0

รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 108 บัญญัติว่าเมื่อยุบสภาต้องตราพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ภายใน 45-60 วัน
รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาวันที่ 9 ธ.ค.56 กำหนดเลือกตั้งใหม่วันที่ 2 ก.พ.57 คือ 55 วัน (เพราะตอนทักษิณยุบสภาปี 49 ก็โวยว่าเลือกตั้งเร็วไม่ยุติธรรม นี่ให้ยาวที่สุด)
กกต.กลับไปขอศาล รธน.วินัจฉัยเลื่อนเลือกตั้ง แล้วศาล รธน.ไม่รู้อ่านมาตรา 108 ด้วยภาษาอะไร (เปิดพจนานุกรมก็ไม่ใช่) บอกว่าเลื่อนได้ ให้นายกฯ กับประธาน กกต.หารือกัน
นี่คือการวินิจฉัยกฎหมายหรือครับ ถดแถสุดๆ
"มาตรา ๑๐๘ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร"
โปรดอ่านอีกครั้ง แล้วเอาหัวแม่ไหนคิดก็ได้ว่า มาตรา 108 ให้เลื่อนได้ไหม (เจตนารมณ์คือให้เลือกตั้งเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างไม่มีรัฐสภา)
แต่ "คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า วันเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร สามารถกำหนดขึ้นใหม่ได้ เนื่องจากเห็นว่า บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่า จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ไม่ได้เลย เพราะหากเกิดเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอย่างอื่นขัดขวางทำให้การจัดการเลือกตั้งทั่วไปตามกำหนดเดิม ไม่อาจดำเนินการให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญได้ หรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ ความมั่นคงแห่งรัฐ หรือภัยพิบัติสาธารณะอันสำคัญ ก็สามารถกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ จากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรได้ตามสภาพการณ์แห่งความจำเป็น เหมือนกรณีเคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้วในประเทศไทย เมื่อครั้งใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งวันเลือกตั้งทั่วไป ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 เป็นวันที่ 2 เม.ย. 49 ต้องถูกกำหนดขึ้นมาใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป พ.ศ.2549 ที่ได้กำหนดให้มีวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่เป็นวันที่ 15 ต.ค.49 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยชี้ขาดให้การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 เม.ย.49 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากดำเนินการไปไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้"
แถผิด 2 ชั้นด้วยนะ ปี 49 ไม่ใช่การเลื่อนเลือกตั้ง แต่เป็นศาล รธน.สั่งว่าไม่ชอบด้วย รธน. จึงต้องเลือกตั้งใหม่ พอปี 57 กลับมาอ้างว่าเลื่อนได้
ศาล รธน.มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะศาลไม่ใช่สภาที่ปรึกษาการเมือง จะได้มานั่งวินิจฉัยเหตุผลทางการเมือง (เหมือนที่ กรธ.จะให้ศาลวินิจฉัยจริยธรรม มันไม่ใช่อำนาจศาล) หรือถ้าอยากออกคำสั่ง ก็ต้องสั่งเลื่อนไปเลย ไม่ใช่ขุดบ่อ ให้ไปตกลงกันเอง สมมติเช่น กกต.เสนอเลื่อนเลือกตั้งเป็นวันที่ 10 เมษายน ศาลตัดสินให้เลือกตั้ง 10 เมษายน บอกให้รัฐบาลทำตามคำสั่ง อันนั้นศาลรับผิดชอบความผิดเอง
พออ้างกันเลื่อนเปื้อนอย่างนี้ กกต.แม่-ก็มาตลบหลัง หาว่ายิ่งลักษณ์ไม่ยอมเลื่อนเลือกตั้ง ทั้งที่รัฐบาลยืนยันต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้เด็กปี 1 นิติศาสตร์แหกหูแหกตาอ่านยังไง มาตรา 108 ก็ไม่ได้บอกให้เลื่อนได้
ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มีความผิด เกิดขึ้นได้แต่ในประเทศนี้
ผู้ลงนามฯ พระราชกฤษฎีกา ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและพระราชกฤษฎีกา มีความผิดเสมอกับผู้กระทำผิดกฎหมาย ขัดขวางการเลือกตั้ง ทำให้ไม่อาจเลือกตั้งในวันเดียวกัน แล้วศาลรัฐธรรมนูญซึ่งคุ้มครองม็อบขัดขวางเลือกตั้งว่าใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ก็ย้อนมาตีความมาตรา 108 ว่า เพราะมีคนทำผิดกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถเลือกตั้งในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร จึงทำให้พระราชกฤษฎีกาขัดรัฐธรรมนูญ (เพราะคนทำผิดกฎหมาย ทำให้กฎหมายผิด)
แล้วท้ายที่สุด "อีปู" ก็ผิดอยู่ดี


แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 
Top