กรณีประวิตร ถูกจับปิดตายังถูกออกซ้ำเติม โดนกนกโพสต์ fb ไล่ สลิ่มสะใจ
มันคือความมืดบอดของสังคมที่ไม่ใช่ "ยุคมืด" แบบเผด็จการทหารในอดีต แต่มันแย่กว่าเพราะเป็นยุคปัญญามืด
สังคมไทยมีต้นทุนทั้งศีลธรรมดั้งเดิม และต้นทุนประชาธิปไตย ประชาสังคม สื่อ นักวิชาการ NGO พลังที่สั่งสมมาตั้งแต่ 14 ตุลา พฤษภา 35 แต่ตอนนี้ "เทฟลอนลอก" คนดีลอกเพราะความเกลียดชัง สื่อ นักวิชาการ NGO เสื่อมเพราะใช้วิชาชีพเป็นเครื่องมือทางการเมือง
มันคือความมืดบอดของสังคมที่ไม่ใช่ "ยุคมืด" แบบเผด็จการทหารในอดีต แต่มันแย่กว่าเพราะเป็นยุคปัญญามืด
สังคมไทยมีต้นทุนทั้งศีลธรรมดั้งเดิม และต้นทุนประชาธิปไตย ประชาสังคม สื่อ นักวิชาการ NGO พลังที่สั่งสมมาตั้งแต่ 14 ตุลา พฤษภา 35 แต่ตอนนี้ "เทฟลอนลอก" คนดีลอกเพราะความเกลียดชัง สื่อ นักวิชาการ NGO เสื่อมเพราะใช้วิชาชีพเป็นเครื่องมือทางการเมือง
ทหารก็คือทหาร ยังไงมันก็คิดแบบทหาร ที่แย่กว่าทหารคือคนพวกนี้ แต่ก็อย่างที่ อ.วรเจตน์พูด สังคมไทยกำลังลอกคราบ มันจะเสื่อมจนถึงที่สุดก่อน
ไม่มีอะไรทำลายคนดีได้มากไปกว่าการที่คนดีรู้สึกว่าจะต้องปกป้องความดีด้วย การเดินหน้าฆ่ามัน ปกป้องศีลธรรมด้วยการปิดกั้นเสรีภาพกำจัดคนเห็นต่าง
ไม่มีอะไรทำลาย NGO ได้มากไปกว่าการยอมรับร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่มอำนาจคนชั้นกลางระดับบนคนมั่งมี กดขี่อำนาจเลือกตั้งของคนจนคนชนบท ไม่มีอะไรทำลายสื่อได้มากไปกว่าการเลือกข้างสนับสนุนอำนาจปิดกั้นเสรีภาพ สื่อด้วยกัน ไม่มีอะไรทำลายนักวิชาการได้มากไปกว่าการบิดเบือนหลักวิชาเพื่อเอาชนะทางการเมือง ไม่มีอะไรทำลายนักนิติศาสตร์ได้มากไปกว่าการยอมรับรัฏฐาธิปัตย์ที่ทำลายนิติรัฐ
คนไทยอาจบอกว่าการใช้อำนาจ คสช.จำเป็นและเป็นของธรรมดา ชินซะแล้ว เพราะเราเกิดมาในประเทศชิงอันดับ กินเนสส์บุ๊กรัฐประหารมากที่สุดในโลก การแยกทางระหว่างนักข่าวกับต้นสังกัดก็ธรรมดา มีทุกค่ายถมเถไป (ต้องชมผู้บริหารด้วยซ้ำที่ปกป้องเสรีภาพ เรียกร้องให้ปล่อยตัวจนสำเร็จ)
แต่ที่ไม่ธรรมดา ก็คือความเกลียดชังคนเห็นต่างกระทั่งสะใจสมใจเมื่ออีกฝ่ายประสบชะตากรรม ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรก มันมีมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยา 2549 รุนแรงขึ้นตลอด 9-10 ปี กระทั่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ใช้ทำรัฐประหาร 2557 แต่ถามจริง เราเกลียดกันน้อยลงหรือเปล่า
หรือว่ายิ่งปิดหู ปิดตาดราม่ามากขึ้น บางครั้งก็ไปแสดงออกเรื่องอื่น เช่นเห็นช่างภาพฮังการีเตะตัดขาผู้อพยพก็โพสต์ด่ากันสนั่นเมือง ลืมเรื่องที่ตัวเองเคยด่านักข่าวไทยไปหลั่งน้ำตาให้ผู้อพยพโรฮิงยา
บางคนบอกว่าพูดไปทำไมมี มันก็เป็นทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ โอ๊ว ใช่เลยครับ เอาเข้าจริง "ไพร่" "ผู้ดี" มีตระกูลมีการศึกษาแค่ไหน เวลาเกลียดชังก็หน้ามืดก็ไม่ต่างกัน แค่จริตจะก้านเล็กน้อยเช่นตอนมีคนต่อย อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ผู้ดีก็ประณามว่าแบบนี้เราไม่ทำแต่มีคนทำแล้วอดไม่ได้ มันสะใจ
