"ประชามติ" รัฐธรรมนูญ - เสียงข้างมากของอะไร?
หรือ สมชัย กกต "เงิบ" ไม่ยอมอ่านรัฐธรรมนูญให้ดี ก่อนแสดงความเห็น?
ผมอ่านข่าว นิรันดร์ พันทรกิจ สมาชิก สปช. แถลงเรียกร้องไปยังสมาชิก สปช. ให้ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่า ถ้าไปสู่กระบวนการ "ประชามติ" แล้ว คงไม่ผ่านแน่ๆ เพราะ "ประชามติ" ถ้าจะผ่านต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ‪#‎ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง‬ ซึ่งหากนับแล้วคือต้องมากกว่า 23.5 ล้านคน จากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดประมาณ 47 ล้านคน ดูจากสถิติการทำประชามติครั้งก่อน มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเพียง 25 ล้านคน ในเมื่อพรรคการเมืองแสดงท่าทีไม่รับ ก็ไม่มีทางที่จะได้เสียงถึง 23.5 ล้าน จากคนมาลง 25 ล้านแน่ เช่นถ้าคนมาลงรับเกินครึ่ง ก็เป็นราว 14 ล้านคนเท่านั้น ก็ไม่ถึง 23.5 ล้าน (ดูรายงานข่าวที่นี่http://www.prachatai.com/journal/2015/09/61173 )
ผมอ่านแล้ว ตอนแรกก็งงเหมือนกัน เพราะจำได้แม่นว่า ไม่กี่วันก่อน สมชัย กกต เพิ่งออกมาแถลงข่าวว่า "ประชามติ" นั้น ใช้เสียงเพียง ‪#‎เกินครึ่งของคนมาลง‬ ก็ผ่านแล้ว เช่นถ้าคนมาลง 20 ล้านคน ถ้ารับเพียง 10 ล้านกับ 1 คน ก็ถือว่าผ่าน (ดูที่สมชัยแถลงที่นี่ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1440913852 หรือดูภาพประกอบกระทู้ด้านบนสุด)
ผมเลยลองเช็คตัว รธน ดู ปรากฏว่า เป็นไปตามที่ นิรันดร์ พูดไว้จริงๆ และสมชัย กตต ผิดแน่
คือ รธน 2557 ฉบับแก้ไข ได้ระบุไว้ชัดว่า "ถ้าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติโดยเสียงข้างมากเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ...." (ดูตัวบทที่นี่http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/064/1.PDF หรือดูภาพประกอบตรงกลาง ข้อความที่ผมทำไฮไลท์สีฟ้าไว้)
นั่นคือ "โดยเสียงข้างมาก" นั้นหมายถึงเสียงข้างมาก ของ "ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ" ไมใช่ของผู้มาลงประชามติ นั่นคือต้องประมาณ 23.5 ล้านจริงๆ
ผมเดาว่า สมชัย กกต คงอ่าน รธน ไม่ดี แล้วสับสน คือใน รธน ฉบับแก้ไข มีการพูดถึง "เสียงข้างมากของผู้ออกเสียงประชามติ" จริงๆ แตนั่นในกรณี "การออกเสียงประชามติในประเด็นเพิ่มเติม" ที่ สปช หรือ สนช จะเสนอเข้ามาให้ทำประชามติด้วย (มาตรา ๓๗/๑ ดูตัวบทตามลิงค์ที่เพิ่งให้ หรือดูภาพประกอบอันล่างสุด ส่วนที่ผมทำไฮไลท์สีฟ้า - ใน รธน ยังมีข้อความแบบเดียวกันในอีกที่หนึ่ง "โดยในกรณีดังกล่าวนี้ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" ผมไม่ได้ยกมาให้ดูในภาพ แต่ชัดเจนว่าเหมือนกันคือ "เสียงข้างมากของผู้มาลง" ‪#‎เฉพาะกรณี‬ "ประเด็นเพิ่มเติม" เท่านั้น กรณีร่าง รธน ทั้งฉบับ ต้องเสียงข้างมากของ "ผู้มีสิทธิออกเสียง")
................................
