จาตุรนต์เรียกร้องให้ประชาช นลงประชามติร่าง รธน. ได้อย่างเสรี วอนเปิดให้มีทางเลือกมากกว่ ารับหรือไม่รับ
ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและแกนน ำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการทำประชามติร่างร ัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้มีการเสนอให้กำหนดประ เด็นคำถามพ่วงไปกับการทำประ ชามติร่างรัฐธรรมนูญ เช่น เสนอให้นำประเด็นเรื่องบทเฉ พาะกาล ประเด็น ส.ว.สรรหามาถามไปด้วย ซึ่งตนคิดว่า ประเด็นที่ควรถามประชาชนในการทำประชามติ ควรเป็นประเด็นใหญ่ ๆ และสำคัญมาก ๆ ซึ่งถ้าจะทำจริง ๆ จะเป็นประโยชน์
"ประเด็นที่ควรจะถาม อันแรกที่แน่นอน คือ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่ างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ควรมีคำถามพ่วงว่า เห็นด้วยกับบทเฉพาะกาลหรือไ ม่ ถ้าต้องการถาม เรื่อง ส.ว.สรรหา ควรจะถามว่า ส.ว.ควรมาจากการแต่งตั้ง หรือ เลือกตั้ง และเรื่องที่ยังขาดอยู่ควรต ้องถาม คือ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านคว ามเห็นชอบ จะให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว หรือไม่ และภายใต้กติการัฐธรรมนูญฉบ ับใด ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ ้นใหม่ โดย คสช.ยกร่างเอง หรือ ให้ตั้งคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ หรือ จะให้ประชาชนเลือกสภาร่างรั ฐธรรมนูญ (สสร.) ขึ้นมาร่าง"
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ประเด็นเหล่านี้ ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งทำให้การลงประชามติที่ม ีขึ้นเป็นการลงประชามติที่ป ระชาชนไม่มีทางเลือก เหมือนกับเป็นการมัดมือชก ถ้าไม่ผ่านอาจได้รัฐธรรมนูญ ที่เลวร้ายกว่าเดิม ซึ่งคล้ายกับการลงประชามติใ นปี 2549 แต่การลงประชามติครั้งนี้ ยิ่งมีความไม่เสรี และไม่เป็นธรรมยิ่งกว่านั้น ไปอีกมาก เพราะว่ายังคงใช้มาตรา 44 จำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็นด้วย นอกจากนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังเปลี่ยนร่างกฎหมายทำประช ามติ ในลักษณะที่ไปปิดกั้นการแสด งความคิดเห็นของฝ่ายที่ไม่เ ห็นด้วย กฎหมายนี้ ถ้าออกมาตามแนวที่มีการชี้แ จง จะมีผลอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อมีการเริ่มดำเ นินคดีกับผู้ที่ไม่เห็นด้วย เพียงไม่กี่คน ก็จะทำให้เกิดความหวาดกลัว เพราะไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วจ ะเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะกำหนดบทลงโทษหนัก สำหรับการบิดเบือน ปลุกระดม หรือการจูงใจให้มีการออกเสี ยงไปในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งแน่นอนถ้าจูงใจพูดในทาง สนับสนุนก็จะไม่มีความผิดใด ๆ แต่ปัญหาอยู่ที่ถ้าไม่เห็นด ้วย จะถูกลงโทษจำคุก 10 ปี บวกความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อีก 5 ปี อย่างนี้เป็นการปิดกั้นเสรี ภาพอย่างร้ายแรง
นายจาตุรนต์ยังกล่าวว่า การลงประชามติครั้งนี้ทำโดย เงื่อนไขกติกาที่ไม่สมบูรณ์ เพราะให้ลงประชามติแค่ให้ผ่ านหรือไม่ผ่าน โดยประชาชนไม่มีทางเลือกอื่ น ซึ่งไม่ใช่การทำประชามติที่ ดีที่ต้องให้ประชาชนมีทางเล ือก ให้ประชาชนตัดสินใจได้ด้วย แต่ที่เป็นอยู่นี้ เหมือนกับให้ประชาชนเลือกว่ า จะเอาอย่างที่ กรธ.ทำตามคสช. หรือจะเอาอย่างที่ คสช.ทำเอง มันอาจเป็นการให้เลือกระหว่ างสิ่งที่ไม่ชอบกับสิ่งที่ป ระชาชนรังเกียจเท่านั้น ดังนั้น การเพิ่มประเด็นคำถามพ่วงไป กับการทำประชามติจึงเป็นทาง ออกที่ดีกว่า
ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความเห็นเกี่ยวกับข ้อเสนอในการปรับแก้ร่างรัฐธ รรมนูญว่า การที่ กรธ.จะพิจารณาข้อเสนอของ คสช.เกี่ยวกับบทเฉพาะกาลในว ันที่ 21 มี.ค.นี้ คงสร้างความหนักใจให้กับ กรธ. เพราะมีทั้งเสียงที่เห็นด้ว ยและคัดค้าน จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ตนจึงอยากให้กำลังใจ กรธ.ให้มีจิตใจมั่นคง เป็นตัวของตัวเอง มีจิตสำนึกคำนึงถึงประโยชน์ ส่วนรวมมากกว่าของคนใดคนหนึ ่ง ซึ่งตนเชื่อมั่นว่า กรธ.เป็นผู้ทรงคุณวุฒิน่าจะ พิจารณาได้ว่า ข้อเสนอของ คสช.มีความเหมาะสมแค่ไหน สมควรจะบัญญัติไว้แค่ไหนอย่ างไร ขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบและ รอบด้านเพื่อให้บทเฉพาะกาลไ ด้รับการยอมรับจากประชาชน
นายองอาจ กล่าวอีกว่า ถ้า กรธ.หยิบเอาข้อเสนอของ คสช.ทั้งหมดมาบรรจุในร่างรั ฐธรรมนูญ ก็เชื่อว่าการผ่านประชามติจ ะลำบากมากขึ้นและเป็นระเบิด เวลาผูกติดรัฐธรรมนูญอีกนาน ไม่เป็นผลดีต่อการทำให้บ้าน เมืองเดินหน้า สำหรับท่าทีของพรรคประชาธิป ัตย์จะรับหรือไม่รับร่างรัฐ ธรรมนูญนั้น ต้องดูร่างสุดท้ายที่ออกมาว ่าจะมีการปรับแก้อย่างไร โดยเฉพาะในบทเฉพาะกาลว่าจะม ีการบรรจุเนื้อหาตามที่ คสช.เสนอมาหรือไม่
ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและแกนน
"ประเด็นที่ควรจะถาม อันแรกที่แน่นอน คือ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ประเด็นเหล่านี้ ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งทำให้การลงประชามติที่ม
นายจาตุรนต์ยังกล่าวว่า การลงประชามติครั้งนี้ทำโดย
ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
นายองอาจ กล่าวอีกว่า ถ้า กรธ.หยิบเอาข้อเสนอของ คสช.ทั้งหมดมาบรรจุในร่างรั
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น