เพียงแต่สิ่งที่ต่างกันคือใครเชื่อถือในระบอบไหน ไพร่ที่เชื่อถือประชาธิปไตยต่อให้ถ่อยเพียงไร ก็ต้องยอมรับกติกาประชาธิปไตยที่ให้เสรีภาพคนเห็นต่าง ยึดมั่นนิติรัฐ เคารพสิทธิมนุษยชน ชนะเลือกตั้งแล้วยุให้รัฐบาลไปกลั่นแกล้งคุกคามฝ่ายตรงข้าม ก็จะโดนสุณัย ผาสุข แห่ง Human Rights Watch ประณาม
ตรงข้ามกับพวกที่สะใจ การใช้อำนาจพิเศษเล่นงานฝ่ายตรงข้าม กลับสู่เลือกตั้งแพ้เลือกตั้งก็ยังสามารถอ้างเสรีภาพเสียงข้างน้อย ใช้สิทธิชุมนุมขัดขวางเลือกตั้งโดยสงบตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
สังคมไทยเคยมีต้นทุนสูงมาก ทั้งต้นทุนจากศีลธรรมดั้งเดิม "เมืองไทยเมืองพุทธ" และต้นทุนทางประชาธิปไตย ความตื่นตัวเรื่องเสรีภาพ การเรียกร้องสิทธิด้านต่างๆ ผ่านสถาบันสื่อ สถาบันนักวิชาการ ภาคประชาสังคม NGO องค์กรสิทธิมนุษยชน ซึ่งเติบโตมาหลัง 14 ตุลา 2516 และพฤษภา 2535
แต่ต้นทุนเหล่านี้กำลังจะล่มสลาย "เทฟลอนลอก" เพราะโมหะโทสะความเกลียดชัง ไม่มีอะไรทำลายคนดีได้มากไปกว่าการที่คนดีรู้สึกว่าจะต้องปกป้องความดีด้วย การเดินหน้าฆ่ามัน ปกป้องศีลธรรมด้วยการปิดกั้นเสรีภาพกำจัดคนเห็นต่าง ปกป้องความเป็นไทยด้วยการทำลายล้าง "ศัตรู" ในชาติเดียวกัน
พระพม่าก็กำลังดีใจ ที่รัฐบาลผ่านกฎหมายลิดรอนสิทธิชาวมุสลิม พุทธศาสนาจงเจริญ?
สื่อนักวิชาการ ภาคประชาสังคม ลุกฮือไล่อำนาจนิยม "ทักษิโณมิคส์" เพื่อสนับสนุนอำนาจเบ็ดเสร็จ วางระบอบปิดกั้นทำลายหลักการประชาธิปไตยที่ตัวเองต่อสู้มาทั้งชีวิต คนเคยผ่าน 14 ตุลา 6 ตุลา เชียร์การไล่ล่าคนเห็นต่างเหมือนที่ตัวเองเคยถูกกระทำ NGO ที่เคยเรียกร้องเสรีภาพในการเคลื่อนไหวทวงสิทธิต่างๆ เข้าไปนั่งใน สปช.ยกมือรับร่างรัฐธรรมนูญโปลิตบูโร
เรามาถึงจุดนี้ได้ อย่างไร บางคนอ้างว่าจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมใช้อำนาจเพื่อประชาชน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อทวงคืนพลังงาน เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ในขณะที่ประชาชนเสียงข้างมากถูกเบียดออกจากโครงสร้างอำนาจ
ไม่มีอะไรทำลาย NGO ได้มากไปกว่าการยอมรับร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่มอำนาจคนชั้นกลางระดับบนคนมั่ง มี กดขี่อำนาจเลือกตั้งของคนจนคนชนบท ไม่มีอะไรทำลายสื่อได้มากไปกว่าการเลือกข้างสนับสนุนอำนาจปิดกั้นเสรีภาพ สื่อด้วยกัน ไม่มีอะไรทำลายนักวิชาการได้มากไปกว่าการบิดเบือนหลักวิชาเพื่อเอาชนะทางการ เมือง ไม่มีอะไรทำลายนักนิติศาสตร์ได้มากไปกว่าการยอมรับรัฏฐาธิปัตย์ที่ทำลายนิติ รัฐ
ไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ ที่ทหารก็คิดแบบทหาร ปริญญาโทปริญญาเอกของทหารก็สอนให้จัดการปัญหาด้วยอำนาจ แต่พวกที่เคยเรียกร้องประชาธิปไตยต่างหาก มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร (ไม่น่าเล้ย ต้องโทษทักษิณคนเดียว)
