงจำกิ จกรรม ‘การต่อต้าน’ ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา
หลังจากวันที่ 22 พ.ค. 2557 เวลา 16.30 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมด้วยผู้บัญชาการทุกเหล่าทั พ ออกประกาศการควบคุ มอำนาจการปกครองประเทศ โดยอ้างถึงเหตุความรุนแรงในพื้ นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหลายพื้นที่ทั่วประเทศ กระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิ นของประชาชน (อันเป็นผลจากการชุมนุมของกลุ่ มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี ่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิ ปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษั ตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส.) ซึ่งในการยึดอำนาจครั้งล่าสุ ดของประเทศไทยนี้ คณะทหารผู้ก่อการยังระบุว่าเพื่ อเป็นการดูแลความสงบ รวมถึงเพื่อดูแลชีวิตและทรัพย์ สินของประชาชน และทำให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ ภาวะปกติโดยเร็ว ประชาชนเกิดความรักความสามัคคี และเพื่อการปฏิรูปให้เกิ ดความชอบธรรมกับทุกฝ่าย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องเข้าควบคุ มอำนาจในการปกครองประเทศ
แต่ทั้งนี้ หลังการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 นอกจากแถลงการณ์ต่อต้านรั ฐประหารขององค์กรต่าง ๆ รวมทั้งการจัดเสวนาวิชาการ พบว่า ‘ประชาชน-นักศึกษา-นักกิจกรรม’ ได้ออกมาทำกิจกรรมต่อต้านคณะรั ฐประหาร ต่อต้านรัฐบาล รวมทั้งนโยบายต่าง ๆ ของคสช.อยู่เนือง ๆ TCIJ จึงขอประมวลกิจกรรมการต่อต้าน นับแต่วันแรกของการัฐประหาร จนถึงการครบรอบ 2 ปีรัฐประหาร ในวันที่ 22 พ.ค. 2559 นี้
ระลอกคลื่นแห่งการประท้วง
ระลอกแรก‘การประท้วงรั ฐประหารโดยพลัน’ มวลชนหลักพัน : ในช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. 2557 หลังการรัฐประหารในวันที่ 22 พ.ค. 2557 ไม่กี่ชั่วโมง ประชาชนและนักกิจกรรมได้ ออกมาประท้วงในทันที โดยเฉพาะที่บริเวณอนุสาวรีย์ชั ยสมรภูมิที่มีผู้ชุมนุมต้านรั ฐประหารสูงสุดถึงหลักพันในช่ วงระหว่างวันที่ 23-28 พ.ค. 2557 ก่อนที่ทหารจะปิดพื้นที่การชุ มนุมนี้ได้ในวันที่ 29 พ.ค. 2557 ซึ่งระลอกแรกของการต้านรั ฐประหารจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. 2557 นั้นพบว่ามีการประท้วงการรั ฐประหารในหลายจังหวัดอย่างน้อย เช่น กรุงเทพ นนทบุรี เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย อุบลราชธานี มหาสารคาม เป็นต้น
ระลอก'กลุ่มดาวดิน' ชูสามนิ้วขณะพล.อ.ประยุทธ์ ลงพื้นที่ขอนแก่น : 19 พ.ย. 2557 นักศึกษากลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิ ทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) จ.ขอนแก่น จำนวน 5 คน ถูกควบคุมตัวไปสถานีตำรวจ หลังชูสามนิ้ว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้ านรัฐประหาร ต่อหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. ขณะมอบนโยบายให้กับเจ้าหน้าที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในกลุ่มจังหวัดภาคอีสาน บริเวณศาลากลาง จ.ขอนแก่น ซึ่งถือเป็นอีกระลอกสำคัญ ที่ได้ปลุกกระแสการประท้วง คสช. โดยประชาชนและนักกิ จกรรมในหลายพื้นที่ได้ออกมาเรี ยกร้องให้มีการปล่อยตัวนักศึ กษากลุ่มดาวดิน
ระลอก'เลือกตั้งที่ลัก' สู่ 'พลเมืองรุกเดิน' : 14 ก.พ. 2558 ที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุ งเทพมหานคร มีการจัดกิจกรรม "เลือกตั้งที่(รัก)ลัก" จัดโดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ ตำรวจราวสองกองร้ อยและตำรวจนอกเครื่องแบบอี กจำนวนมากที่กระจายรอบพื้นที่ แม้กิจกรรมจะดำเนินไปได้แต่ก็มี นักศึกษา นักกิจกรรมที่ถูกควบคุมตัวและถู กดำเนินคดีในเวลาต่อมา ซึ่งกิจกรรมต่อเนื่องก็คื อการเริ่มกิจกรรม 'พลเมืองรุกเดิน' เดินเท้าจากบ้านพักมารายงานตัว สน.ปทุมวัน ของ พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ หนึ่งในผู้ต้องหาคดีฝ่าฝื นประกาศ คสช. จากการจัดกิจกรรมในครั้งนั้น ซึ่งพันธ์ศักดิ์ ได้ทำกิจกรรม 'พลเมืองรุกเดิน' นี้ต่อมาอีกหลายครั้ง
