0

การปฎิรูปพลังงาน ปฎิรูปตามแนวคิดชาตินิยมสุุดขั้ว Nationalism หรือปฎิรูปตามแนวคิด Liberalism แน่ เอาให้ชัด ?
วันนี้ผมเกิดอยากวิจารณ์แนวคิดการปฎิรูปพลังงานต่างๆ สักหน่อยนะครับ เพราะสร้างความสับสนให้คนมากมาย จนไม่รู้ว่า "แนวคิดปฎิรูป" ที่กระจายกันอยู่ในสังคมตอนนี้ จากหลายๆ กลุ่ม เช่น กลุ่มปฎิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (พวก Neo-Liberal) กับกลุ่มปฎิรูปพลังงานเพื่อประชาชน คพป. (Nationalism) เอาเป็นว่ากลุ่มไหนปฎิรูป หรือกลุ่มไหนถอยหลังกันแน่ หรือว่าแต่ละกลุ่มก็มีข้อบกพร่อง ที่เห็นทะเลาะกล่าวหากันไปมานี่ จริงๆ แล้ว ใครรักชาติ ใครไม่รักชาติ หรือ "ใครผูกขาดการรักชาติไว้แต่ฝ่ายเดียว" หรือว่าจริงๆ แล้วก็รักชาติกันทุกฝ่ายแต่มุมมองต่างกันทางอุดมการณ์
จริงๆ แล้วแนวคิดด้านเศรษฐกิจของโลกที่ต่อสู้กันมาก็พอแบ่งออกได้คร่าวๆ ออกเป็นสองแนวทางคือ พวกที่ใช้แนวทางเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางเป็นหลัก มุ่งใช้ "อำนาจรัฐในการจัดสรรทรัพยากร เช่น พวกสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ เช่นสหภาพโซเวียตเป็นเป็นต้น กับพวกที่ใช้แนวคิดแบบ "กลไกตลาด (Market Machanism) เช่น โลกเสรีที่ใช้ระบอบทุนนิยมเป็นหลัก เช่น ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น เป็นต้น แต่ยุคนี้ทั้งโลกเลิกใช้แนวคิดแบบวางแผนจากส่วนกลางแทบหมดสิ้นแล้ว มีระบบเศรษฐกิจแบบผสม กันทั้งสองส่วนนี้บ้าง แต่แนวคิดเรื่องใช้รัฐวางแผนจัดสรรทรัพยากรนั้น "ล้มเหลวให้เห็นชัดเจนมาแล้ว"
ศตวรรษที่ 21 มีแต่ Market Machanism เท่านั้นที่ชนะ แต่ในระบบแนวคิดแบบกลไกตลาดนี้ก็มีการพัฒนาขึ้นอีกมาก เช่น มีการแบ่งแยกสินค้าที่เป็น Natural Monopoly ว่าจะต้องให้ "องค์กรอิสระเข้าไปกำกับ" เพราะการแข่งขันไม่นำไปสู่ประสิทธิภาพ
คพป. นั้น แม้จะไม่ได้บอกว่าตัวเองชมชอบแนวคิดแบบ "ชาตินิยมสุดกู่" แต่การเคลื่อนไหวเรียกร้องของคนกลุ่มนี้ (เขาว่ามีแกนนำหลักๆ ประมาณ 20-30 คน มวลชนมีไม่มาก แต่ชอบอ้างมวลชน ก็ไม่ว่ากัน เพราะทุกคนเป็นประชาชนทั้งนั่นแหละ) ก็เป็นไปแนวทางชาตินิยมทั้งสิ้น เช่น การให้ตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ผูกขาดกิจการน้ำมันทั้งหมด (Monopoly State-Entreprise) ไม่ชอบการแข่งขัน รังเกียจทุนนิยม (อันนี้ชัดเจนเลยว่าพวกเขาไม่ใช่ผู้สนับสนุนแนวคิด Market Machnism) ดังนั้น การปฎิรูปพลังงานตามข้อเสนอของ คพป. นั้น จึงเป็นการปฎิรูปไปตามแนวคิดแบบ Nationalism อย่างแน่นอน ซึ่ง พวกชาตินิยมแบบนาซีนั้น แนวคิดนี้คือ กิจการทุกอย่างของรัฐต้องดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจ ซึ่งบางประเทศสุดกู่ขนาด แม้แต่กิจการไนท์คลับ ก็เป็นรัฐวิสาหกิจ เช่น อาเจนติน่าเป็นต้น แต่รัฐวิสาหกิจนั้นขึ้นชื่อคือ คอรัปชั่นและการขาดประสิทธิภาพ ไม่ชอบแข่งขัน และเมื่อขาดทุนรัฐก็ต้องเอาเงินจากท้องพระคลังไปอุดหนุน สุดท้ายเงินไหลออกจากท้องพระคลังจนหมดสิ้น ประเทศเทศที่เงินไหลออก เหมือนเลือดออกตลอดเวลา ในที่สุดก็ตาย คือระบบเศรษฐกิจล้ม เป็นหนี้สินมากมายแบบอเมริกาใต้ยุคก่อนปี 1990 เป็นต้น กลุ่ม คพป. เขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม แต่แนวคิดพวกเขานั้น "เส้นทางเดินมันไปทางนี้โดยอัตโนมัติ"
