"ถอดถอน ๒ มาตรฐาน"
เก็บความจากสัมภาษณ์ อ.วรเจตน์ตอนที่ ๒ (เวลามีน้อยต้องรีบเผยแพร่)
ประเด็นที่ไม่ค่อยมีคนสังเกต ภาค ๓ หมวด ๒ ส่วนที่ ๓ การถอดถอนจากตำแหน่ง
ฉบับแรกมาตรา ๒๕๓ "ภายใต้บังคับมาตรา ๗๔ วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหก ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง รัฐสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้" (วรรคสองให้รวมองค์กรอิสระ ผู้พิพากษา อัยการ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง)
โดยมาตรา ๒๕๔ วรรค ๘ บัญญัติว่า "มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา"
แต่ฉบับที่แก้ไขใหม่ มีการแบ่งแยก
"มาตรา ๒๓๘ ให้รัฐสภามีอำนาจพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ออกจากตำแหน่งได้
ให้วุฒิสภามีอำนาจพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด ซึ่งมีพฤติการณ์ตามวรรคหนึ่ง ออกจากตำแหน่งได้ แต่สำหรับการถอดถอนกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต" (วรรคสามให้รวมองค์กรอิสระ ผู้พิพากษา อัยการ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไว้ในอำนาจวุฒิสภาตามวรรคสอง)
อ๊ะอ๊ะ แค่นั้นยังไม่พอ ข้ามไปดูมาตรา ๒๔๐ วรรคสอง
"...มติรัฐสภาที่ให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๓๘ วรรคหนึ่ง ออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา"
"และมติวุฒิสภาที่ให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๓๘ วรรคสองและวรรคสาม ออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา"
โดยมาตรา ๒๔๐ วรรคสามเขียนต่อเนื่องว่าผู้ถูกถอดถอนถูกตัดสิทธิห้าปี "แต่ถ้าเป็นกรณีที่ถูกถอดถอนเพราะเหตุที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ให้มีผลเป็นการตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือสิทธิในการดำรงตำแหน่งอื่นตลอดไป"
เฮียเติมไม้เอกไหมละครับ ไอ้พวกมาจากเลือกตั้งต่ำศักดิ์อย่าเสือกมาถอดถอนศาล องค์กรอิสระ แต่พวกมึงนะให้ ส.ว.สรรหาลงไปถอดถอนได้
คิดเลขนะ ส.ส.๔๕๐ ส.ว.๒๐๐ (มาจากสรรหา ๑๒๓) ถ้าฝ่ายค้านมีซัก ๒๐๐ แพ้มติไม่ไว้วางใจ แต่ไปหาเสียง ส.ว. แค่ ๑๒๖ คน ก็ถอดนายกฯได้ ไม่ใช่ถอดถอนธรรมดาถึงตัดสิทธิตลอดชีวิต
ขณะที่การถอดถอนตุลาการ ส.ว.มี ๒๐๐ คนต้องใช้เสียง ๓ ใน ๕ เกิน ๑๒๐ แปลว่าไม่มี ส.ว.สรรหาร่วมมือ ก็ไม่มีทางถอดถอนได้ แต่ถ้า ส.ว.สรรหาสุมหัวกัน ตุลาการคนไหนเสือกแสดงจุดยืนประชาธิปไตย ก็ตกเก้าอี้ (อย่าลืม ๓ ปีแรก ๑๒๓ คนมาจาก คสช.)
นี่คือบทบัญญัติตัดสิทธิตลอดชีวิตที่ภาคภูมิใจกันนักหนา แต่เอามาบังคับใช้ ๒ มาตรฐาน และลงโทษตัดสิทธิตลอดชีวิตเพียงเพราะมีพฤติการณ์ "ส่อ"

 
Top