ม.44 คุมหัวเลยไม่ฟัง"เซอร์เวย์เยอร์"ท้วงติง โยนความเสียหายให้"ยิ่งลักษณ์" แต่แอบเสวยสุขทุจริตในการระบายข้าว
********************************************
"การที่สมาคมเซอร์เวย์เยอร์ออกมาทักท้วงกระทรวงพาณิชย์ ในการเปิดประมูลข้าวเสีย อ้างว่ามี"ข้าวคุณภาพดี"ปะปนอยู่ด้วยเกินกว่า 50% การตรวจสอบคุณภาพข้าวไม่ได้แยก"ข้าวดี"ออกจาก"ข้าวเสีย" เพื่อสร้างภาพว่ามีข้าวเน่าเสียจำนวนมาก และนำออกไปขายในราคาถูกโดยการประมูลขายให้ภาคอุตสาหกรรม
.
การที่บริษัทเซอร์เวย์เยอร์ต้องออกมาทักท้วงนั้น ก็เพราะหากเอาข้าวดีๆไปขายปะปนกับข้าวเสียข้าวเสื่อมสภาพ ก็จะทำให้ได้เงินน้อยมากๆ และส่วนต่างของความเสียหายนั้น ตามสัญญาจ้างเซอร์เวย์เยอร์อาจจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เขาจึงได้ออกมาทักท้วงรัฐให้ระงับและตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน แต่ดูเหมือนว่ากระทรวงพาณิชย์จะไม่ฟังข้อท้วงติงนี้ ซึ่งก็คงเป็นเพราะข้าราชการมีคำสั่งคสช. มาตรา44 มาเป็นเกราะป้องกันตนเองอยู่ และถ้ามีข้าวดีแอบปะปนไปขายถูกๆ รวมไปกับข้าวเสื่อมสภาพใครจะได้ประโยชน์
.
พฤติกรรมแบบนี้เรียกว่าเป็น"การทุจริตฉ้อราษฎรบังหลวง"หรือไม่ และทำให้อดสงสัยอีกไม่ได้ว่า ถ้าระบายข้าวโดยวิธีการเช่นนี้ รัฐจะได้เงินน้อยอย่างแน่นอน ในที่สุดก็จะโยนความเสียหายมาให้โครงการรับจำนำข้าว แบบเหมารวมยกเข่งเพื่อกล่าวหารัฐบาลท่านยิ่งลักษณ์ใช่หรือไม่ แล้วแบบนี้ความยุติธรรมจะหาได้จากที่ไหน
.
การทุจริตแอบเอาข้าวดีๆไปปนขายก็จะเกิดขึ้นได้ โดยที่เจ้าหน้าที่หรือข้าราชการไม่ต้องเกรงกลัวหรือรับผิดชอบใดๆต่อการระบาย เพราะมีมาตรา 44 คุ้มหัวอยู่
.
ความรับผิดชอบความเสียหาย ก็คือบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ และบวกใส่ความเสียหายให้แก่รัฐบาลในอดีต ว่าทำความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวเป็นแสนล้าน แต่กลับจะมีพวกเสวยสุขและมีขบวนการทุจริตได้ประโยชน์จากการระบายแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง
.
การขายข้าวให้ภาคอุตสาหกรรม ที่มิใช่การผลิตอาหารคนหรือสัตว์ จะเปิดช่องให้มีการล๊อกสเปคและฮั้วประมูล จึงอยากจะเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้โดยด่วน อย่าปล่อยให้มีขบวนการเช่นนี้เกิดขึ้นได้ และควรยกเลิกคำสั่งตามมาตรา44เสียโดยเร็ว มิฉะนั้นท่านอาจถูกกล่าวหาว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้"
.
บุญทรง เตริยาภิรมย์
อดีตรมว.พาณิชย์
.
การที่บริษัทเซอร์เวย์เยอร์ต้องออกมาทักท้วงนั้น ก็เพราะหากเอาข้าวดีๆไปขายปะปนกับข้าวเสียข้าวเสื่อมสภาพ ก็จะทำให้ได้เงินน้อยมากๆ และส่วนต่างของความเสียหายนั้น ตามสัญญาจ้างเซอร์เวย์เยอร์อาจจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เขาจึงได้ออกมาทักท้วงรัฐให้ระงับและตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน แต่ดูเหมือนว่ากระทรวงพาณิชย์จะไม่ฟังข้อท้วงติงนี้ ซึ่งก็คงเป็นเพราะข้าราชการมีคำสั่งคสช. มาตรา44 มาเป็นเกราะป้องกันตนเองอยู่ และถ้ามีข้าวดีแอบปะปนไปขายถูกๆ รวมไปกับข้าวเสื่อมสภาพใครจะได้ประโยชน์
.
พฤติกรรมแบบนี้เรียกว่าเป็น"การทุจริตฉ้อราษฎรบังหลวง"หรือไม่ และทำให้อดสงสัยอีกไม่ได้ว่า ถ้าระบายข้าวโดยวิธีการเช่นนี้ รัฐจะได้เงินน้อยอย่างแน่นอน ในที่สุดก็จะโยนความเสียหายมาให้โครงการรับจำนำข้าว แบบเหมารวมยกเข่งเพื่อกล่าวหารัฐบาลท่านยิ่งลักษณ์ใช่หรือไม่ แล้วแบบนี้ความยุติธรรมจะหาได้จากที่ไหน
.
การทุจริตแอบเอาข้าวดีๆไปปนขายก็จะเกิดขึ้นได้ โดยที่เจ้าหน้าที่หรือข้าราชการไม่ต้องเกรงกลัวหรือรับผิดชอบใดๆต่อการระบาย เพราะมีมาตรา 44 คุ้มหัวอยู่
.
ความรับผิดชอบความเสียหาย ก็คือบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ และบวกใส่ความเสียหายให้แก่รัฐบาลในอดีต ว่าทำความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวเป็นแสนล้าน แต่กลับจะมีพวกเสวยสุขและมีขบวนการทุจริตได้ประโยชน์จากการระบายแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง
.
การขายข้าวให้ภาคอุตสาหกรรม ที่มิใช่การผลิตอาหารคนหรือสัตว์ จะเปิดช่องให้มีการล๊อกสเปคและฮั้วประมูล จึงอยากจะเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้โดยด่วน อย่าปล่อยให้มีขบวนการเช่นนี้เกิดขึ้นได้ และควรยกเลิกคำสั่งตามมาตรา44เสียโดยเร็ว มิฉะนั้นท่านอาจถูกกล่าวหาว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้"
.
บุญทรง เตริยาภิรมย์
อดีตรมว.พาณิชย์
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น