ขอพูดเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียง นิทานเก่าที่คนชั้นนำในกรุงเทพฯ ใช้เพื่อกีดกัน บั่นทอน ลดทอนสิทธิของคนชนบท
ผมคิดว่าเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงนี้เป็น "นิทานเก่า" ที่เอามาขู่คนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ไม่จบไม่สิ้น ทั้งๆ ที่ภาพแบบนั้นมันเปลี่ยนไปแทบหมดแล้ว หลังปี 2540
การซื้อสิทธิ์ขายเสียง มีอิทธิพลต่อการเมืองไทยมาก ในช่วงปี 2520-2540 แต่วิกฤติเศรษบกิจปี 2540 ทำให้พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนเปลี่ยนไป เป็นการเลือกพรรคมากกว่าตัวบุคคล หากสังเกตุการเลือกตั้งใหญ่ปี 2544 -2553 จำนวนหลายครั้งนั้นเราจะเห็นว่า "เงินมีอิทธิพลไม่มากนักต่อการได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง" แต่นโยบาย และบุคคลิกภาพของผู้นำ มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนของประชาชนมากกว่า
อีกอย่างหนึ่ง "คนชั้นกลางในกรุงเทพฯ มันเป็นห่าอะไรก็ไม่ทราบ (ขอใช้คำหยาบ) คิดว่า คนที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง จะต้องเลือกพรรคการเมืองเดียวกับพรรคที่พวกมันเลือก" คิดแบบเลวๆ" เพราะประชาชนเขาย่อมเลือกพรรคอะไรที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้นมากกว่า และปัจจัยที่ทำให้คนตัดสินใจเลือกตั้ง ไม่ได้มีปัจจัยเดียวว่า "หัวหน้าพรรคต้องหล่อ พูดจาจีบปากจีบคอ"
เราก็เห็นชัดเจนว่า ไม่ว่าจะใช้อำนาจอะไรบังคับ ไม่ว่าจะสร้างสภาพการณ์อย่างไร เพื่อบีบให้คนชนบทเลือกพรรคที่ คนกรุงเทพบางส่วนสนับสนุน ทั้งทุ่มเงินมากมาย คนเขาก็ไม่เลือก เขาก็เลือกพรรคที่เขาชอบ ทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นเสมอ
ดังนั้น "ผมว่านิทานเรื่องการซื้อเสียง" คือนิทานที่คนกรุงเทพฯ ยกขึ้นมาเพื่อ "ลดทอน" บั่นทอนความเป็นมนุษย์และสิทธิในการเป็นพลเมืองของคนชนบท เป็นการเลือกปฎิบัติ และเป็นนิทาน ที่เหยียดหยามความเป็นมนุษย์ของคนชนบท
ผมจำผลงานการวิจัยไม่ได้แล้วว่าของใคร เขาบอกว่าภาคที่มีการซื้อเสียงมากที่สุดคือภาคใต้ ผมคาดว่าจริง เพราะเคยได้ยินที่รู้จักเล่าให้ฟังว่า แค่เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน (ในจังหวัดภาคใต้) ก็ซื้อเสียงหัวละ 2,000 บาทแล้ว
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น