สังคมไทยกำลัง "ลอกคราบ" ก่อนเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ตกอยู่ในยุคมืดทางปัญญา ไม่ใช่ไม่รู้ แต่ทั้งที่รู้ก็พยายามปฏิเสธเหตุผล เพราะหาจุดลงตัวระหว่างเสรีภาพประชาธิปไตยกับศีลธรรมดั้งเดิมไม่ได้ โดยยังไม่รู้ว่าจะทำลายตัวเองให้เสียหายแค่ไหน นานเพียงไร
source : FB Atukkit Sawangsuk & http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1442589206
ไม่มีอะไรทำลายคนดีได้มากไปกว่าการที่คนดีรู้สึกว่าจะต้องปกป้องความดีด้วย การเดินหน้าฆ่ามัน ปกป้องศีลธรรมด้วยการปิดกั้นเสรีภาพกำจัดคนเห็นต่าง
ไม่มีอะไรทำลาย NGO ได้มากไปกว่าการยอมรับร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่มอำนาจคนชั้นกลางระดับบนคนมั่งมี กดขี่อำนาจเลือกตั้งของคนจนคนชนบท ไม่มีอะไรทำลายสื่อได้มากไปกว่าการเลือกข้างสนับสนุนอำนาจปิดกั้นเสรีภาพ สื่อด้วยกัน ไม่มีอะไรทำลายนักวิชาการได้มากไปกว่าการบิดเบือนหลักวิชาเพื่อเอาชนะทางการเมือง ไม่มีอะไรทำลายนักนิติศาสตร์ได้มากไปกว่าการยอมรับรัฏฐาธิปัตย์ที่ทำลายนิติรัฐ
00000
ประวิตร โรจนพฤกษ์ ถูกปิดตาพาไปกักตัวในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ หลังกลับออกมา แทนที่จะได้กำลังใจหรือความเห็นใจ กลับมีแรงกดดันให้ลาออกจากงานที่ทำมา 23 ปี โดยมีคนจำนวนไม่น้อย "สะใจ" ไม่เว้นแม้สื่อร่วมค่ายคนไทยอาจบอกว่าการใช้อำนาจ คสช.จำเป็นและเป็นของธรรมดา ชินซะแล้ว เพราะเราเกิดมาในประเทศชิงอันดับ กินเนสส์บุ๊กรัฐประหารมากที่สุดในโลก การแยกทางระหว่างนักข่าวกับต้นสังกัดก็ธรรมดา มีทุกค่ายถมเถไป (ต้องชมผู้บริหารด้วยซ้ำที่ปกป้องเสรีภาพ เรียกร้องให้ปล่อยตัวจนสำเร็จ)
แต่ที่ไม่ธรรมดา ก็คือความเกลียดชังคนเห็นต่างกระทั่งสะใจสมใจเมื่ออีกฝ่ายประสบชะตากรรม ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรก มันมีมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยา 2549 รุนแรงขึ้นตลอด 9-10 ปี กระทั่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ใช้ทำรัฐประหาร 2557 แต่ถามจริง เราเกลียดกันน้อยลงหรือเปล่า
หรือว่ายิ่งปิดหู ปิดตาดราม่ามากขึ้น บางครั้งก็ไปแสดงออกเรื่องอื่น เช่นเห็นช่างภาพฮังการีเตะตัดขาผู้อพยพก็โพสต์ด่ากันสนั่นเมือง ลืมเรื่องที่ตัวเองเคยด่านักข่าวไทยไปหลั่งน้ำตาให้ผู้อพยพโรฮิงยา
บางคนบอกว่าพูดไปทำไมมี มันก็เป็นทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ โอ๊ว ใช่เลยครับ เอาเข้าจริง "ไพร่" "ผู้ดี" มีตระกูลมีการศึกษาแค่ไหน เวลาเกลียดชังก็หน้ามืดก็ไม่ต่างกัน แค่จริตจะก้านเล็กน้อยเช่นตอนมีคนต่อย อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ผู้ดีก็ประณามว่าแบบนี้เราไม่ทำแต่มีคนทำแล้วอดไม่ได้ มันสะใจ
เพียงแต่สิ่งที่ต่างกันคือใครเชื่อถือในระบอบไหน ไพร่ที่เชื่อถือประชาธิปไตยต่อให้ถ่อยเพียงไร ก็ต้องยอมรับกติกาประชาธิปไตยที่ให้เสรีภาพคนเห็นต่าง ยึดมั่นนิติรัฐ เคารพสิทธิมนุษยชน ชนะเลือกตั้งแล้วยุให้รัฐบาลไปกลั่นแกล้งคุกคามฝ่ายตรงข้าม ก็จะโดนสุณัย ผาสุข แห่ง Human Rights Watch ประณาม
