0


พบแบคทีเรียสามารถ "มองเห็น" ได้
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนแมรี่ในกรุงลอนดอน พบว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเช่นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน หรือไซยาโนแบคทีเรีย ก็สามารถ "มองเห็น" ได้ โดยใช้ทั้งเซลล์เป็นเสมือนลูกตารับรู้แสงและภาพที่มาจากภายนอก แม้เซลล์นั้นจะมีขนาดเล็กเพียง 0.003 มิลลิเมตรก็ตาม
ผลงานการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร อีไลฟ์ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นการค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อทดลองฉายแสงไปยังกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ดำรงชีพด้วยการสังเคราะห์แสง พบว่าพวกมันต่างเคลื่อนที่เข้าหาต้นกำเนิดของแสงเสมือนมีดวงตามองเห็น
ทั้งนี้ แสงจากภายนอกสามารถผ่านเข้าไปในเซลล์ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน โดยแสงมีการหักเหที่ผนังเซลล์ด้านที่แสงตกกระทบ และไปรวมปรากฏเป็นภาพหัวกลับที่ผนังเซลล์ภายในด้านตรงข้าม ทำให้เกิดภาพเลือนรางที่ไม่สู้คมชัดมากนัก แต่ก็มีความเข้มพอที่จะกระตุ้นให้แบคทีเรียขยับเข้าหาแสงได้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวใช้หลักการเดียวกันกับกล้องถ่ายรูปหรือดวงตาของมนุษย์นั่นเอง


แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 
Top