0

นักดาราศาสตร์ซึ่งกำลังเฝ้าจับตามองดาวหางขนาดยักษ์ ตั้งแต่อยู่ห่างไกลจากโลก อย่างแทบไม่กะพริบ
ดาวหางเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณแถบที่อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี พวกเขาได้รู้สึกผิดสังเกต พบว่ามีดาวหางขนาดยักษ์มีจำนวนเป็นเรือนร้อย และมีวงโคจรที่ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น ทำให้มีวิถีที่อาจจะเข้ามาใกล้โลกได้ ดาวหางยักษ์เหล่านี้เป็นก้อนน้ำแข็งและฝุ่นละอองขนาดยักษ์ มีขนาดโตใหญ่ระหว่าง 50-100 กิโลเมตร มีรูปทรงเป็นวงรี ทำให้วงโคจรซึ่งตั้งต้นมา แต่ข้างหลังดาวเนปจูน อันเป็นดาวเคราะห์ในสุริยจักรวาล ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด
ดาวหางน่าหวาดหวั่นเหล่านี้ มีวงโคจรตัดกับวงโคจรของดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ซึ่งต่างมีแรงดึงดูดที่จะดีดให้ดาวหางเข้ามาใกล้โลกสักครั้งหนึ่ง ในช่วงเวลาระหว่าง 40,000 ถึง 100,000 ปี พวกดาวหางรุ่นใหญ่นี้ เมื่อโคจรเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์ ก็จะค่อยแตกย่อยออกเป็นลำดับ ซึ่งจะทำให้เห็นเป็นหางตามชื่อของมัน และอาจจะเพ่นพ่านออกมาจนอาจจะโดนโลกของเราก็ได้
นักดาราศาสตร์ได้ชี้ว่า ดาวหางใหญ่นี้ ต่างมีมวลมากกว่าพวกดาวเคราะห์น้อย ที่เคยโคจรเฉียดใกล้โลกอยู่เสมอ นักดาราศาสตร์ได้เฝ้ามองพวกดาวหางเหล่านี้ ในช่วงระยะเวลา 30 ปีมานี้หนักยิ่งขึ้น โดยพยายามที่จะติดตามและวิเคราะห์ลู่ทางของมันที่อาจจะมาชนโลกของเราได้ “ถ้าหากเราคาดไม่ผิด ดาวหางระยะไกลเหล่านี้ ต้องถือว่าเป็นภัยร้ายแรง ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเข้าใจมันให้มากขึ้น”.
source :- http://www.thairath.co.th/content/553697


แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 
Top