เผด็จการรัฐประหารกลัวพ่ายแพ้ประชาชนนั่นเอง
"ไม่อาจจินตนาการได้ว่า หากการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างสมบูรณ์ จะเกิดความเสียหายร้ายแรงยิ่งกว่าที่ผ่านมาสักเพียงใด" จาตุรนต์ ฉายแสง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1163967473616663
"ไม่อาจจินตนาการได้ว่า หากการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างสมบูรณ์ จะเกิดความเสียหายร้ายแรงยิ่งกว่าที่ผ่านมาสักเพียงใด" จาตุรนต์ ฉายแสง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1163967473616663
จาตุรนต์ ฉายแสง: 9 ปีรัฐประหาร ความเสียหายต่อเนื่องที่ยังไม่จบสิ้น
http://prachatai.org/journal/2015/09/61478
http://prachatai.org/journal/2015/09/61478
ข้ออ้างในการทำรัฐประหารเมื่อ 9 ก่อน มีหลายข้อซึ่งต่อมาก็ปรากฏแล้วว่าข้ออ้างก็เป็นเพียงข้ออ้างที่ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงหรือมีข้อเท็จจริงรองรับแต่อย่างใด
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหารเมื่อ 9 ปีก่อน คือ ความกลัว
กลัวการเลือกตั้ง กลัวการตัดสินโดยประชาชน
กลัวที่พรรคไทยรักไทยและหัวหน้าพรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมมากขึ้นๆ จนมีเสียงเกินครึ่งหนึ่งของรัฐสภา
กลัวเกิดกระบวนการที่พรรคไทยรักไทยสังเคราะห์นโยบายจากความต้องการของประชาชนแล้วนำมาใช้บริหารอย่างได้ผล จนกลายเป็นความสัมพันธ์แบบใหม่ระหว่างพรรคการเมืองและนักการเมืองกับประชาชนโดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีสิทธิ์มีเสียงมาก่อน
กลัวที่ผู้มีอำนาจมาแต่เดิมจะไม่สามารถกำหนดควบคุมความเป็นไปของบ้านเมืองได้อีกต่อไป
จากความกลัวเหล่านี้ จึงนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่จะต้องทำให้สำเร็จให้ได้ทั้งที่ประกาศอย่างเปิดเผยและที่ไม่ได้เปิดเผย
ที่ประกาศอย่างเปิดเผย คือ ‘แผนบันไดสี่ขั้น’ ซึ่งโดยสรุป ก็คือ จะต้องป้องกันไม่ให้พรรคไทยรักไทยและนักการเมืองของพรรคกลับมามีอำนาจ แต่จะต้องให้พรรคการเมืองอื่นบางพรรคได้เป็นรัฐบาล
ที่ประกาศอย่างเปิดเผย คือ ‘แผนบันไดสี่ขั้น’ ซึ่งโดยสรุป ก็คือ จะต้องป้องกันไม่ให้พรรคไทยรักไทยและนักการเมืองของพรรคกลับมามีอำนาจ แต่จะต้องให้พรรคการเมืองอื่นบางพรรคได้เป็นรัฐบาล
ที่ไม่ได้ประกาศออกมาตรงๆ คือ การเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีระบบกลไกที่ผู้ที่ไม่มาจากการเลือกตั้งและไม่ยึดโยงกับประชาชนสามารถกำหนดความอยู่รอดของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ตามใจชอบ
จุดมุ่งหมายที่ 1 นั้นล้มเหลว เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่เออออด้วย จนต้องใช้กลไกที่สร้างไว้ตามจุดมุ่งหมายที่ 2 เข้าจัดการ ทำให้สามารถเปลี่ยนรัฐบาลไปได้ แต่ก็ถูกประชาชนปฏิเสธอีกในเวลาต่อมา
หากปล่อยให้เหตุการณ์บ้านเมืองเป็นไปตามกรอบของรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว การที่ผู้ที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนจะเข้ากำกับควบคุมความเป็นไปของบ้านเมืองอย่างเบ็ดเสร็จย่อมเป็นไปไม่ได้
นั่นจึงนำมาซึ่งการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมา
มองจากจุดมุ่งหมายทั้งสองข้อดังกล่าว ผู้ที่ไม่เชื่อถือในระบอบประชาธิปไตย ไม่เชื่อถือในประชาชนและการเลือกตั้งย่อมถือว่าการรัฐประหารเมื่อ 9 ปีที่แล้วเป็นการ ‘เสียของ’
หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงปีครึ่งที่ผ่านมา ก็เพื่อไม่ให้ ‘เสียของ’
สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองว่า ‘เสียของ’ ที่ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย อีกคนมองว่ายังค่อยยังชั่วที่ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย ถ้าบรรลุจุดมุ่งหมายโดยไม่ ‘เสียของ’ อาจเป็นความ ‘เสียหาย’ ยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นไปแล้วมากนัก
จากความพยายามที่จะให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการรัฐประหารเมื่อ 9 ปีก่อน ทำให้เกิดการทำลายพรรคการเมืองและนักการเมืองจำนวนมาก เกิดการปลดนายกรัฐมนตรีหลายคน ล้มรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งอันเป็นการหักล้างมติของประชาชนโดยไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม เกิดการทำลายหลักการตรวจสอบ ถ่วงดุลระหว่างอำนาจอธิปไตยต่างๆ องค์กรอิสระถูกทำให้ขาดความเป็นอิสระและไม่เที่ยงธรรม สิ่งที่เกิดขึ้นยังกระทบต่อความน่าเชื่อถือของระบบยุติธรรมของประเทศอย่างร้ายแรงด้วย
ที่น่าสลดใจอย่างมากเรื่องหนึ่ง ก็คือ การรัฐประหารเมื่อ 9 ปี ก่อนมีข้ออ้างอยู่ข้อหนึ่ง คือ จำเป็นต้องเข้าควบคุมสถานการณ์เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้น แต่หลายปีที่ผ่านมาปรากฏว่าความขัดแย้งในสังคมไทยกลับยิ่งทวีความหนักหน่วงรุนแรงมากขึ้นอย่างไม่อาจเปรียบเทียบกันได้เลย
ความขัดแย้งที่ถูกนำมาเป็นข้ออ้างเพียงประการเดียวของการรัฐประหารครั้งล่าสุด
9 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยตกอยู่ในสภาพถอยหลังและย่ำอยู่กับที่ ไม่มีรัฐบาลใดสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิผล บ้านเมืองขาดเสถียรภาพและมีความขัดแย้งแตกแยกที่ยังไม่มีวี่แววว่าจะแก้ไขให้ดีขึ้นได้
ไม่อาจจินตนาการได้ว่า หากการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างสมบูรณ์ จะเกิดความเสียหายร้ายแรงยิ่งกว่าที่ผ่านมาสักเพียงใด
ที่แน่ๆ เราได้เรียนรู้ว่าเมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้นครั้งหนึ่งๆนั้น สามารถมีผลเสียหายอย่างต่อเนื่องลึกซึ้งและยาวนาน ไม่ใช่แค่มีผู้ทำรัฐประหารผ่านมาแล้วก็ผ่านไปเพียงเท่านั้น