0

(ข่าวสดขุดรูปที่ไหนมาหว่า นึกไม่ออก 555)
กสม.ชุดใหม่ประชุมนัดแรก ก็รับมรดกป้าอัม- สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) จะลดชั้นจาก A เป็น B จากที่ ICC เสนอเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่ให้เวลาแก้ไข 1 ปี ตอนนี้เหลือเวลาคัดค้าน 28 วัน ฝันไปเถอะว่าจะค้านได้ 555 เพราะตอนเลือกชุดนี้ OHCHR เขาก็วิจารณ์ว่ากระบวนการไม่เป็นประชาธิปไตย
มันจะเป็นประชาธิปไตยได้ไง กรรมการสิทธิมนุษยชน สรรหาโดยศาล+ประธาน สนช. แล้วเอาเข้า สนช.ที่มีทหารกึ่งหนึ่ง
ไม่ใช่แค่ กสม.หรอก ย้อนดูปีครึ่ง สนช.ตั้งองค์กรอิสระ-กรรมการต่างๆ ไปไม่รู้กี่คน แค่ ปปช.ก็ 5 คน แล้วจะมาตรวจสอบราชภักดิ์นี่นะ?
จำได้ไหมว่า ตอนสรรหา ปปช. ประยุดใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.แก้ไขกรรมการสรรหา จากเดิม 7 คนเหลือ 5 คน ประธาน 3 ศาล ประธาน สนช. แล้วยัดวิษณุ เครืองาม ลงไป บอกว่าให้มีครบ "อำนาจ 3 ฝ่าย" นี่ถ้าเป็นรัฐบาลเพื่อไทย แม่-โดนเป่านกหวีดหูแตกตาย แล้วดูสิได้ใคร วัชรพลลาออกจากที่ปรึกษาประวิตรไปสมัคร ได้คั่วเก้าอี้ประธาน ปปช.เฉยเลย
รธน.40 ตั้งองค์กรอิสระ มีที่มาจากสรรหา แล้วให้วุฒิสภาจากเลือกตั้งลงมติ รัฐประหาร 49 เข้ามา ตั้ง ปปช. 9 คนหน้าตาเฉย แล้ว รธน.50 บทเฉพาะกาลก็รับรองให้อยู่ 9 ปี 5 คนอยู่ทนมาจนมีรัฐประหารอีกที
รัฐประหาร 57 ไม่ยุบศาล รธน.ไม่ยุบองค์กรอิสระ อ้างว่ายังมีอิสระ แล้วก็ใช้กระบวนการสรรหาพิการ รธน.50 ให้มีประธานสภาผู้แทน-ผู้นำฝ่ายค้าน นี่ไม่มีสภา พรเพชรเข้าไปนั่งเอง แล้วเอามาเข้า สนช.ของตัวเอง ที่มาจากรัฐประหารตั้ง แล้วก็ยังบอกว่าเป็นอิสระ แล้วจะให้อยู่ไปจนงอกราก 7 ปี 9 ปี
ลองไล่ดูนะ ปีครึ่งที่ผ่านมา สนช.ตั้งใครบ้าง กสม. 7 คน ป.ป.ช. 5 คน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน ผู้ตรวจการแผ่นดิน 2 คน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 7 คน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน กรรมการ ปปง. 9 คน ป.ป.ท. 1 คน เลขาฯ กฤษฎีกา อัยการสูงสุด กรรมการอัยการ 2 คน กรรมการตุลาการศาลปกครอง 2 คน (อุดม รัฐอมฤต มาร่างรัฐธรรมนูญด้วย) กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม 2 คน
แล้ว กรธ.มันก็จะเขียนบทเฉพาะกาลให้คนพวกนี้เป็นเทวดา อิสระ เป็นกลาง อยู่ต่อไปจนครบวาระ ทั้งที่แม่-เขียนหลอกตาคนสวยหรู เช่นจะให้วุฒิสภามาจากเลือกตั้งทางอ้อม คนดี คนสะอาด ปลอดการเมือง ฯลฯ แต่กลไกรัฐประหารตั้งองค์กรอิสระไว้หมดแล้ว

000000

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประชุมนัดแรก ก็มีภารกิจสำคัญคือต้องลนลานปกป้องสถานะตัวเอง ไม่ให้ถูกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ลดชั้นจาก A เป็น B

ที่จริงเรื่องนี้เป็น "มรดกป้าอัม" ได้ของขวัญส่งท้ายปีที่แล้ว กรรมการประสานงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทั่วโลก (ICC) เสนอให้ลดเกรด กสม.ไทย แต่ OHCHR ยังให้โอกาสแก้ไข 1 ปี

บัดนี้เมื่อเวลาผ่านไปท่ามกลางความสุขของคนไทย ภายใต้รัฐประหารไม่เหมือนใครในโลก ไม่เห็นจำเป็นต้องมีสิทธิมนุษยชน OHCHR ก็แจ้งผลการทบทวนแล้วว่า สอบได้ซ้ำชั้น มีเวลาคัดค้านอีก 28 วัน

ICC ให้กสม.สอบตกเพราะอะไร เพราะมีปัญหาตั้งแต่กระบวนสรรหาไม่หลากหลาย ภาคประชาสังคมไม่มีส่วนร่วม มีปัญหาความเป็นอิสระจากจุดยืนทางการเมือง และไม่ตอบรับการละเมิดสิทธิที่รุนแรง โดยเฉพาะเหตุการณ์ปี 53 กว่าจะทำรายงานก็งมอยู่ 3 ปี (ถูกวิพากษ์อึงมี่อีกต่างหาก)

