โครงการรถคันแรกเป็นพิษจริงหรือ?
ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา มีการโจมตีโครงการต่างๆ ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หนึ่งในโครงการนั้นคือ "โครงการรถคันแรก" ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำขึ้นมาเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์ หลังจากวิกฤติการณฺน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 โดยใช้มาตราการณ์ลดหย่อนภาษีสรรพาสามิต เพื่อกระตุ้นให้คนที่มีกำลังซื้อสามารถซื้อรถใหม่ในราคาถูกลง โดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์มองว่า หากกระตุ้นอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยแล้ว จะทำให้มีการจ้างแรงงานมากขึ้นในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนสสำหรับรถยนต์ โรงงานประกอบรถยนต์ ธุรกิจด้านการขายและการตลาด ไปจนถึงธุรกิจไฟแนนซ์
หากไม่มีโครงการรถยนต์คันแรก อุตสหากรรมรถยนต์จะสะสดุดและมีผลกระทบเป็นวงกว้าง การเอาภาษีสรรพสามิตไปแลกกับการให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไปได้ดี รัฐบาลจะมารายได้จากภาษีในส่วนอื่นๆ ในส่วนปลายน้ำของวงการรถยนต์มาทดแทนได้ เช่น ภาษีจากค่าแรง ค่าจดทะเบียน ภาษีธุรกิจ เป็นต้น
โครงการรถคันแรกถือได้ว่าประสพความสำเร็จเป็นอย่างมาก อุตสาหกรรมรถยนต์ที่จมน้ำเมื่อปลายปี 2554 ฟื้นกลับขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วในปี 2555 โดยรายงานข่าวจากกรมสรรพสามิตเปิดเผยว่า ข้อมูลโครงการรถยนต์คันแรกจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2558 พบว่า ตั้งแต่ดำเนินโครงการมีผู้ได้รับสิทธิ์ทั้งสิ้น 1,234,986 ราย คิดเป็นเงิน 91,140 ล้านบาท
ในเวลานั้น สถานภาพของเศรษฐกิจไทย ดูแข็งเกร่ง ประชาชนมีความรู้สึกมั่นคงในการทำงาน มีรายได้ที่ดีและมั่นคง จึงเข้าร่วมโครงการรถคันแรก และส่วนใหญ่จะซื้อรถคันแรกด้วยเงินผ่อนระยะเวลา 5 ปี เป็นอย่างน้อย
แต่ในปลายปี 2556 ลามไปถึงกลางปี 2557 มีการประท้วงรัฐบาลโดยกปปส. จนไปถึงการยึดอำนาจโดยคสช. จากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ทำให้ความมั่นคงของประชาชนลงลดฮวบๆ อุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ ได้รับผลการกระทบเป็นอย่างมาก โรงงานปิดตัวเองลง มีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน การค้าขายกับต่างประเทศลดลง การส่งออกติดลบ คนไทยทยอยกันตกงานมากขึ้นๆ จนทำให้เศรษฐกิจไทยทรุดลงถึงทุกวันนี้
เมื่อผู้ซื้อรถเงินผ่อนในโครงการรถคันแรก ขาดความมั่นคงด้านหน้าที่การงานและรายได้ จึงทำให้เกิดปัญหาผู้ซื้อไม่สามารถผ่อนรถได้ตามกำหนด บริษัทไฟแนนซ์ที่ปล่อยกู้จึงต้องดำเนินการยึดรถ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "พิษของรถคันแรก" จากการยึดอำนาจ นั่นเอง
การกล่าวหาว่า โครงการรถคันแรก ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ดีปีเดียว หลังจากนั้นแย่ลง มันเป็นการกล่าวอ้างหรือกล่าวด้วยความจริงหรือเปล่า?
