เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ : Monoply Constitution
เปล่านะครับ ผมไม่ได้เขียนตำราเรื่องเศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ แต่ขึ้นหัวข้อให้มันเท่ๆ ไปอย่างนั้นแหละ
เพราะหากมองด้วยมุมมองทางเศรษฐศาสตร์แล้ว รัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์ นี่เป็นรัฐธรรมนูญ ที่ "เน้นการผูกขาดอำนาจ" ไว้กับกลุ่มคนบางกลุ่ม ที่มาจากการแต่งตั้ง หรือเป็นข้าราชการ เราจะเรียกว่าชนชั้นนำก็คงได้ ไม่ได้กระจายอำนาจให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น เราจะเรียกว่าเป็นการ Monopoly ทางอำนาจก็คงเรียกได้
เพราะหากมองด้วยมุมมองทางเศรษฐศาสตร์แล้ว รัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์ นี่เป็นรัฐธรรมนูญ ที่ "เน้นการผูกขาดอำนาจ" ไว้กับกลุ่มคนบางกลุ่ม ที่มาจากการแต่งตั้ง หรือเป็นข้าราชการ เราจะเรียกว่าชนชั้นนำก็คงได้ ไม่ได้กระจายอำนาจให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น เราจะเรียกว่าเป็นการ Monopoly ทางอำนาจก็คงเรียกได้
ทุกคนก็ทราบอยู่อย่างดีแล้วว่า การผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจนั้น เป็นสิ่งเลว และในทางเศรษฐศาสตร์ก็มีการศึกษาเรื่องการผูกขาดนี้เอาไว้มาก การผูกขาด ทำให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ มีการตั้งราคาสินค้าสูงเกินความจำเป็น เอาเปรียบผู้บริโภค ไม่ส่งเสริมการแข่งขัน ที่ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาใดๆ ดังนั้น Monopoly ในทางเศรษฐศาสตร์ จึงเป็นสัญญลักษณ์ของสิ่งที่ไม่ดีเป็นอย่างยิ่ง
การผูกขาดทางอำนาจก็ให้ผลในทำนองเดียวกัน เพราะ "อำนาจในการปกครอง" รัฐใดรัฐหนึ่งหมายถึง "อำนาจในการจัดสรรทรัพยากร หรือ "สิ่งที่มีคุณค่า" ทางสังคม เมื่อมีการผูกขาดทางอำนาจก็หมายถึง ผู้มีอำนาจรัฐที่มาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทางสังคมนั้นย่อม Favor หรือชื่นชอบ มีนโยบายโน้มเอียงเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มชนชั้นทางสังคม ที่ตัวเองมาจากกลุ่มนั้น ในแอฟริกา ที่วัฒนธรรมยังเป็นแบบ "ชนเผ่า" อยู่มาก ดังนั้นหากชนเผ่าใดได้อำนาจรัฐชนเผ่านั้นย่อมเอื้อประโยชน์ให้กับเผ่าตน จนเกิดสงครามกลางเมืองฆ่ากันตายนับแสนคนมาแล้ว เช่นใน Liberia ประเทศที่อเมริกาไปก่อตั้ง หลังจากสงครามเลิกทาสในอเมริกา มีการเอาทาสผิวดำที่อยากกลับถิ่นฐานตัวเองไปตั้งประเทศที่ Liberia ทาสกลุ่มนี้ก็รวมตัวกันเป็นชนชั้นนำปกครองไลบีเรียมากว่า 100 ปี และเกิดการรัฐประหารขึ้นในปี 1989 โดยเผ่า Khanh ที่เป็นเผ่าพื้นเมือง และดำเนินนโยบายเอื้อประโยชน์ให้คนเผ่า Khanh จนเกิดสงครามกลางเมืองตั้งแต่นั้นมา มาสงบลงได้ในปี 2004 คนตายไปร่วม 2 แสนคน 10% ของประชากรไลบีเรียเลยทีเดียว จากประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เพราะมีความเชื่อมโยงกับอเมริกา ไลบีเรียก็กลายเป็นประเะทศยากจนที่สุดในโลก
นโยบายผูกขาดอำนาจทางการเมือง จึงเป็นเรื่องที่เลวร้ายอย่างยิ่งในทางการเมือง ประเทศที่ไม่มีชนเผ่าคนไม่แบ่งกันเพราะชาติกำเนิด แต่ก็แบ่งกันด้วยฐานะทางเศรษฐกิจ เช่น ชนชั้นนำ ชั้นกลาง และชั้นล่าง การผูกขาดอำนาจไว้กับชนชั้นนำ ในขณะที่คนชั้นล่างตื่นตัวแล้วทางการเมือง มีแต่แนวโน้มที่จะนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง การต่อสู้ทางการเมือง เพื่อให้ระบบการเมือง "เปิดเสรีและเปิดกว้าง" การต่อสู้ไม่จบสิ้น
เมืองไทยกำลังก้าวไปสู่จุดนั้นด้วยตาที่มืดบอดของคนบางกลุ่ม ด้วยการร่างรัฐธรรมนูญที่จุดชนวนความวุ่นวายไม่จบสิ้นในอนาคต
เกิดมาในยุคความก้าวหน้าทางวิชาการแท้ๆ ทำไมคนไทยถึงวนไปวนมาอยู่กันตรงนี้ไม่จบสิ้น
สุดท้ายเสียงส่วนใหญ่ย่อมชนะในที่สุด แต่ทำไมต้องทำให้เกิดสงคราม การต่อสู้ก่อน จึงจะบรรลุสิ่งที่ดีที่สุด
ปล. สิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม มี 8 อย่างคือ
- อำนาจ (Power)
- ความศรัทธานับถือ (Respect)
- ความยุติธรรม (Rectitude)
- ความนิยมชื่นชอบ (affection)
- ความกินดีอยู่ดี (Well-being)
- ความมั่งคั่ง (Wealth)
- ความรอบรู้ (Enlightenment)
- ทักษะ (Skill)
- ความศรัทธานับถือ (Respect)
- ความยุติธรรม (Rectitude)
- ความนิยมชื่นชอบ (affection)
- ความกินดีอยู่ดี (Well-being)
- ความมั่งคั่ง (Wealth)
- ความรอบรู้ (Enlightenment)
- ทักษะ (Skill)
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น