เรื่องนี้มีนัยยะสำคัญต่อประเด็นที่มีการถกเถียงกันในหมู่แอ๊คติวิสต์ที่ว่าจะรณรงค์ "โนโหวต" หรือ "โหวตโน" ดี โดยเหตุผลสำคัญที่คนเสนอให้รณรงค์อย่างหลัง เพราะกลัวว่า ถ้า "โนโหวต" คือบอยคอตไม่เข้าร่วมใดๆกับ "ประชามติ" ที่วาเลย จะทำให้ รธน ผ่าน "ประชามติ" เพราะถ้าคนที่ไม่เห็นด้วยกับ คสช โนโหวตหรือไม่ไปลงมากๆจริง คนที่เหลือไปลง ส่วนใหญ่คงลงรับมากกว่า
แต่ถ้าดูจากข้อกำหนดเรื่อง "เสียงข้างมาก" และตัวเลขตามที่นิรันดร์ยกมาข้างต้นแล้ว เห็นได้ว่า ถ้าคน "โนโหวต" เยอะ (เช่นถ้าไม่ไปสัก 15-20 ล้าน เหลือไปลงเพียง 5-10 ล้านคน) เรียกว่า แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ รธน จะได้เสียง "รับ" เกิน 23.5 ล้าน ดังนั้น‪#‎ถ้า‬ จะรณรงค์ "โนโหวต" และถ้าพรรคการเมืองหลักอย่างน้อยหนึ่งพรรคเอาด้วย ก็ไม่ต้องห่วงเลยว่า รธน จะผ่าน เอาเข้าจริง ต่อให้สมมุติว่า รณรงค์โนโหวตแล้ว ยังมีคนไปลงราว 10 ล้านคน และต่อให้ทั้ง 10 ล้านคนลง "รับ" ทุกคน ก็ได้เสียงไม่ถึง 23.5 ล้านอยู่ดี - คือเอาเข้าจริง แทบเป็นไปไม่ได้เลย (ไม่ว่าจะทางไหน โนโหวต หรือ โหวตโน) ที่เสียงรับจะได้เกิน 23.5 ล้าน ขอแต่เพียงให้อย่างน้อยพรรคเพื่อไทยและประชาชนทีสนับสนุนพรรคนี้ไม่เอาด้วย ไม่ว่าจะไป โหวตโน หรือ โนโหวต-ไม่ไปเลย คือต่อให้สมมุติว่า คนที่เลือก ปชป ไปและ ปชป หันมารับ รธน ก็ตาม ปชป ก็ไม่เคยได้เสียงถึงระดับ 23.5 เลย (ได้เพียง 10 ล้านต้นๆ)
..................................
แน่นอน ยกเว้นแต่ คสช จะ "เอะใจ" และทำตามที่นิรันดรเสนอ คือเปลี่ยนข้อกำหนดเรื่องประชามติเสียก่อน ให้เป็นเพียง "เสียงข้างมากของผู้มาลงประชามติ" ตอนจะเขียนกระทู้นี้ ผมคิดหนักเหมือนกันว่า จะเป็นการ "ชี้โพรงให้กะรอก" หรือไม่ แต่คิดแล้ว ในเมื่อนิรันดร์เองได้เสนอไปแล้ว และ คสช ก็คงคิดได้ถึง "โพรง" หรือช่องทางรอดนี้ ถ้าพิจารณาสถานการณ์ขณะนี้ ที่ทั้่ง ปชป และ เพื่อไทย แสดงท่าทีจะไปโหวตโน การเขียนนี้ก็คงไม่มีผลอะไร และผมเห็นว่าควรเป็นประเด็นที่เราเข้าใจให้ถูกแต่แรกว่า ตามข้อกำหนดขณะนี้ ที่ว่า "เสียงข้างมาก" นั้น ของอะไรกันแน่ ซึงหลายคนเข้าใจผิดตาม สมชัย กกต ไปแล้ว
(เอาเข้าจริง ผมยังมองว่า ต่อให้สมมุติว่า คสช เอะใจและแก้ข้อกำหนดก่อน แต่ถ้าทั้งสองพรรคใหญ่ปฏิเสธร่วมสังฆกรรมกับ "ประชามติ" ที่ว่าจริงๆ คือเรียกร้องให้ผู้สนับสนุนไม่ไปลงจริงๆ แล้วมีคนไปลงเพียง 5 ล้านหรือกว่านั้นไม่มาก และทุกคน "รับ" หมด รธน ที่ "ผ่านประชามติ" (ตามข้อกำหนดที่สมมุติว่าแก้ใหม่แล้วนั้น) ก็จะไม่มีความชอบธรรมใดๆเหลืออยู่แล้ว มีคน "รับ" เพียง 5 ล้าน จากผู้มีสิทธิ์ 47 ล้าน อะไรแบบนั้น แต่จริงๆแล้ว ประเด็นเรื่องโนโหวตเลยนั้น ปัญหาแต่ไหนแต่ไร อยู่ที่ว่า พรรคการเมืองไม่ว่าพรรคไหน คงไม่เอา ... แต่อย่างน้อย ‪#‎ในปัจจุบัน‬ เราสามารถมั่นใจได้เลยว่า ถ้าไม่มีการแก้ข้อกำหนด และยังเป็นไปตามนี้ - รธน นี้ ไม่ผ่านถึงระดับ 23.5 ล้านแน่ ต่อให้คน โนโหวต หรือพากันไม่ไปลงเยอะๆก็ตาม ที่เหลือที่ไปลง ยังไงก็ไม่มีทางได้เสียงถึง - อย่างที่เพิ่งเขียนไป ต่อให้ คนทีเคยเลือก ปชป ไปลงรับเป็นส่วนใหญ่ ก็ไม่มีทางได้ถึง)