จากข้อมูลของกรมสรรพสามติ วันนี้ยังมีใบจองจากโครงการรถคันแรกที่ผู้ขายรถยังไม่สามารถส่งมอบรถได้เหลืออีก 111,535 ราย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ที่บอกว่าอุตสาหกรรมรถยนต์แย่ลงเพราะโครงการรถคันแรกนั้น อุตสาหกรรมรถยนต์ยังผลิตรถเต็มที่ต่อเนื่องมาตลอด แม้กระทั่งในวันนี้ ยังผลิตไม่ทันขายเลย
แต่ที่ยอดการผลิตที่ลดลง หากมองกันดีๆ นั่นคือ ยอดการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก เนื่องจากได้มีการแอบย้ายฐานการผลิตรถยนต์ไปยังประเทศเพื่อบ้านเช่น เวียดนามและอินโดนิเซีย ดังนั้นยอดการผลิตรถเพื่อส่งออกที่เคยมาที่ประเทศไทย ตอนนี้ใบสั่งผลิตรถไปที่ประเทศอินโดนิเซียและเวียดนามแทนแล้ว จึงทำให้ยอดส่งออกรถยนต์จากไทยลดลงนั่นเอง
วันนี้ กระทรวงการคลังได้มีแผนการออกมา 2 อย่างนั่นคือ
1. ลดระยะเวลาถือครองรถจากโครงการรถคันแรก จาก 5 ปี ให้เหลือ 3 ปี
สิ่งที่น่าคิดคือ
- ผู้ที่ถือครองรถคันแรกจะขายรถอย่างไร ในเมื่อยังผ่อนรถไม่หมด
- หลายคนก็โดนไฟแนนซ์ยึดรถไปแล้ว เพราะไม่มีปัญญาผ่อนต่อ
- คนที่ถือครองรถ ที่พยายามรักษาการครองรถเอาไว้ หากขายรถไปแล้ว จะเอาเงินที่ไหนไปซื้อรถใหม่ เพราะอนาคตยังไม่มีความมั่นคงเลย
2. การกระตุ้นให้ส่งออกรถยนต์มือสองไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากมีแนวความคิดว่า หากลดระยะเวลาถือครองรถคันแรกแล้ว ผู้ถือครองจนขายรถออกมาเป็นจำนวนมาก และจะมีผลกระทบต่อธุรกิจการค้าขายรถยนต์มือสอง จึงคิดหาทางระบายรถมือสองจากประเทศไทยออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
สิ่งที่น่าคิดคือ
- รถยนต์จากโครงการรถคันแรก ทะลักเข้าสู่ตลาดรถยนต์มือสองมาตั้งแต่หลังคสช.ยึดอำนาจแล้ว รถเหล่านั้นมาจากไฟแนนซ์ ที่ยึดรถมาจากคนที่ไม่มีความสามารถที่จะผ่อนต่อได้แล้ว
- รถยนต์ในประเทศไทย ผลิตออกมาโดยมีพวงมาลัยอบู่ด้านขวา เพื่อใช้ขับรถชิดซ้าย ในขณะที่เพื่อนบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นลาว พม่า เขมร และเวียดนาม ล้วนใช้รถที่มีพวงมาลัยอยู่ด้านซ้าย เพราะเขาขับรถชิดขวากัน อย่างนี้แล้วจะส่งออกรถมือสองจากประเทศไทยไปประเทศไหนล่ะ?
ในความเห็นส่วนตัว
โครงการรถคันแรก เป็นโครงการที่ดีมากโครงการหนึ่งของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ช่วยเหลือประชาชนเป็นจำนวนมาก และทำให้รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่มันล้มเหลวเพราะดันมีการประท้วงเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และทหารบ้าจี้ออกมาทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยทรุดลงอย่างต่อเนื่อง และทำให้ความมั่นคงในหน้าที่การงานและรายได้ของประชาชนหายไป วงการการเงินการธนาคารเจอปัญหาลูกหนี้ค้างชำระจนกลายเป็น NPL หรือหนี้เสีย เป็นจำนวนมาก
วันนี้การซื้อรถเงินผ่อน เป็นอะไรที่ทำได้ยากมากขึ้น เนื่องจากไฟแนนซ์เข้มงวดมากขึ้นและลดการให้กู้เงินซื้อรถน้อยลง จึงทำให้ยอดขายรถยนต์ใหม่และรถมือสองลดลงต่างหาก ไม่ใช่เกิดขึ้นจากโครงการรถคันแรกเลย.....จริงไหม?
ลองไปค้นหาข้อมูลแล้ว ด้วยการถามคนขายรถทั้งรถใหม่และรถมือสองดูก็ได้ว่า มันเกิดอะไรขึ้นกับการซื้อรถเงินผ่อนในวันนี้ อาจจะพบคำตอบกลับมาว่า ลูกค้าพอมี แต่ไฟแนนซ์ปล่อยกู้ให้....ลองดูกันนะ
แต่สิ่งที่แน่ๆ ก็คือ จำนวนรถยนต์มือสอง ออกมาทะลักตลาดแน่ๆ ซึ่งจะทำให้ราคารถยนต์มือสองลดลงอีกมาก คนที่มีกำลังซื้ออยากได้รถมือสองดีๆ ราคาถูก ก็เตรียมเงินเอาไว้นะ
..... เวรกรรมประเทศไทย .....

 
Top