ดร.จักษ์หวดเรียงตัว”สุขุม-ลายจุด- ปลื้ม” แก๊งแถเรื่องสรยุทธ ไล่ตั้งแต่ประเด็นแค่ศาลชั้นต้นตัดสินยังเหลืออีกสองศาล เร่ืองขายน้เต้าหู้ และสุดท้าย โพสต์ของม.ล.ปลื้มที่ระบุว่า ไม่ได้โกงแค่จ่ายช้า โดยอาจารย์หนุ่มจากม.นเรศวร อธิบายชัดคดีนี้แม้จะเป็นศาลชั้นต้น แต่ก็ถือคนที่ถูกศาลตัดสินนั้นมีความผิด การที่ได้สิทธิอุทธรณ์ไม่ได้แปลว่าความผิดหยุดลง
4 มี.ค. 59 รศ.ดร.จักษ์ พันธุ์ชูเพชร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษาต่อเนื่อง และรักษาการผู้อำนวยการสถานการศึกษาต่อเนื่องมหาวิทยาลัยนเรศวร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร” ว่า ศาลชั้นต้นตัดสินว่าผิด หมายถึงคนนั้นเป็นผู้กระทำผิดตามคำสั่งศาล การขอประกันตัวเพื่อไปอุทธรณ์เป็นสิทธิ์ของผู้กระทำผิด แต่ไม่ได้ทำให้ความผิดเขาสะดุดหยุดลง หรือทำให้เขากลายเป็นผู้บริสุทธิ์ นั่นคือเขาได้เป็นผู้กระทำผิดแล้ว เพียงแต่ได้รับความเมตตาจากศาลให้ประกันตัวไปต่อสู้ทางคดีอีกครั้งหนึ่ง คดีที่ศาลตัดสินแล้วจึงประทับบนสำนวนเป็น “คดีแดง” คือผลทราบชัดเจนแล้ว
การบอกว่ายังไม่ถึงศาลสูงถือว่าเขายังบริสุทธิ์อยู่จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง กรณีของ บ.ไร่ส้ม และคุณสรยุทธได้มีหลักฐานชัดเจนว่าไม่จ่ายเงินให้ อสมท. และพบการสร้างหลักฐานเท็จของเจ้าหน้าที่ อสมท. โดยการจ่ายเช็คหลายฉบับลงลายมือชื่อคุณสรยุทธ อีกทั้ง จนท.ของ อสมท.เบิกความต่อศาลว่า แก้ไขข้อมูลตามคำแนะนำของคุณสรยุทธ การไม่ชำระเงินแก่ อสมท.จึงไม่ใช่การชำระเงินไม่ครบ แต่เป็นการหลบเลี่ยงในลักษณะการโกงตามกฎหมายบ้านเมือง การชำระเงินของคุณสรยุทธให้ อสมท. เป็นการชำระภายหลังการตรวจสอบพบความผิดปกติ ซึ่งความผิดได้เกิดขึ้นและสำเร็จแล้ว
การอ้างว่าคุณสรยุทธเป็นคนเก่ง เงินทั้งหมดเป็นของ บ.ไร่ส้ม และคุณสรยุทธไม่ได้โกงเพียงแต่ชำระเงินไม่ครบ ซึ่งต่อมาได้ชำระเงินจนครบนั้น จึงเป็นการอธิบายที่ไม่ถูกตัอง การพิพากษาของศาลย่อมเป็นไปตามพยานหลักฐานอันเป็นข้อเท็จจริง โดยใช้กฎหมายเป็นแนวทางในการตัดสิน หากไม่มีหลักฐานการกระทำความผิดศาลก็ไม่สามารถลงโทษได้ และหากหลักฐานไม่ชัดเจน ศาลก็จะยกประโยชน์ให้จำเลย การตัดสินของศาลไม่ได้อยู่ตรงที่ว่าเป็นพวกใคร ข้างใคร การคิดว่า “ถึงจะแสนดีอย่างไร ถ้าไม่ใช่พวกตัว ก็ชั่วอยู่ดี” จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้กับการพิพากษาของศาล เพราะความชั่วมีความชั่วในตัวของมันเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นพวกตัวหรือพวกใคร การพูดเช่นนั้นจึงเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง
คนที่ทำผิดอันเกิดในหน้าที่หรืออาชีพของตน ย่อมต้องรับผิดชอบทั้งในทางกฎหมายและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เช่นแพทย์หากทำผิดอันเกิดจากอาชีพนอกจากรับผิดในทางกฎหมายทั่วไปแล้ว ยังต้องรับผิดทางวินัยอันเป็นจรรยาบรรณของวิชาชีพ
คนขายน้ำเต้าหู้ แม้ไม่มีสภาน้ำเต้าหู้ทำหน้าที่ควบคุมจรรยาบรรณของคนขาย แต่หากคนขายน้ำเต้าหู้ทำผิดในหน้าที่หรืออาชีพตัวเอง เช่น โกงเงินลูกค้า ทำอาหารสกปรกไม่ได้มาตรฐาน หรือตะโกนด่าลูกค้าตลอดเวลาจนสร้างความเดือดร้อนต่อสังคม แบบนี้เขาก็ควรเลิกขายน้ำเต้าหู้ไปทำอย่างอื่น
การถามว่าถ้าสรยุทธขายน้ำเต้าหู้แล้วถูกศาลตัดสินว่าโกง ต้องเลิกขายไหม มันต้องใช้ชัดเจน ว่าโกงใคร ถ้าโกงลูกค้าที่มาซื้อ หรือโกงท้องถิ่นไม่ยอมเสียภาษีอันเกิดจากการขายน้ำเต้าหู้ ก็ควรหยุดขาย อันนี้คงต้องอยู่กับสำนึก เพราะคนขายน้ำเต้าหู้ไม่มีสภาน้ำเต้าหู้ แต่เชื่อได้ว่า คนทั่วไปที่ขายน้ำเต้าหู้จะเกิดสำนึกและยุติการขาย การยกอาชีพขายน้ำเต้าหู้มาเปรียบเทียบกับอาชีพสื่อ ซึ่งลักษณะงานและผลต่อสังคมแตกต่างกันอย่างมาก เป็นการยกตัวอย่างที่ผิดหลักการเปรียบเทียบโดยสิ้นเชิง การยกตัวอย่างแบบนี้จึงไม่ถูกต้องทั้งหลักการ เหตุผล และวิธีคิด
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น