นักวิจัยเชื่อว่าไฟกะพริบอาจช่วยแก้อาการเจ็ทแล็กได้ คุณล่ะครับทำอย่างไรให้หายจากอาการนี้?
นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในสหรัฐฯ ระบุว่า การนอนหน้าแสงไฟกะพริบ ที่คล้ายแสงแฟลชจากกล้องถ่ายรูป อาจช่วยให้นักเดินทางสามารถปรับตัวเข้ากับเขตเวลาใหม่ และช่วยแก้อาการเจ็ทแล็กได้
ร่างกายของคนเรามักปรับตัวให้สอดคล้องไปตามเวลากลางวันและกลางคืนที่ตัวเอง เคยชิน ดังนั้นเมื่อเดินทางข้ามเขตเวลาใหม่ก็ทำให้ร่างกายต้องปรับตัวให้เหมาะสมไป ตามเวลานั้น ๆ แม้คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยประสบปัญหาใน การปรับตัวเมื่อเดินทางข้ามเขตเวลา 1 หรือ 2 เขต แต่การเดินทางข้ามเขตเวลาหลายเขตนั้นก็อาจทำให้นาฬิกาชีวภาพของร่างกายเกิด ความสับสนได้ และจะทำให้มีอาการต่าง ๆ อาทิ เหนื่อยล้า อารมณ์หงุดหงิด และรู้สึกสับสนงุนงงอยู่นานหลายวัน
นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในสหรัฐฯ ระบุว่า การนอนหน้าแสงไฟกะพริบ ที่คล้ายแสงแฟลชจากกล้องถ่ายรูป อาจช่วยให้นักเดินทางสามารถปรับตัวเข้ากับเขตเวลาใหม่ และช่วยแก้อาการเจ็ทแล็กได้
ร่างกายของคนเรามักปรับตัวให้สอดคล้องไปตามเวลากลางวันและกลางคืนที่ตัวเอง เคยชิน ดังนั้นเมื่อเดินทางข้ามเขตเวลาใหม่ก็ทำให้ร่างกายต้องปรับตัวให้เหมาะสมไป ตามเวลานั้น ๆ แม้คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยประสบปัญหาใน การปรับตัวเมื่อเดินทางข้ามเขตเวลา 1 หรือ 2 เขต แต่การเดินทางข้ามเขตเวลาหลายเขตนั้นก็อาจทำให้นาฬิกาชีวภาพของร่างกายเกิด ความสับสนได้ และจะทำให้มีอาการต่าง ๆ อาทิ เหนื่อยล้า อารมณ์หงุดหงิด และรู้สึกสับสนงุนงงอยู่นานหลายวัน
บางคนแก้ปัญหาที่ว่านี้ด้วยวิธีการต่าง ๆกันไป เช่น
การทานเมลาโทนินชนิดเม็ด
ซึ่งออกฤทธิ์เหมือนกับฮอร์โมนที่ร่างกายคนเราหลั่งออกมาในเวลากลางคืน
ส่วนบางคนใช้วิธีการส่องไฟ เพื่อเลียนแบบแสงในเวลากลางวัน
แต่งานวิจัยล่าสุดของ ดร.เจมี ไซท์เซอร์ และคณะจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กลับพบว่า การนอนหลับอยู่หน้าแสงไฟกะพริบมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยจากการทดลองกับอาสาสมัคร 39 คน พบว่า การนอนอยู่หน้าไฟที่กะพริบทุก 10 วินาทีเป็นเวลา 1 ชั่วโมงสามารถชะลอความรู้สึกง่วงนอนได้ราว 2 ชั่วโมง
นักวิจัยบอกว่า แสงไฟกะพริบจะทะลุผ่านเปลือกตา ทำให้เซลล์ตรวจจับแสงที่อยู่ด้านหลังของดวงตาจะส่งข้อความไปยังสมอง เพื่อให้ปรับนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย เนื่องจากแสงทำให้สมองคิดว่าช่วงเวลากลางวันยาวนานกว่าความเป็นจริงนั่นเอง #Jetlag
แต่งานวิจัยล่าสุดของ ดร.เจมี ไซท์เซอร์ และคณะจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กลับพบว่า การนอนหลับอยู่หน้าแสงไฟกะพริบมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยจากการทดลองกับอาสาสมัคร 39 คน พบว่า การนอนอยู่หน้าไฟที่กะพริบทุก 10 วินาทีเป็นเวลา 1 ชั่วโมงสามารถชะลอความรู้สึกง่วงนอนได้ราว 2 ชั่วโมง
นักวิจัยบอกว่า แสงไฟกะพริบจะทะลุผ่านเปลือกตา ทำให้เซลล์ตรวจจับแสงที่อยู่ด้านหลังของดวงตาจะส่งข้อความไปยังสมอง เพื่อให้ปรับนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย เนื่องจากแสงทำให้สมองคิดว่าช่วงเวลากลางวันยาวนานกว่าความเป็นจริงนั่นเอง #Jetlag
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น