0



การค้นพบ "คลื่นความโน้มถ่วง" มีผลดีอย่างไร

เมื่อวานนี้ (11 ก.พ.) นักวิทยาศาสตร์นานาชาติภายใต้โครงการความร่วมมือ LIGO แถลงผลการตรวจพบ "คลื่นความโน้มถ่วง" (Gravitational waves) ว่ามีอยู่จริงตามการทำนายด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

นักวิทยาศาสตร์ตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง ซึ่งเป็นคลื่นของกาล-อวกาศที่ส่งออกมาจากการชนกันของหลุมดำ 2 หลุม ที่คาดว่าอยู่ห่างจากโลกออกไปกว่าหนึ่งพันล้านปีแสงได้ โดยใช้การยิงลำแสงเลเซอร์ผ่านอุโมงค์ยาวรูปตัวแอล และคอยตรวจจับการรบกวนลำแสงดังกล่าวในระดับอนุภาค ซึ่งจะพิสูจน์การมีอยู่ของคลื่นความโน้มถ่วงในจักรวาล โดยห้องทดลองในโครงการ LIGO สองแห่งในสหรัฐฯ เป็นผู้ตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงได้

ทั้งนี้ คลื่นความโน้มถ่วงมักเกิดจากเหตุการณ์รุนแรงในจักรวาล เช่นการระเบิดของดาวฤกษ์และการชนกันของหลุมดำ ซึ่งคลื่นความโน้มถ่วงจะนำพาข้อมูลจากเหตุการณ์ดังกล่าวในอดีตให้เดินทางผ่านสิ่งต่าง ๆ และแผ่ไปในจักรวาลโดยไม่ถูกรบกวน การค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงมีผลดีต่อวงการวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง ติดตามรายละเอียดในวิดีโอนี้ค่ะ #GravitationalWaves #คลื่นความโน้มถ่วง


Loading video....
Posted by บีบีซีไทย - BBC Thai on Friday, February 12, 2016

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 
Top