นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังเตือน ให้สังคมเตรียมเผชิญกับผลร้ ายจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจาก น้ำมือมนุษย์
ศ. ริชาร์ด โทล นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังแห่งม หาวิทยาลัยซัสเซ็กส์ ทำนายว่าผลด้านลบจากภาวะโลก ร้อนจะมีมากกว่าผลดี เมื่ออุณหภูมิโลกร้อนขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส ซึ่งโลกกำลังขยับเข้าใกล้จุ ดนี้มากขึ้น
ศ. โทลกล่าวในรายการวิทยุของบี บีซี ซึ่งนำเสนอเรื่องการเปลี่ยน แปลงของสภาพอากาศว่า “คนส่วนใหญ่จะเถียงว่าการที ่โลกร้อนขึ้นเล็กน้อยอาจเป็นผลดีต่อมนุษ ย์โดยรวม ถ้าคุณจะวัดเป็นตัวเงินดอลล าร์ แต่หากโลกร้อนขึ้นมากกว่านี ้อาจส่งผลร้ายโดยรวม”
ศ.โทล ได้ฉายาจากนักรณรงค์ภาวะโลก ร้อนว่าเป็น “พวกขี้สงสัย” เพราะก่อนหน้านี้เคยย้ำถึงผ ลดีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไ ดออกไซด์ ว่าสามารถเพิ่มความอุดมสมบู รณ์ให้กับผลผลิต และผืนป่า ซึ่งผลงานของเขาถูกผู้ที่มี ความคิดแย้งในเรื่องโลกร้อน นำไปอ้างอิงอย่างแพร่หลาย
ต่อคำถามที่ว่าสังคมถึงจุดท ี่ได้ประโยชน์จากผลที่ตามมา จากภาวะโลกร้อนแล้วหรือไม่ เขาตอบว่า “เราถึงจุดนั้นแล้ว ที่จริงเรื่องนี้เป็นเรื่อง ที่ไม่ต้องถกเถียงกันในวงวิ ชาการ”
แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถ กเถียงกันในหมู่คนที่มีความ คิดแย้งเรื่องอุณหภูมิโลก ที่มักอ้างอิงงานของ ศ.โทล เพื่อแนะให้คลายกังวลเกี่ยว กับภาวะโลกร้อน
ด้าน แมท ริดลีย์ นักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์แ นวอนุรักษ์อันโด่งดัง กล่าวว่า การที่คนส่วนใหญ่คิดว่าโลกจ ะเผชิญกับหายนะเมื่ออุณหภูม ิสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียสนั้นเป็นความเช ื่อที่ไม่ถูกต้อง เขาเชื่อว่าก่อนที่จะไปถึงจ ุดนั้น โลกจะยังคงได้ประโยชน์
“อย่างไรก็ตาม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซ ด์ที่มีมากขึ้น ทำให้ระบบนิเวศน์เป็น "สีเขียว" มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นด้ วย โดยปัจจุบันโลกเรามีการปลูก พืชมากขึ้น 11% เมื่อเทียบกับ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากความอ ุดมสมบูรณ์ของดินที่เพิ่มขึ ้นจากคาร์บอนไดออกไซด์”
ทั้งนี้ แมท ริดลีย์ อ้างถึงผลงานที่ยังไม่มีการ ตีพิมพ์ของ ศ.แรงกา ไมนีนิ แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน
อย่างไรก็ตาม ศ.ไมนีนิ กล่าวว่าเขากังวลในเรื่องที ่ลอร์ด ริดลีย์ ตีความผลงานชิ้นนี้ของเขา ซึ่งเป็นการตีความที่ชะล่าใ จเกินเหตุเกี่ยวกับภาวะโลกร ้อนในอนาคต
“ตามความเห็นของผม ประโยชน์จากการทำให้โลกเป็น สีเขียว [ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่เ พิ่มขึ้นจากคาร์บอนไดออกไซด ์] ไม่คุ้มกับราคาที่ต้องจ่ายไ ปจากการเปลี่ยนแปลงในด้านลบ ”
