เห็น
ใจทั่นพู่นำอยู่นะ อีก 2 เดือนสรุปร่าง รธน. แล้วทำประชามติอีก 4 เดือน
ระวังจะเครียดมากจนเสียสุขภาพ ฮิฮิ ก็ไม่ทราบหลวมตัวให้ทำประชามติมาได้ไง
แต่ตัดสินใจแล้วต้องเคารพการตัดสินใจของ
ตัวเอง ประชามติต้องเปิดกว้าง ให้หนุนค้าน โดยรัฐบาลวางตัวเป็นกลาง
ที่ไหนได้ ออกตัวแรงเชียร์ร่างตั้งแต่ต้น แล้วมันจะแฟร์ได้ไง
ประชามติเป็นที่น่ากังวล เพราะถ้าผล “คว่ำ” แม้ คสช.อยู่ต่อ แต่เสถียรภาพก็ระส่ำระสาย หรือถ้าผ่าน แต่คนค้านไล่เรี่ยกัน การปกครองอีก 15 เดือนไม่ราบรื่นแน่นอน หรือถ้าผ่านด้วยคะแนนล้นหลามแต่เรียกปรับทัศนคติกันรายวัน ใช้อำนาจปิดกั้นโต้งๆ ก็ยิ่งถูกประณาม และไม่ว่าอย่างไร ตลอดเวลา 4 เดือน จะเป็นช่วงแห่งการเคลื่อนไหวทีทั่นพู่นำไม่มีความสุขแน่นอน
ใบตองแห้ง
ร่างรัฐธรรมนูญมีชัยวางตลาดไม่กี่วัน แกนนำ นปช.ก็ถูกเรียกปรับทัศนคติ ผู้นำ คสช.ทั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา บอกไม่ห้ามวิจารณ์ แต่ต้องพูดให้ดี พูดให้สร้างสรรค์ ไม่งั้นจะเรียกปรับทัศนคติทุกวัน
อะไรคือพูดให้ดี พูดให้สร้างสรรค์ โฆษกไก่อูสอนจรรยาบรรณสื่อว่า อย่าขายข่าวขัดแย้ง อย่าวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญผิวเผิน โดยไม่เข้าใจเจตนารมณ์สำคัญ
ขณะที่นายกรัฐมนตรีเดือดดาลทั้งวัน จากทั้งการวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ วิจารณ์รัฐบาล วิจารณ์ทหาร
รัฐบาล คสช.ออกตัวแรง แสดงท่าทีปกป้องกรรมการยกร่างฯ เสียขนาดนี้ จะทำประชามติไปทำไมกัน ประชามติก็ต้องเปิดกว้าง ให้เห็นด้วยเห็นต่าง ให้สนับสนุนให้คัดค้าน ซึ่งก็ต้องขัดแย้งกัน คนไม่รับก็คือไม่เอาทั้งฉบับ มีด้วยหรือต้องมานั่งพับเพียบ ก้มกราบเจตนารมณ์แล้วค่อยวิจารณ์
นี่ กกต. (ซึ่งมีประโยชน์ทับซ้อน เพราะถ้าร่างผ่าน ก็ได้อยู่ต่อและมีอำนาจมากขึ้น) ยังจะกำหนดหลักเกณฑ์ทำประชามติ ใครรณรงค์หนุนค้านต้องไปรายงานตัวกับ กกต.สมชัย ใครปลุกระดมคว่ำร่างมีความผิด แน่ละ ท่านคงบอกว่าผิดทั้งสองฝ่าย ปลุกระดมหนุนก็ผิด แต่ฝ่ายหนุนมีความจำเป็นอะไร ในเมื่อ กรธ.ออกวิทยุทีวีข้างเดียวมาหลายเดือน แถม ผบ.ทบ.ยังสั่งทหารให้ช่วยชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญ
ประชามติปี 50 ก็ทำในช่วงรัฐประหาร ถูกวิจารณ์ว่าใช้กลไกรัฐบาลและกองทัพขัดขวางฝ่ายคัดค้านเช่นกัน แต่ไม่ถึงขั้นแสดงตัวเอิกเกริก ตอนนั้น คมช.ไม่มี ม.44 ไม่มีประกาศห้ามนักวิชาการแสดงความเห็นออกวิทยุทีวี รัฐบาลจัดให้มีดีเบตถ่ายทอดสดระหว่างกรรมาธิการกับผู้คัดค้าน นำโดยนักวิชาการอย่าง อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
นึกภาพไม่ออกเลยว่า ประชามติครั้งนี้จะมีดีเบตได้อย่างไร ในเมื่อ คสช.กวดขันการแสดงความคิดเห็นทุกอย่าง
