0
วันนี้ที่พูดที่ธรรมศาสตร์ (ยืมรูปวรัญชัย เพราะเป็นสัญลักษณ์ชัดเจนว่าถ้ารับร่าง=ประชามติให้ความชอบธรรม ม.44 อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ)
http://www.prachatai.com/journal/2016/02/63854

เสริมนิดนึงเรื่องจริยธรรมว่า มาตรา 215 ให้ศาล รธน.องค์กรอิสระร่วมกำหนดมาตรฐานจริยธรรมขึ้น ใช้บังคับกับศาล รธน.และองค์กรอิสระ โดยใช้บังคับกับ ส.ส. ส.ว. รัฐมนตรีด้วย

ตรงนี้ก็อ่อนเหตุผลแล้ว มาตรฐานจริยธรรมของศาลกับนักการเมือง จะเป็นฉบับเดียวกันได้อย่างไร ศาลต้องเข้มกว่า เช่น ต้องเป็นกลาง ต้องวางตัวสมถะ ฯลฯ แต่นักการเมืองต้องแยกข้าง ต้องพบปะผู้คนกว้างขวาง ฯลฯ ถ้าใช้จริยธรรมเคร่ง นักการเมืองก็ซวย ถ้าใช้จริยธรรมหย่อน ศาลก็ยิ้ม

มาตรฐานจริยธรรมนี้ ศาล รธน.จะเอามาใช้ปลดรัฐมนตรี นายกฯ ตามมาตรา 155(4) (5) และ 165 หรือ ปปช.ใช้ตามมาตรา 230,231 แล้วยื่นศาล รธน.

ถามว่าจริยธรรมคืออะไร คือความประพฤติที่สังคมเห็นว่าไม่เหมาะสม แต่ไม่ผิดกฎหมาย (เพราะถ้าผิดกฎหมาย ก็ต้องไปมาตราอื่น) ความผิดทางจริยธรรมเป็นเรื่องทางสังคม ศาลตัดสินไม่ได้ เพราะความเห็นของศาลในเรื่องที่ไม่ใ่ช่กฎหมาย มีค่าเท่ากับความเห็นมนุษย์ขี้เหม็นทั่วไป

ผมยกตัวอย่าง เช่น นายกฯ ประเทศหนึ่ง โวยวายด่าสื่อ ไอ้ห่า โยนของ ฯลฯ ผิดจริยธรรมไหม บางคนอาจบอกไม่เหมาะเป็นผู้นำ แต่บางคนก็ชอบใจ นี่เป็นเรื่องนานาจิตตัง ซึ่งเอาศาลมาตัดสินไม่ได้ เอาคน 9 คนมาชี้ผิดไม่ได้ เป็นเรื่องที่สังคมจะวิพากษ์วิจารณ์ ติฉินนินทา ในทางการเมืองถ้ามาจากเลือกตั้ง ก็จะต้องปรับตัว ไม่งั้นประชาชนไม่เลือก แต่ถ้าเสียงข้างมากเลือก ก็ต้องยอมรับ เอาศาลมาปลดไม่ได้ (แต่นี่พอดีไม่มาจากเลือกตั้ง และวิจารณ์ไม่ได้ 55)


แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 
Top