ชี้การรักษามะเร็งด้วยรังสีโปรตอนมีประสิทธิภาพ เกิดผลข้างเคียงน้อย
งานวิจัยชิ้นใหม่จากสหรัฐฯ บ่งชี้ว่า การรักษาโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตรอนมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการรักษาด้วย วิธีอื่น และยังให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาด้วยรังสีเอ็กซ์ที่นิยมใช้กันใน ปัจจุบันด้วย
ผลการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Oncology โดย ดร.ทอรันน์ ย็อค จากโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐฯ เป็นผู้นำการศึกษาคนไข้ 59 คน อายุ 3-21 ปี ระหว่างปี 2546-2552 ซึ่งคนไข้ทั้งหมดป่วยเป็นโรคมะเร็งสมอง Medulloblastoma ที่พบได้บ่อยในเด็ก
งานวิจัยชิ้นใหม่จากสหรัฐฯ บ่งชี้ว่า การรักษาโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตรอนมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการรักษาด้วย วิธีอื่น และยังให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาด้วยรังสีเอ็กซ์ที่นิยมใช้กันใน ปัจจุบันด้วย
ผลการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Oncology โดย ดร.ทอรันน์ ย็อค จากโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐฯ เป็นผู้นำการศึกษาคนไข้ 59 คน อายุ 3-21 ปี ระหว่างปี 2546-2552 ซึ่งคนไข้ทั้งหมดป่วยเป็นโรคมะเร็งสมอง Medulloblastoma ที่พบได้บ่อยในเด็ก
การศึกษาพบว่า หลังเข้ารับการรักษาด้วยอนุภาคโปรตรอนได้ 5 ปี
อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้เท่ากับผู้ที่ผ่านการรักษาด้วยรังสีเอ็ก
ซ์ แต่ได้รับผลข้างเคียงที่หัวใจ, ปอด และระบบทางเดินอาหารน้อยกว่า
ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไข้ได้เป็นอย่างมาก
งานวิจัยชิ้นนี้แนะนำให้การรักษาด้วยรังสีโปรตอนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการ รักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสี เพราะเป็นการใช้รังสีโปรตอนพลังงานสูงเล็งเป้าหมายไปที่มะเร็งโดยตรง และช่วยลดปริมาณรังสีที่จะส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียงได้
การรักษาด้วยรังสีโปรตอนสามารถใช้รักษาเนื้องอกที่ไขสันหลัง, มะเร็งซาร์โคมาใกล้กับกระดูกสันหลังและสมอง, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งปอด, มะเร็งตับ และมะเร็งในเด็กชนิดต่าง ๆได้
ศ.กิลลีส์ แม็คเคนนา ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด บอกว่า การรักษาด้วยรังสีโปรตอนให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาด้วยรังสีเอ็กซ์ ทั้งยังไม่พบปัญหามะเร็งทุติยภูมิที่แพร่จากอวัยวะหนึ่งไปสู่อวัยวะอื่น ๆด้วย แต่ ดร.เคียรัน บรีน จากศูนย์วิจัยเนื้องอกในสมอง ระบุว่า ควรศึกษาการรักษาวิธีนี้ในระยะยาวต่อไปก่อน
ทั้งนี้ การรักษามะเร็งด้วยรังสีโปรตอน ตกเป็นข่าวครึกโครมเมื่อ 2 ปีก่อน หลังจากพ่อแม่ชาวอังกฤษ คือ เบรตต์ และนักห์เมห์ คิง ได้ลักพาตัว อัชยา บุตรชายวัย 5 ขวบ ออกจากโรงพยาบาลในเมืองเซาท์แธมป์ตัน เพราะต้องการให้หนูน้อยเข้ารับการรักษาด้วยรังสีโปรตอนในกรุงปราก ของสาธารณรัฐเช็ก เนื่องจากโรงพยาบาลในอังกฤษไม่ยอมรักษาด้วยวิธีดังกล่าว ส่งผลให้ทั้งคู่ถูกตำรวจไล่ล่าแล้วถูกจับกุมได้ในสเปน แต่ภายหลังได้รับการปล่อยตัว ส่วนหนูน้อยอัชยา ก็ได้รับอนุมัติให้เข้ารักษาในกรุงปราก โดยที่บริการสาธารณสุขแห่งชาติ (เอ็นเอชเอส) ของอังกฤษจ่ายค่ารักษาให้ และเมื่อเดือน มี.ค.ปีก่อนพ่อของอัชยา ประกาศว่าหนูน้อยปลอดจากมะเร็งแล้ว
http://www.bbc.co.uk/news/health-35440016
งานวิจัยชิ้นนี้แนะนำให้การรักษาด้วยรังสีโปรตอนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการ รักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสี เพราะเป็นการใช้รังสีโปรตอนพลังงานสูงเล็งเป้าหมายไปที่มะเร็งโดยตรง และช่วยลดปริมาณรังสีที่จะส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียงได้
การรักษาด้วยรังสีโปรตอนสามารถใช้รักษาเนื้องอกที่ไขสันหลัง, มะเร็งซาร์โคมาใกล้กับกระดูกสันหลังและสมอง, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งปอด, มะเร็งตับ และมะเร็งในเด็กชนิดต่าง ๆได้
ศ.กิลลีส์ แม็คเคนนา ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด บอกว่า การรักษาด้วยรังสีโปรตอนให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาด้วยรังสีเอ็กซ์ ทั้งยังไม่พบปัญหามะเร็งทุติยภูมิที่แพร่จากอวัยวะหนึ่งไปสู่อวัยวะอื่น ๆด้วย แต่ ดร.เคียรัน บรีน จากศูนย์วิจัยเนื้องอกในสมอง ระบุว่า ควรศึกษาการรักษาวิธีนี้ในระยะยาวต่อไปก่อน
ทั้งนี้ การรักษามะเร็งด้วยรังสีโปรตอน ตกเป็นข่าวครึกโครมเมื่อ 2 ปีก่อน หลังจากพ่อแม่ชาวอังกฤษ คือ เบรตต์ และนักห์เมห์ คิง ได้ลักพาตัว อัชยา บุตรชายวัย 5 ขวบ ออกจากโรงพยาบาลในเมืองเซาท์แธมป์ตัน เพราะต้องการให้หนูน้อยเข้ารับการรักษาด้วยรังสีโปรตอนในกรุงปราก ของสาธารณรัฐเช็ก เนื่องจากโรงพยาบาลในอังกฤษไม่ยอมรักษาด้วยวิธีดังกล่าว ส่งผลให้ทั้งคู่ถูกตำรวจไล่ล่าแล้วถูกจับกุมได้ในสเปน แต่ภายหลังได้รับการปล่อยตัว ส่วนหนูน้อยอัชยา ก็ได้รับอนุมัติให้เข้ารักษาในกรุงปราก โดยที่บริการสาธารณสุขแห่งชาติ (เอ็นเอชเอส) ของอังกฤษจ่ายค่ารักษาให้ และเมื่อเดือน มี.ค.ปีก่อนพ่อของอัชยา ประกาศว่าหนูน้อยปลอดจากมะเร็งแล้ว
http://www.bbc.co.uk/news/health-35440016
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น