0

คดี พล.อ.ธรรมรักษ์ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง อัยการไม่ฎีกา ถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด

"สำหรับ พล.อ.ธรรมรักษ์ จำเลยที่ 1 เห็นว่า แม้โจทก์จะมีหลักฐานเป็นภาพจากกล้องวงจรปิด ที่ได้จากศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม ที่พวกจำเลยเดินอยู่บนระเบียง โดยภาพช่วงที่เข้าไปยังกระทรวงกลาโหม และออกจากกระทรวงกลาโหม แตกต่างกันตรงที่ปรากฏซองสีขาวในมือของบุคคลที่ปรากฏในภาพวงจรปิด แต่โจทก์ก็ไม่มีประจักษ์พยานเบิกความ ยืนยันว่าพวกจำเลยได้เข้าไปพบจำเลยที่ 1 ภายในห้องรับรอง และจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้มอบซองที่อาจจะมีการบรรจุเงินในซองดังกล่าว ให้กับจำเลยที่ 3 เพื่อไปมอบต่อให้กับจำเลยที่ 4 และ 5 นำไปให้จำเลยที่ 2 จริงหรือไม่

จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 3 และ 4 ในชั้นสอบสวนเท่านั้นว่าไปพบจำเลยที่ 1 ซึ่งคำให้การดังกล่าวเสมือนเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกัน จึงต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง เพราะคดีมีอัตราโทษจำคุกสูงถึง 10 ปี ซึ่งในชั้นสืบพยานจำเลยที่ 3 และ 4 ก็ไม่ได้เบิกความยืนยันตามคำให้การชั้นสอบสวน พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ยังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 3-5 สนับสนุนจำเลยที่ 2 กระทำผิด จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัย ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1"

http://www.thairath.co.th/content/394320

ศาลลงโทษจำเลยที่ 2-5 เพราะพยานหลักฐานชัด แต่ พล.อ.ธรรมรักษ์ ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัย

นี่คือหลักยุติธรรม เอาคนเข้าคุกไม่ได้ ถ้าไม่สามารถพิสูจน์จนสิ้นสงสัย

แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญที่ตั้งโดยรัฐประหาร ยุบพรรคไทยรักไทยไปแล้วโดยไม่ต้องสงสัย

และใช้กฎหมายย้อนหลัง เอาประกาศ คสช.ที่ประกาศหลังรัฐประหาร เพิ่มโทษตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบ มาใช้ลงโทษ 111 กรรมการบริหารพรรค (โทษเดิมตาม พรบ.พรรคการเมืองคือ ห้ามเป็นกรรมการบริหารพรรคใหม่แต่ไม่ห้ามสมัคร ส.ส.)


แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 
Top