ผู้เชี่ยวชาญเตือนให้ใช้ยาริตาลิน ในเด็กสมาธิสั้นอย่างระมัดระวัง
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเตือนให้ใช้ยากระตุ้นริตาลิน (Ritalin, methylphenidate) ในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (เอดีเอชดี) อย่างระมัดระวัง เนื่องจากยาชนิดนี้อาจส่งผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
ข้อมูลจากบริการสาธารณสุขแห่งชาติในอังกฤษ (เอ็นเอชเอส) พบว่า เมื่อปีก่อนแพทย์ในอังกฤษสั่งจ่ายยารักษาโรคสมาธิสั้นเกือบ 1 ล้านชุด ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
ล่าสุด Cochrane เครือข่ายด้านสุขภาพในสหราชอาณาจักร ได้ศึกษาการทดลองยา 185 การทดลอง โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นเยาวชนอายุระหว่าง 3-18 ปี กว่า 12,000 คน ในสหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และแคนาดา แล้วพบว่า ยาริตาลินมักส่งผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาการที่พบบ่อยที่สุดมี อาทิ เบื่ออาหาร และนอนไม่หลับ
การศึกษาพบว่า โดยเฉลี่ย เด็ก 526 คนในทุก 1,000 คน จะได้รับผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาริตาลิน ขณะที่เด็กอีกกลุ่มซึ่งได้รับยาหลอกหรือไม่ได้รับยาเลย รู้สึกถึงผลข้างเคียงในสัดส่วน 408 คนต่อเด็ก 1,000 คน ซึ่งนั่นหมายความว่าเด็กที่ได้รับยาริตาลินมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น 29% ส่วนความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงรุนแรงนั้นอยู่ในระดับต่ำมาก
ล่าสุด Cochrane เครือข่ายด้านสุขภาพในสหราชอาณาจักร ได้ศึกษาการทดลองยา 185 การทดลอง โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นเยาวชนอายุระหว่าง 3-18 ปี กว่า 12,000 คน ในสหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และแคนาดา แล้วพบว่า ยาริตาลินมักส่งผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาการที่พบบ่อยที่สุดมี อาทิ เบื่ออาหาร และนอนไม่หลับ
การศึกษาพบว่า โดยเฉลี่ย เด็ก 526 คนในทุก 1,000 คน จะได้รับผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาริตาลิน ขณะที่เด็กอีกกลุ่มซึ่งได้รับยาหลอกหรือไม่ได้รับยาเลย รู้สึกถึงผลข้างเคียงในสัดส่วน 408 คนต่อเด็ก 1,000 คน ซึ่งนั่นหมายความว่าเด็กที่ได้รับยาริตาลินมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น 29% ส่วนความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงรุนแรงนั้นอยู่ในระดับต่ำมาก
อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัย บอกว่านี่ไม่ได้หมายความว่ายาริตาลินไม่มีประโยชน์เสียเลย โดยผลการศึกษาที่ได้บ่งชี้ว่า ยาชนิดนี้ช่วยให้เด็กมีสมาธิในการเรียน แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักถึงความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นด้วย และว่า จะต้องมีการศึกษาให้ลึกซึ้งกว่านี้เพื่อให้สามารถระบุได้อย่างชัดเจนถึงผลดีผลเสียของการรักษาด้วยยาริตาลินซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น