ประชามติจะเป็นที่ยอมรับต้องเปิดกว้างเที่ยงธรรม รัฐบาล คสช. กกต. กองทัพ ส่วนราชการ ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่ใช่เอาแต่อ้างว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้ง บ้านเมืองวุ่นวาย ต้องจำกัดความคิดเห็น ถ้าอย่างนั้นจะเสียงบประมาณทำประชามติทำไม ประกาศใช้ไปเลยดีกว่า
คสช.แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวให้ทำประชามติเองไม่ใช่หรือ ทั้งที่ตอนแรกไม่ได้เขียนไว้ เมื่อท่านใจกว้างเปิดให้ทำประชามติ ก็ต้องรู้สิว่าจะมีโต้แย้งถกเถียง ต้องยอมให้เปิดเวที รณรงค์เคลื่อนไหว ฯลฯ มาวันนี้ท่านอาจรู้สึกว่าปั่นป่วนวุ่นวาย แต่เมื่อตัดสินใจไปแล้ว ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของตัวเอง
แน่ละ ประชามติเป็นที่น่ากังวล เพราะถ้าผลออกมา “คว่ำ” แม้ด้านหนึ่งแปลว่า คสช.อยู่ต่อ แต่เสถียรภาพก็ระส่ำระสาย วิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.ปชป.ทำนายไว้แล้วว่าจะถูกรุมสกรัม
หรือถ้าผลออกมาผ่าน แต่ผู้คัดค้านมีคะแนนไล่เลี่ยกัน สมมติ 10 กว่าล้านต่อ 10 กว่าล้าน ในมุมหนึ่งก็จะเป็นการวัดคะแนนนิยมอย่างเป็นทางการ สวนโพลล์ที่เคยอ้างว่ามีคะแนนนิยมล้นหลาม 99.5% การปกครองประเทศต่อไปอีก 15 เดือนตามโรดแมพ กรธ.ไม่ราบรื่นแน่นอน
ทางเดียวที่ราบรื่นคือ ร่างรัฐธรรมนูญผ่านด้วยคะแนนล้นหลาม แต่การทำประชามติต้อง “แฟร์” ด้วย ถ้าถูกวิจารณ์ว่าเป็นประชามติที่ปิดกั้น ไม่ยุติธรรม ลำเอียง หรือใช้อำนาจบงการ ฯลฯ ก็เป็นจุดหักเหได้เช่นกัน
เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว ยังไงก็ต้องกัดฟันไปสู่ประชามติ เว้นเสียแต่จะคว่ำร่างมีชัยเสียเอง ในเวลาที่เหลือ 2 เดือน แต่คว่ำแล้วจะทำอย่างไร ก็คิดไม่ออกเหมือนกัน
ประชามติเป็นที่น่ากังวล เพราะถ้าผล “คว่ำ” แม้ คสช.อยู่ต่อ แต่เสถียรภาพก็ระส่ำระสาย หรือถ้าผ่าน แต่คนค้านไล่เรี่ยกัน การปกครองอีก 15 เดือนไม่ราบรื่นแน่นอน หรือถ้าผ่านด้วยคะแนนล้นหลามแต่เรียกปรับทัศนคติกันรายวัน ใช้อำนาจปิดกั้นโต้งๆ ก็ยิ่งถูกประณาม และไม่ว่าอย่างไร ตลอดเวลา 4 เดือน จะเป็นช่วงแห่งการเคลื่อนไหวทีทั่นพู่นำไม่มีความสุขแน่นอน
000000
ใบตองแห้ง
ร่างรัฐธรรมนูญมีชัยวางตลาดไม่กี่วัน แกนนำ นปช.ก็ถูกเรียกปรับทัศนคติ ผู้นำ คสช.ทั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา บอกไม่ห้ามวิจารณ์ แต่ต้องพูดให้ดี พูดให้สร้างสรรค์ ไม่งั้นจะเรียกปรับทัศนคติทุกวัน
อะไรคือพูดให้ดี พูดให้สร้างสรรค์ โฆษกไก่อูสอนจรรยาบรรณสื่อว่า อย่าขายข่าวขัดแย้ง อย่าวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญผิวเผิน โดยไม่เข้าใจเจตนารมณ์สำคัญ
ขณะที่นายกรัฐมนตรีเดือดดาลทั้งวัน จากทั้งการวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ วิจารณ์รัฐบาล วิจารณ์ทหาร
รัฐบาล คสช.ออกตัวแรง แสดงท่าทีปกป้องกรรมการยกร่างฯ เสียขนาดนี้ จะทำประชามติไปทำไมกัน ประชามติก็ต้องเปิดกว้าง ให้เห็นด้วยเห็นต่าง ให้สนับสนุนให้คัดค้าน ซึ่งก็ต้องขัดแย้งกัน คนไม่รับก็คือไม่เอาทั้งฉบับ มีด้วยหรือต้องมานั่งพับเพียบ ก้มกราบเจตนารมณ์แล้วค่อยวิจารณ์