ขณะที่ ศ. โทล เชื่อว่าการถกเถียงเรื่องผล กระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น 2 องศาเซลเซียสนั้น ไม่ใช่ประเด็น เพราะโลกมีแนวโน้มจะอุ่นขึ้ นประมาณ 3 – 5 องศาเซลเซียสอยู่แล้ว
โทลบอกว่าเนื่องจากนักการเม ืองที่จะเข้าร่วมการประชุมส ุดยอดเรื่องภาวะโลกร้อนที่ก รุงปารีส จะไม่เต็มใจหรือไม่สามารถลด ปริมาณการปล่อยก๊าซได้ตามต้ องการเพื่อรักษาระดับอุณหภู มิให้สูงไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส
เขากล่าวว่าอุณหภูมิที่สูงข ึ้น 4 องศาเซลเซียสอาจไม่เป็นที่ต ้องการ แต่เป็นเรื่องที่จัดการได้ส ำหรับยุโรป และประเทศทั่วโลกที่ร่ำรวยพ อที่จะใช้จ่ายในเรื่องการปร ับตัวนี้ โทลแนะว่าวิธีที่ดีที่สุดใน การจัดการกับภาวะโลกร้อนนี้ คือการขยายการเติบโตทางเศรษ ฐกิจให้มากที่สุด
ด้าน ศ.ทิม เลนตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร ์ว่าด้วยโลกทั้งระบบ จากมหาวิทยาลัยเอ็กเซอเตอร์ กล่าวว่าการคาดคะเนเรื่องอุ ณหภูมิที่สูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส เป็นเรื่องที่มองโลกในแง่ดี มากๆ เพราะเห็นว่าพื้นผิวโลกของย ุโรปกลางโดยเฉลี่ยจะอุ่นขึ้ นมากกว่า 4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเปลี่ยนรูปแบบของฤดูก าลทั่วทวีปยุโรป “เราอาจสูญเสียทะเลน้ำแข็งข ั้วโลกเหนือในฤดูร้อน และทะเลน้ำแข็งจะบางลงอย่าง มากในฤดูหนาว และขณะนี้เราเผชิญกับการเปล ี่ยนแปลงของฤดูกาลและภาวะอา กาศที่ร้อนจัดและหนาวจัด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของกา รไหลของแม่น้ำ”
ศ.เลนตัน กล่าวว่าอาจคาดได้ถึงวิกฤตแ ล้งรุนแรงของทะเลเมดิเตอร์เ รเนียน ที่อาจทำให้เกิดการย้ายถิ่น ของผู้คน ซึ่งจะทำให้ทวีปยุโรปเปลี่ย นไปอย่างมาก
โจฮัน รอคสตรอม ผู้อำนวยการศูนย์รับมือความ เปลี่ยนแปลงด้านชีวภาพ (Resilience Centre) ที่มหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม เตือนว่าหากอุณหภูมิสูงมากก ว่า 2 องศาเซลเซียสมากเท่าไร เรามีความเสี่ยงต่อผลที่ไม่ สามารถหวนคืนกลับสู่สภาพเดิ มได้มากขึ้นเท่านั้น #GlobalWarming
ศ. ริชาร์ด โทล นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังแห่งม
ศ. โทลกล่าวในรายการวิทยุของบี
ศ.โทล ได้ฉายาจากนักรณรงค์ภาวะโลก
ต่อคำถามที่ว่าสังคมถึงจุดท
แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถ
ด้าน แมท ริดลีย์ นักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์แ
“อย่างไรก็ตาม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซ
ทั้งนี้ แมท ริดลีย์ อ้างถึงผลงานที่ยังไม่มีการ
อย่างไรก็ตาม ศ.ไมนีนิ กล่าวว่าเขากังวลในเรื่องที
“ตามความเห็นของผม ประโยชน์จากการทำให้โลกเป็น
ขณะที่ ศ. โทล เชื่อว่าการถกเถียงเรื่องผล
โทลบอกว่าเนื่องจากนักการเม
เขากล่าวว่าอุณหภูมิที่สูงข
ด้าน ศ.ทิม เลนตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร
ศ.เลนตัน กล่าวว่าอาจคาดได้ถึงวิกฤตแ
โจฮัน รอคสตรอม ผู้อำนวยการศูนย์รับมือความ
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น