อังกฤษเตรียมพิจารณาเก็บค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินจากคนไข้ต่างชาติ
อังกฤษเตรียมพิจารณาเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน และการเรียกใช้บริการรถพยาบาลจากคนไข้จากประเทศนอกกลุ่มเขตเศรษฐกิจยุโรป (อีอีเอ) ตามแผนการใหม่ของรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า
ปัจจุบันชาวต่างชาติจากประเทศนอกกลุ่มอีอีเอ ต้องเสียค่าบริการทางการแพทย์ที่มีการวางแผนและนัดแพทย์ไว้ล่วงหน้า แต่ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลในเหตุฉุกเฉินและอุบัติเหตุ รวมทั้งการเรียกรถพยาบาล
อย่างไรก็ตาม นายเจเรมี ฮันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขอังกฤษ ต้องการประหยัดงบประมาณหลายล้านปอนด์ให้แก่บริการสาธารณสุขแห่งชาติ (เอ็นเอชเอส) ด้วยการขยายการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
หนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ ของอังกฤษ รายงานว่า หากแผนการใหม่ของรัฐบาลได้รับความเห็นชอบก็จะทำให้แพทย์สามารถระงับการให้บริการแก่คนไข้ต่างชาติได้ จนกว่าจะมีการชำระค่าบริการ แต่คริส เมสัน ผู้สื่อข่าวสายการเมืองของบีบีซี ได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวรายหนึ่งว่า แพทย์จะไม่ปฏิเสธให้การรักษาผู้ป่วย แต่จะมีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลในภายหลัง
ด้านกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ ระบุว่า อาจมีข้อยกเว้นให้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น ผู้ลี้ภัย ผู้ยื่นขอลี้ภัย และสตรีมีครรภ์ โดยแผนการใหม่นี้มีขึ้นเพื่อแก้ปัญหาคนต่างชาติฉวยประโยชน์จากบริการเอ็นเอชเอส
อลัน โซดี้ ผู้สื่อข่าวบีบีซีบอกว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่า การเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินนี้จะมีผลบังคับใช้เฉพาะชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าไปในอังกฤษระยะสั้นหรือไม่ และรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรหากคนไข้ไม่ยอมจ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยเฉพาะเมื่อคนไข้เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว
อลัน โซดี้ ผู้สื่อข่าวบีบีซีบอกว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่า การเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินนี้จะมีผลบังคับใช้เฉพาะชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าไปในอังกฤษระยะสั้นหรือไม่ และรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรหากคนไข้ไม่ยอมจ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยเฉพาะเมื่อคนไข้เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว
ส่วนชาวต่างชาติจากกลุ่มอีอีเอ ซึ่งครอบคลุมถึงกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป, ไอซ์แลนด์, ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์ จะต้องแสดงบัตรประกันสุขภาพยุโรปเมื่อใช้บริการเอ็นเอชเอส เพื่อให้สามารถเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากรัฐบาลประเทศนั้น ๆ ได้
โฆษกสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินของอังกฤษ ระบุว่า แพทย์ประจำห้องฉุกเฉินไม่สามารถแบกรับภาระในการแยกแยะคนไข้ที่มีสิทธิ์รับการรักษาฟรี หรือผู้ที่ต้องจ่ายค่าบริการ เช่นเดียวกับสมาคมแพทย์อังกฤษ ที่ชี้ว่าหน้าที่ของแพทย์คือการรักษาคนไข้ตรงหน้า ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตามพรมแดน
#NHS
#NHS
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น