นี่ กกต. (ซึ่งมีประโยชน์ทับซ้อน เพราะถ้าร่างผ่าน ก็ได้อยู่ต่อและมีอำนาจมากขึ้น) ยังจะกำหนดหลักเกณฑ์ทำประชามติ ใครรณรงค์หนุนค้านต้องไปรายงานตัวกับ กกต.สมชัย ใครปลุกระดมคว่ำร่างมีความผิด แน่ละ ท่านคงบอกว่าผิดทั้งสองฝ่าย ปลุกระดมหนุนก็ผิด แต่ฝ่ายหนุนมีความจำเป็นอะไร ในเมื่อ กรธ.ออกวิทยุทีวีข้างเดียวมาหลายเดือน แถม ผบ.ทบ.ยังสั่งทหารให้ช่วยชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญ
ประชามติปี 50 ก็ทำในช่วงรัฐประหาร ถูกวิจารณ์ว่าใช้กลไกรัฐบาลและกองทัพขัดขวางฝ่ายคัดค้านเช่นกัน แต่ไม่ถึงขั้นแสดงตัวเอิกเกริก ตอนนั้น คมช.ไม่มี ม.44 ไม่มีประกาศห้ามนักวิชาการแสดงความเห็นออกวิทยุทีวี รัฐบาลจัดให้มีดีเบตถ่ายทอดสดระหว่างกรรมาธิการกับผู้คัดค้าน นำโดยนักวิชาการอย่าง อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
นึกภาพไม่ออกเลยว่า ประชามติครั้งนี้จะมีดีเบตได้อย่างไร ในเมื่อ คสช.กวดขันการแสดงความคิดเห็นทุกอย่าง
ประชามติจะเป็นที่ยอมรับต้องเปิดกว้างเที่ยงธรรม รัฐบาล คสช. กกต. กองทัพ ส่วนราชการ ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่ใช่เอาแต่อ้างว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้ง บ้านเมืองวุ่นวาย ต้องจำกัดความคิดเห็น ถ้าอย่างนั้นจะเสียงบประมาณทำประชามติทำไม ประกาศใช้ไปเลยดีกว่า
คสช.แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวให้ทำประชามติเองไม่ใช่หรือ ทั้งที่ตอนแรกไม่ได้เขียนไว้ เมื่อท่านใจกว้างเปิดให้ทำประชามติ ก็ต้องรู้สิว่าจะมีโต้แย้งถกเถียง ต้องยอมให้เปิดเวที รณรงค์เคลื่อนไหว ฯลฯ มาวันนี้ท่านอาจรู้สึกว่าปั่นป่วนวุ่นวาย แต่เมื่อตัดสินใจไปแล้ว ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของตัวเอง
แน่ละ ประชามติเป็นที่น่ากังวล เพราะถ้าผลออกมา “คว่ำ” แม้ด้านหนึ่งแปลว่า คสช.อยู่ต่อ แต่เสถียรภาพก็ระส่ำระสาย วิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.ปชป.ทำนายไว้แล้วว่าจะถูกรุมสกรัม
หรือถ้าผลออกมาผ่าน แต่ผู้คัดค้านมีคะแนนไล่เลี่ยกัน สมมติ 10 กว่าล้านต่อ 10 กว่าล้าน ในมุมหนึ่งก็จะเป็นการวัดคะแนนนิยมอย่างเป็นทางการ สวนโพลล์ที่เคยอ้างว่ามีคะแนนนิยมล้นหลาม 99.5% การปกครองประเทศต่อไปอีก 15 เดือนตามโรดแมพ กรธ.ไม่ราบรื่นแน่นอน
ทางเดียวที่ราบรื่นคือ ร่างรัฐธรรมนูญผ่านด้วยคะแนนล้นหลาม แต่การทำประชามติต้อง “แฟร์” ด้วย ถ้าถูกวิจารณ์ว่าเป็นประชามติที่ปิดกั้น ไม่ยุติธรรม ลำเอียง หรือใช้อำนาจบงการ ฯลฯ ก็เป็นจุดหักเหได้เช่นกัน
เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว ยังไงก็ต้องกัดฟันไปสู่ประชามติ เว้นเสียแต่จะคว่ำร่างมีชัยเสียเอง ในเวลาที่เหลือ 2 เดือน แต่คว่ำแล้วจะทำอย่างไร ก็คิดไม่ออกเหมือนกัน
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น