ระลอก1 ปีรัฐประหาร : 22 พ.ค. 2558 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุ งเทพมหานคร ได้มีการนัดรวมตัวกันของนักศึ กษาเพื่อทำกิจกรรมรำลึก ครบรอบ 1 ปี รัฐประหาร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมตั วนักศึกษาและนักกิจกรรม และ ที่ จ.ขอนแก่น กลุ่มดาวดินก็ได้ออกมาเคลื่ อนไหวรำลึกการครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร และมีการจับกุมตัวกลุ่มดาวดินด้ วยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์นี้ได้ปลุ กกระแสให้มีการประท้วง คสช. และการเรียกร้องให้มีการปล่อยตั วผู้ที่ถูกจับกุมทั้ งหมดในหลายพื้นที่ รวมถึงเป็นการกำเนิดขึ้นของ 'ขบวนการประชาธิปไตยใหม่'
ระลอก’นั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ ์ ส่องแสงหากลโกง’ : 7 ธ.ค. 2558 สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว และกลุ่มประชาธิปไตยศึกษา ได้จัดกิจกรรม ‘นั่งรถไฟ ไปอุทยานราชภักดิ์ ส่องแสงหากลโกง’ โดยมีกำหนดการที่จะนั่ งรถไฟจากสถานีรถไฟธนบุรีไปยังอุ ทยานราชภักดิ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ แต่เมื่อถึงสถานีบ้านโป่ง ทหารก็ได้คุมตัวผู้ร่วมทำกิ จกรรมนี้รวมทั้งเป็นคดีความต่ อมา เหตุการณ์นี้ก็ได้จุดกระแสให้มี การประท้วง คสช. และการเรียกร้องให้มีการปล่อยตั วผู้ที่ถูกจับกุมอีกครั้ง
ระลอกการกวาดจับแอดมินเพจ 'เรารักพล.อ.ประยุทธ์' : หลังวันที่ 27 เม.ย. 2559 ในปฏิบัติการกวาดจับแอดมินเพจ 'เรารักพล.อ.ประยุทธ์' โดยทหารบุกควบคุมตั วประชาชนหลายราย ในจังหวัดขอนแก่นและในกรุงเทพฯ ซึ่งภายหลังเจ้าหน้าที่แจ้งข้ อกล่าวหาผู้ถูกจับกุม 8 คน ในความผิดนำเข้าข้อมูลอันเป็ นเท็จ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และสร้างความปั่นป่วนกระด้ างกระเดื่องในหมู่ประชาชน มาตรา 116 และยังมีผู้ต้องหา 2 คนที่โดนแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติ มในความผิดฐานหมิ่นประมาทสถาบั นกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยหลังปฏิบัติการกวาดจับนั้น กลุ่มนักกิจกรรมได้ประท้วงเชิ งสัญลักษณ์ทั้งใน กทม., ขอนแก่น, เชียงใหม่, ชลบุรี, นครปฐม ฯลฯ
พื้นที่ใหม่และลักษณะการต่อต้าน
ทั้งนี้ พบว่าพื้นที่ที่มีความสำคั ญในการประท้วงและแสดงออกเชิงสั ญลักษณ์ นอกเหนือจากอนุสาวรีย์ประชาธิ ปไตย, ถนนราชดำเนิน, รัฐสภา รวมทั้งสถานที่ต่าง ๆ ที่เคยเป็นสัญลักษณ์ของการเรี ยกร้องประชาธิปไตยในอดีตแล้วนั้ น ก็ยังพบว่าหลังการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุ งเทพมหานคร ก็ได้กลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที ่นักกิจกรรมและประชาชนใช้ ในการประท้วงและแสดงออกเชิงสั ญลักษณ์อยู่บ่อยครั้ง
และแม้การจัดกิจกรรมเพื่อรำลึ กเหตุการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ เช่น 24 มิ.ย. 19 ก.ย. 6 ต.ค. 14 ต.ค. และ 10 ธ.ค. รวมทั้งการรำลึกถึงการสลายการชุ มนุมปี 2553 ที่ถูกห้ามถูกควบคุมอย่างเข้ มงวดนั้น ก็ยังมีนักกิ จกรรมและประชาชนออกมาทำกิ จกรรมได้บ้าง ซึ่งมักจะเป็นการแสดงออกเชิงสั ญลักษณ์ หรือกิจกรรมเชิงศาสนา เช่น การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ เสียชีวิตในเหตุการณ์ทางการเมื องต่าง ๆ
เนื่องจากข้อจำกัดด้านการควบคุ มอย่างเข้มงวดโดยทหารและตำรวจ ทำให้แทบจะไม่มีการชุมนุมเรี ยกร้องแบบเต็มรูปแบบที่มี การระดมมวลชนโดยพรรคการเมืองหรื อกลุ่มการเมือง มีการจัดเวทีปราศรัย และการชุมนุมแบบค้างคืน ดังเช่นช่วงปี 2548-2549 ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่ อประชาธิปไตย (พธม.), ช่วงปี 2552-2553 ในการชุมนุมของกลุ่มแนวร่ วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็ จการแห่งชาติ (นปช.) หรือการชุมนุมช่วงปี 2556-2557 ของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่ อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็ นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า บ่อยครั้งการประท้วงเชิงสัญลั กษณ์ของกลุ่มนักกิจกรรมมีผู้เข้ าร่วมหลากหลายกลุ่มมากขึ้น รวมทั้งมีหลากหลายวิธีการ เช่น การอดอาหารประท้วง, การชูป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ, การโปรยใบปลิว, การแขวนป้าย, การแจกแซนวิชต้านรัฐประหาร, การนั่งประท้วง, การอ่านหนังสือประท้วง, การเรียงกระดาษเปล่า, การจุดเทียน, การชูสามนิ้วประท้วง, นั่งรับประทานประท้วง, ซักผ้าประท้วง ฯลฯ
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น