ตรงข้ามกับพวกที่สะใจ การใช้อำนาจพิเศษเล่นงานฝ่ายตรงข้าม กลับสู่เลือกตั้งแพ้เลือกตั้งก็ยังสามารถอ้างเสรีภาพเสียงข้างน้อย ใช้สิทธิชุมนุมขัดขวางเลือกตั้งโดยสงบตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
สังคมไทยเคยมีต้นทุนสูงมาก ทั้งต้นทุนจากศีลธรรมดั้งเดิม "เมืองไทยเมืองพุทธ" และต้นทุนทางประชาธิปไตย ความตื่นตัวเรื่องเสรีภาพ การเรียกร้องสิทธิด้านต่างๆ ผ่านสถาบันสื่อ สถาบันนักวิชาการ ภาคประชาสังคม NGO องค์กรสิทธิมนุษยชน ซึ่งเติบโตมาหลัง 14 ตุลา 2516 และพฤษภา 2535
แต่ต้นทุนเหล่านี้กำลังจะล่มสลาย "เทฟลอนลอก" เพราะโมหะโทสะความเกลียดชัง ไม่มีอะไรทำลายคนดีได้มากไปกว่าการที่คนดีรู้สึกว่าจะต้องปกป้องความดีด้วย การเดินหน้าฆ่ามัน ปกป้องศีลธรรมด้วยการปิดกั้นเสรีภาพกำจัดคนเห็นต่าง ปกป้องความเป็นไทยด้วยการทำลายล้าง "ศัตรู" ในชาติเดียวกัน
พระพม่าก็กำลังดีใจ ที่รัฐบาลผ่านกฎหมายลิดรอนสิทธิชาวมุสลิม พุทธศาสนาจงเจริญ?
สื่อนักวิชาการ ภาคประชาสังคม ลุกฮือไล่อำนาจนิยม "ทักษิโณมิคส์" เพื่อสนับสนุนอำนาจเบ็ดเสร็จ วางระบอบปิดกั้นทำลายหลักการประชาธิปไตยที่ตัวเองต่อสู้มาทั้งชีวิต คนเคยผ่าน 14 ตุลา 6 ตุลา เชียร์การไล่ล่าคนเห็นต่างเหมือนที่ตัวเองเคยถูกกระทำ NGO ที่เคยเรียกร้องเสรีภาพในการเคลื่อนไหวทวงสิทธิต่างๆ เข้าไปนั่งใน สปช.ยกมือรับร่างรัฐธรรมนูญโปลิตบูโร
เรามาถึงจุดนี้ได้ อย่างไร บางคนอ้างว่าจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมใช้อำนาจเพื่อประชาชน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อทวงคืนพลังงาน เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ในขณะที่ประชาชนเสียงข้างมากถูกเบียดออกจากโครงสร้างอำนาจ
ไม่มีอะไรทำลาย NGO ได้มากไปกว่าการยอมรับร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่มอำนาจคนชั้นกลางระดับบนคนมั่ง มี กดขี่อำนาจเลือกตั้งของคนจนคนชนบท ไม่มีอะไรทำลายสื่อได้มากไปกว่าการเลือกข้างสนับสนุนอำนาจปิดกั้นเสรีภาพ สื่อด้วยกัน ไม่มีอะไรทำลายนักวิชาการได้มากไปกว่าการบิดเบือนหลักวิชาเพื่อเอาชนะทางการ เมือง ไม่มีอะไรทำลายนักนิติศาสตร์ได้มากไปกว่าการยอมรับรัฏฐาธิปัตย์ที่ทำลายนิติ รัฐ
ไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ ที่ทหารก็คิดแบบทหาร ปริญญาโทปริญญาเอกของทหารก็สอนให้จัดการปัญหาด้วยอำนาจ แต่พวกที่เคยเรียกร้องประชาธิปไตยต่างหาก มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร (ไม่น่าเล้ย ต้องโทษทักษิณคนเดียว)
สังคมไทยกำลัง "ลอกคราบ" ก่อนเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ตกอยู่ในยุคมืดทางปัญญา ไม่ใช่ไม่รู้ แต่ทั้งที่รู้ก็พยายามปฏิเสธเหตุผล เพราะหาจุดลงตัวระหว่างเสรีภาพประชาธิปไตยกับศีลธรรมดั้งเดิมไม่ได้ โดยยังไม่รู้ว่าจะทำลายตัวเองให้เสียหายแค่ไหน นานเพียงไร
source : FB Atukkit Sawangsuk & http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1442589206
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น