Piyabutr Saengkanokkul 

เรียนอาจารย์สมศักดิ์ 

ผมคิดว่า คนเขียนมาตรา 37/1 เขียนหลุดครับ เขียนไม่ดี ไม่ละเอียดพอ คนตรวจทานสุดท้ายก็หลุด สนช ที่ยกมือให้ผ่าน ก็ไม่ได้ท้วงติง 


ถ้าอ่านตามมาตรา 37/1 แล้ว ความหมายมันเป็นไปอย่างที่อาจารย์บอก 

แต่ผมว่าผู้ร่างน่าจะไม่ต้องการให้หมายความเช่นนั้น เพราะ ถ้าลองเปรียบเทียบกับ พ.ร.ป. ประชามติ 2552 มาตรา 9 จะเห็นได้ว่า ถ้อยคำที่เขาใช้ชัดเจนมาก ในกรณีที่ต้องการให้เป็น 1 คนมาออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ และ 2. เห็นด้วยเกินกึ่งหนึ่งของคนออกเสียง ก็ต้องเขียนแบบมาตรา 9 วรรคแรก 

ส่วนมาตรา 37/1 นี่ออกจะเขียนหลุดๆ เพลินไปใส่ว่า ผู้มีสิทธิออกเสียง แทนคำว่า ผูัมาออกเสียง 

ประเด็นนี้น่าสนใจว่า คสช จะทำอย่างไร 

จะแก้ รธน มาตรา 37/1 มั้ย 

ถ้าแก้ ก็เสียหายแน่ๆ เสียการเมืองแน่ๆ 

ถ้าไม่แก้ เดินหน้าประชามติต่อ ก็น่าสนใจว่า จะวินิจฉัยอย่างไร เพราะ ตัวบทมาตรา 37/1 อ่านแล้วมันคิดเช่นนั้นได้


00000

Somsak Jeamteerasakul 

ผมเดาอย่างนั้นเหมือนกันครับ คือพูดจริงๆ ไม่มีทางเลยทีจะผ่าน ตามตัวอักษรนี้ (คิดง่ายๆ ปชป ได้เสียงสูงสุดแค่ 10 ล้านต้นๆ)

คือถ้าตามตัวอักษรนี้ ต้องให้ทั้งคนทีเคยลงเพื่อไทย กับ ปชป พร้อมใจกันลงรับโดยเอกฉันท์เลย ถึงจะได้ผ่าน (พท ได้ 15 ล้าน ปชป ได้ 12 ล้าน) ซึงเป็นไปไม่ได้เลย


ผมว่าเขา "หลุด" จริงๆ สงสัยว่า ทีผมโพสต์นี่ อาจจะทำให้เขาเขียนแก้ก็ได้ (ผมคิดหนักเหมือนกัน แต่เห็นนิรันดร์เองพูดไปแล้ว)


Somsak Jeamteerasakul 

ผมว่ามัน"หลุด"เขียนพลาดจริงๆ แล้วแทบทุกคน ตอนอ่านหลังจากนั้น ก็หลุดในการอ่านหมด เพราะคงคิดแบบคอมมอนด์เซ้นซ์น่ะ ว่าเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ทีจะให้ "โดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ์" เป็นไปไม่ได้เลย ก็เลยนึกว่า มันเขียนว่าเสียงข้างมากของคนมาลง

ทีสำคัญ ในตัวบท
เองมันมีถึง 2 ครั้งทีเ่ขียนว่า "เสียงข้างมากของผู้มาลงคะแนน" แต่อันนั้น ถ้าอ่านดีๆจะเห็นว่า มันหมายถึง "ประเด็นเพิ่มเติม" แต่ความทีมันเขียนแบบนั้นถึง 2 ครั้่ง ใครๆอ่านรวมๆ ก็นึกรวมกันไปหมดว่า หมายถึงทุกกรณี รวมถึงกรณีร่างทั้งฉบับด้วย



 
Top