บางคนอาจบอกว่า อ้าว ก็กรรมของป้า ก็กรวดน้ำทำบุญสะเดาะเคราะห์เสียสิ ชุดใหม่ไม่เกี่ยวกันนี่ แต่อย่าลืมว่าตอนสรรหาชุดนี้ OHCHR ก็ทักท้วงนะครับว่ากระบวนการสรรหา ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งต้องโปร่งใสมีการแสดงความคิดเห็นได้กว้างขวาง

เรื่องนี้ต้องย้อนนิดว่า รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดกรรมการสรรหา กสม.เหมือน กกต. ป.ป.ช. คือมีประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้าน ผู้ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก ฝ่ายละ 1 คนรวมเป็น 7 คน แล้วส่งวุฒิสภาลงมติ ซึ่งก็โดนวิจารณ์ว่าเอาศาลมาสรรหานักสิทธิมนุษยชน

ครั้นไม่มีรัฐธรรมนูญก็ยังทำแบบเดิม แต่ไม่มีผู้นำฝ่ายค้าน ให้ประธาน สนช.แทนประธานสภา แถมพอดี ประธานศาลปกครองเดี้ยง จากการสอบสวนภายใน กรรมการสรรหาเลยเหลือ 5 คน

นี่ยังไม่พูดถึงว่าสนช.มาจากแต่งตั้ง มีทหารร่วมกึ่งหนึ่ง ซ้ำอยู่ในยุคที่เกรี้ยวกราดผู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนว่าทำผิดกฎหมาย ซึ่งก็คือกฎอัยการศึกและมาตรา 44 แล้วยังมีหน้าไปฟ้ององค์กรสิทธิมนุษยชน

กสม.ทั้ง 7 ก็ถามตัวเองดูแล้วกันว่ากระบวนการสรรหาคัดเลือกพวกท่าน สมควรยอมรับหรือไม่

ประเด็นชวนฉงนเมื่อมองภาพใหญ่กว่า กสม. คือเหตุใดสังคมไทยจึงเห็นกระบวนการสรรหาคัดเลือกองค์กรอิสระภายใต้รัฐ ธรรมนูญชั่วคราว เป็นความชอบธรรมให้ดำรงตำแหน่งถาวร 7 ปี 9 ปี ต่อเนื่องไปในรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งที่รัฐธรรมนูญอาจเปลี่ยนเงื่อนไข ที่มา อำนาจ คุณสมบัติ ฯลฯ แต่ท่านๆ ทั้งหลายก็สามารถสวมอำนาจได้ยาวนานไม่ขัดเขินสะทกสะท้าน

เปล่านี่ไม่ใช่แค่เรื่อง "มาจากรัฐประหาร" แต่มันคือการสร้างองคาพยพแปลกปลอมค้างคา ที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ยกตัวอย่างรัฐธรรมนูญ 2550 ให้ ป.ป.ช.มาจากสรรหา ผ่านมติวุฒิสภาที่มาจากเลือกตั้งกึ่งหนึ่ง แต่บทบัญญัตินี้ไม่ได้ใช้ เพราะ คปค.ตั้ง ป.ป.ช.ไว้ 9 คน โดย 5 คนอยู่ทนจนมีรัฐประหารใหม่

ซึ่งสนช.ก็เพิ่งเลือก ป.ป.ช. 5 คนที่จะอยู่ไป 9 ปี โดยหัวหน้า คสช.มีคำสั่งที่ 13/2558 แก้ไของค์ประกอบคณะกรรมการสรรหาให้เหลือแค่ 5 คนคือ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธาน สนช.และรองนายกฯ ที่ ครม.มอบหมาย ได้แก่วิษณุ เครืองาม ท่านให้เหตุผลว่า "เพื่อให้ครบอำนาจ 3 ฝ่าย"

เหตุผลนี้ถ้าเป็นรัฐบาลอีปู (นะคะ) คงโดนเป่านกหวีดหูแตกตาย แล้วผลเป็นไง รองนายกฯวิษณุยอมรับว่ามีคนใกล้ชิด คสช.แต่ไม่แปลกอะไร

ปีครึ่งที่ผ่านมา สนช.เลือกใครบ้าง นอกจาก กสม. 7 คน ป.ป.ช. 5 คน ยังมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน ผู้ตรวจการแผ่นดิน 2 คน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 7 คน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน กรรมการ ปปง. 9 คน ป.ป.ท. 1 คน เลขาฯ กฤษฎีกา อัยการสูงสุด (ซึ่งเป็น สนช.เองทั้งคู่) กรรมการอัยการ 2 คน กรรมการตุลาการศาลปกครอง 2 คน (คนหนึ่งกำลังร่างรัฐธรรมนูญ) กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม 2 คน (คนหนึ่งถูกประธานศาลฎีกาทำหนังสือแจ้งว่ามีผู้คัดค้าน)

นี่ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล และไม่ใช่แค่มาจากรัฐประหาร แม้แน่ละย่อมถูกตั้งคำถาม เช่น ป.ป.ช. 5 ใน 9 ที่สรรหาคัดเลือกโดย "อำนาจ 3 ฝ่าย" จะตรวจสอบรัฐบาลนี้หรือไม่

แต่มองให้ยาวไกล รัฐธรรมนูญใหม่อุตส่าห์ขายฝัน เลือกตั้งวุฒิสภาทางอ้อม ถ้ารัฐธรรมนูญผ่านประชามติทำไมจึงไม่ให้คนดีคนสะอาดปราศจากการเมืองทั้งหลาย เข้ามาใช้อำนาจเลือกองค์กรอิสระใหม่หมด

กลัวแต่ว่าจะเขียนบทเฉพาะกาลให้ผู้ที่ควรอยู่ "ชั่วคราว" กลายเป็น "ค้างคืน" นี่สิครับ

Source :- FB Atukkit Sawangsuk &  http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1449239209

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 
Top