ส่วนกลุ่ม Neo-Liberal คือกลุ่ม ปฎิรูปพลังงานอย่างยั่งยืนนั้น สมาชิกกลุ่มเท่าที่ผมทราบ ส่วนใหญ่เป็นนักบริหารในกิจการพลังงานมาก่อน แนวคิดกลุ่มนี้คือ "ใช้กลไกตลาด" ในการปฎิรูปพลังงาน ซึ่งก็สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน แต่จุดอ่อนที่ถูกโจมตีของ Neo-Liberal คือ มุ่งใช้กลไกตลาดมากจนเกินไป ไม่เห็นใจผู้ที่พ่ายแพ้กลไกตลาด แนวคิดกลุ่มนี้คือมุ่งการแข่งขัน ใครสู้ไม่ได้ก็ต้องออกจากตลาดไป คิดว่าคนที่ควรดำรงอยู่คือ คนที่เข็มแข็งเท่านั้น แนวโน้มหากไม่ควบคุมให้ดี ก็จะกลายเป็นระบบผูกขาด โดยรายใหญ่เช่นเดียวกัน
เยอรมันนีหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ที่พวก "ชาตินิยมสุดกู่นาซี" ที่เรียกแนวคิดต้นว่า Social Nationalism ก่อสงครามสร้างความเสียหายมากมาย ดังนั้น หลังสงคราม จึงมีนักเศรษฐศาสตร์การเมืองเยอรมันนี เสนอแนวคิดทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า Social Market Ecomomy ขึ้น โดยยึดหลักแนวคิด กลไกตลาด เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดสรรทรัพยากร และใช้ Social Safety Net หรือสวัสดิการสังคมต่างๆ เป็นเครื่องมือสำหรับ "ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม" และแนวคิดนี้ก็สร้างความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจให้กับเยอรมันตะวันตกที่ฟื้นตัวได้จากซากความสลักหักพังของสงคราม บาดแผลในใจของประชาชนจากผลกระทบของสงครามได้ เยอรมันตะวันออกที่ใช้แนวคิดคอมมิวนิสต์ก็ล่มสลายในปี 1990 และรวมชาติเป็นเยอรมันนี ที่รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจมาถึงทุกวันนี้
สำหรับผม ผมนิยมแนวคิด Social Liberalism ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับเยอรมันนีนั่นแหละครับ แต่ชื่อ Social Market Economy เป็นชื่อระบบเศรษฐกิจเยอรมัน แต่แนวคิดทางเศรษฐกิจเขาเรียก Social Liberalism นั่นแหละครับ คือ เราต้องใช้กลไกตลาดจัดสรรทรัพยากร ในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลคนที่แข่งขันไม่ได้ด้วย ว่าต้องมีมาตรการบรรเทาผลกระทบต่างๆ และต้องป้องกันไม่ให้กลไกตลาดถูก "บิดเบือน" ผูกขาดด้วย
ยังไงผมก็ไม่เอาแนวคิด Nationalism ครับ เพราะประสบการณ์จากประวัติศาสตร์โลก แนวคิดนี้ เป็นความหวังดี แต่ทำลายชาติและสังคมยิ่งกว่าแนวคิดทางเศรษฐกิจใดๆ อีกครับ ความอดอยาก ความเสื่อมโทรม ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกนั้น เกิดจากลัทธิชาตินิยมสุดกู่นี้อย่างชัดเจน
แต่ผมไม่สงสัยความรักชาติของทุกฝ่ายหรอกครับ แต่เราต้องถกกันให้ชัดเจนว่า "แนวคิดอะไร นำไปสู่ผลลัพท์อย่างไร" เรื่องนี้ ประวัติศาสตร์โลกในการพัฒนาประเทศมีให้ศึกษาอย่างชัดเจนครับ เพียงแต่ต้องสนใจศึกษาเท่านั้น


แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 
Top