0
“Primary care” การให้ความรู้ผู้ป่วยเพื่อดูแลตนเองและป้องกันโรค ไม่เน้นการส่งโรงหมอ และการพัฒนาเทคโนโลยี เป็น “ทางออก” ของปัญหาสาธารณสุข จากประสบการณ์ศึกษาโมเดลด้านสาธารณสุขใน 60 ประเทศของ นพ. Mark Britnell ซึ่งเคยทำงานในหน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษ (NHS) มานาน ก่อนลาออกมาอยู่กับบริษัทที่ปรึกษาด้านเอกชน เขาเขียนหนังสือ “In Search of the Perfect Health System” จากประสบการณ์ที่ปรึกษาด้านสุขภาพใน 60 ประเทศทั่วโลก ถามว่าเขาประทับใจประเทศไหนมากสุด เขาบอกมีสามประเทศในแง่ “ความคุ้มทุน” ของงบประมาณด้านสาธารณสุข

อิสราเอลใช้งบด้านสุขภาพ 7.2% ของ GDP แต่ประชากรอายุยืน “life expectancy” 82-83 ปี พอ ๆ กับประเทศในยุโรปหลายแห่งที่ใช้เงินเยอะกว่านี้ (สวิสเซอร์แลนด์ในงบด้านสุขภาพ 11.5% ของ GDP) เพราะเน้น “primary care platform” สาธารณสุขมูลฐาน จัดบริการสุขภาพใกล้บ้าน ไม่เน้นส่งไปโรงพยาบาลแพง ๆ เพื่อรักษา แม้จะมีจำนวนโรงพยาบาลต่อประชากรน้อยกว่าค่าเฉลี่ยประเทศใน OECD ก็ตาม

สิงคโปร์ใช้งบด้านสุขภาพ 4.6 % ของ GDP (เท่ากับของไทย) 40% ของผู้ป่วยเข้าถึงเวชระเบียนของตัวเองได้หมด “full access” เรียกว่าประชาชนสิงคโปร์ดูแลตัวเองได้ เข้าใจเรื่องสุขภาพของตนเอง “more informed and more empowered” มีการศึกษาและรู้สึกสามารถดูแลตัวเองได้มาก อายุยืนระดับ 82-83 ปีเหมือนกัน

เกาหลีใต้ พร้อมกับการเติบโตด้านเศรษฐกิจหลังยุคเผด็จการ เริ่มให้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามา 12 ปี แต่เพราะเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วแต่อย่างใด

ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 60 ประเทศที่เขาศึกษาหรือไม่ ไม่แน่ใจเพราะยังไม่ได้อ่านหนังสือ 



แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 
Top